คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานะ ศุภวิริยกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินใกล้เขตที่ดินอื่นต้องจัดการป้องกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1343
ที่ดินโจทก์และจำเลยมีแนวเขตที่ดินติดต่อกันจากทิศเหนือลงมาทิศใต้ โจทก์ทำรั้วลวดหนามกั้นแนวเขตที่ดินไว้ ต่อมาจำเลยนำรถแบ็กโฮมาขุดดินในที่ดินของจำเลยยาวประมาณ 100 เมตร ใกล้แนวเขตที่ดินของโจทก์ บางจุดห่างจากแนวเขตประมาณ 30 ถึง 50 เซนติเมตร บางจุดจำเลยขุดในแนวตั้งฉากลึก 2 เมตร โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินมาถมที่ขุดพร้อมให้สร้างเขื่อนกันดินพังทลายตลอดแนวที่ดินที่ขุด แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า เมื่อจำเลยขุดดินและผ่านฤดูฝนแล้ว ที่ดิน ต้นทุเรียนและรั้วของโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1343 บัญญัติห้ามมิให้ขุดดินจนอาจเป็นอันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินที่ติดต่อเว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย การที่จำเลยขุดดินลึก 2 เมตร ในแนวตั้งฉากมีระยะใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ ที่ดินของโจทก์อาจได้รับความเสียหายพังทลายลงได้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะให้จำเลยนำดินมาถมที่ดินที่ติดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ให้อยู่ในระดับเดิมโดยให้มีระยะห่างจากแนวเขต 1 เมตร และเห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็นซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ายังไม่เพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยปรับระดับพื้นดินที่ต่อจากที่ดินที่จำเลยถมให้ลาดเอียงลงสู่พื้นดินของจำเลยในระดับไม่เกิน 45 องศาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินใกล้เขตที่ดินของผู้อื่นต้องจัดการป้องกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1343
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1343 บัญญัติห้ามมิให้ขุดดินจนอาจเป็นอันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินที่ติดต่อ เว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย ฉะนั้น การที่จำเลยขุดดินลึก 2 เมตร ในแนวตั้งฉากซึ่งมีระยะใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ อาจทำให้ที่ดินของโจทก์ได้รับความเสียหายพังทลายลงได้ จำเลยจึงต้องจัดการเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ที่ดินของโจทก์ ซึ่งศาลเห็นสมควรให้จำเลยปรับระดับพื้นดินที่ต่อจากที่ดินที่จำเลยถมให้ลาดเอียงสู่พื้นดินในระดับไม่เกิน 45 องศา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน โมฆียะกระทบสัญญาซื้อฝาก บุคคลภายนอกต้องรับผล
แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ. 16 ระบุว่า ซื้อขายราคา 2,000,000 บาท โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงข้อสัญญาแท้จริงได้เพราะในทางปฏิบัติคู่สัญญาซื้อขายที่ดินมักจะแจ้งราคาที่ซื้อขายกันตามราคาประเมิน เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน กรณีดังกล่าวมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข) เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายโดยอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวง
จำเลยที่ 1 วางแผนหลอกลวงโจทก์ทั้งสองมาแต่ต้นโดยมิได้เจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เพียงแต่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาชำระราคาที่ดินและใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งสองให้ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดถ้ามิได้ปกปิดข้อเท็จจริงเช่นนั้น การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทก็คงมิได้เกิดขึ้น การจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในทันทีที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยแจ้งหลักฐานที่อยู่ของตนเองไม่ตรงตามความเป็นจริง ย่อมเป็นข้อพิรุธน่าสงสัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการอันไม่ถูกต้องชอบธรรม กรณีของจำเลยที่ 2 จึงเข้าข่ายของบุคคลภายนอกผู้ได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริต การบอกล้างโมฆียะของโจทก์ทั้งสองเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ตลอดไปจนถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ ผู้รับโอนรู้เท่าทันเป็นบุคคลภายนอกไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์ทั้งสองทำนิติกรรมขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมนั้นแล้วนิติกรรมการซื้อขายที่ดินจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการไม่ถูกต้องชอบธรรม จึงเป็นการได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริตการบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ทั้งสองย่อมยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
of 16