คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานะ ศุภวิริยกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาภาพถ่าย) ในคดีอาญา: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความน่าเชื่อถือและความจำเป็นในการตรวจพยานวัตถุ
ป.วิ.อ. มาตรา 241 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีการสืบพยานวัตถุหาใช่บทบังคับให้สืบพยานวัตถุเสมอไปไม่ หากศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตรวจดูพยานวัตถุก็อาจใช้ดุลพินิจไม่ตรวจดูได้ คดีนี้โจทก์อ้างส่งสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อซึ่งมีความชัดเจนสามารถตรวจดูลักษณะและหมายเลขธนบัตรได้โดยง่าย ทั้งจำเลยไม่ได้โต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อแต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารอื่นๆ เพื่อเป็นหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานวัตถุ (สำเนาภาพถ่าย) ในคดีอาญา: ดุลพินิจศาลและผลกระทบจากกฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241 เป็นเพียงบทบัญญัติสำหรับวิธีการสืบพยานวัตถุเท่านั้น หาใช่บทบังคับให้สืบพยานวัตถุเสมอไปไม่ หากศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตรวจดูพยานวัถตุก็อาจใช้ดุลพินิจไม่ตรวจดูเสียได้ การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อซึ่งมีความชัดเจนสามารถตรวจดูลักษณะและหมายเลขธนบัตรได้โดยง่าย ทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาภาพถ่ายธนบัตรดังกล่าว ศาลจึงรับฟังสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารอื่น ๆ เป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับเงื่อนไขการโอนที่ดินหลังสัญญาจะซื้อขาย โดยการสืบพยานคนกลาง ศาลต้องตัดสินตามคำเบิกความ
คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ที่ดินพิพาทหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2533 หรือไม่ หากสามารถจดทะเบียนโอนได้ โจทก์จะยอมแพ้ หากไม่สามารถโอนได้ จำเลยทั้งสี่จะยอมแพ้คดี และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียว โดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาทสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามนั้น พยานคนกลางเบิกความตอบคำถามว่า ที่ดินพิพาทถึงแม้จะทำกัน (หมายถึงทำสัญญาจะซื้อจะขาย) ภายหลังที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2531 ใช้บังคับ หากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย คำเบิกความของพยานคนกลางจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย เพราะรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายสามารถจดทะเบียนโอนได้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2533 แล้ว โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยตามคำท้า: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะคำเบิกความที่ตรงกับประเด็นที่ท้า หากตรงตามนั้นต้องตัดสินตามนั้น แม้มีเหตุผลทางกฎหมายประกอบ
ในกรณีที่คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้หรือไม่และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียวโดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามที่พยานเบิกความนั้น จะต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าหรือไม่ หากเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลก็จะต้องตัดสินตามคำท้านั้น เมื่อคำเบิกความของพยานคนกลางที่ตอบศาลถาม พยานยืนยันว่าหากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย แม้พยานจะตอบคำถามติงของทนายโจทก์ว่าหากมีการอายัดโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกันได้นั้น เป็นเงื่อนไขที่พยานเบิกความขึ้นเองไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขตามคำท้าเพราะคำท้ามิได้กล่าวถึงการอายัดไว้ด้วย คำเบิกความของพยานจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าล่วงหน้าและสิทธิการคืนเงินเมื่อสัญญาเช่าระงับเนื่องจากการตายของผู้เช่า
สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. ผู้เช่านั้น จำเลยคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 1,235 บาท ซึ่งเมื่อคำนึงถึงว่าเป็นการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าเป็นเวลานานถึง 20 ปี แล้ว อัตราค่าเช่าดังกล่าวนับว่าเป็นจำนวนน้อยมากและไม่น่าจะเป็นค่าเช่าตามปกติธรรมดาทั่วไป ดังนั้นเงินค่าสิทธิการเช่าจำนวน 2,790,550 บาท จึงมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่จำเลยเรียกล่วงหน้าจาก ส. นั่นเอง ทั้งตามสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่าไม่มีสิทธิรับเงินค่าสิทธิการเช่าคืนเฉพาะกรณีอื่น หาได้รวมถึงกรณีสัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของผู้เช่าแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของ ส. ผู้เช่า จำเลยผู้ให้เช่าจึงต้องคืนเงินค่าสิทธิการเช่าอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าตามส่วนที่มิได้ใช้ประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสิทธิการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า: การคืนเงินเมื่อสัญญาเช่าระงับเนื่องจากการตายของผู้เช่า
สัญญาเช่าพื้นที่ในอาคารศูนย์การค้าระหว่างจำเลยกับ ส. ผู้เช่ามีกำหนดเวลา 20 ปี โดยจำเลยคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 1,235 บาท เมื่อการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าเป็นเวลานานถึง 20 ปี อัตราค่าเช่าดังกล่าวนับว่าเป็นจำนวนน้อยมากและไม่น่าจะเป็นค่าเช่าตามปกติธรรมดาทั่วไป ดังนั้นเงินค่าสิทธิการเช่าจำนวน 2,790,550 บาท จึงมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่จำเลยเรียกล่วงหน้าจาก ส. ทั้งตามสัญญาเช่าข้อ 10 ระบุเพียงว่า ผู้เช่าไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าสิทธิการเช่าคืนจากผู้ให้เช่าเฉพาะกรณีที่ผู้เช่ากระทำผิดสัญญา โดยผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าหรือกระทำผิด หรือไม่กระทำตามสัญญานี้ หรือสัญญาบริการข้อหนึ่งข้อใด หรือผู้เช่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องในคดีล้มละลายหรือถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ตามคำสั่งศาลเท่านั้น หาได้รวมถึงกรณีที่สัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของผู้เช่าแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าระงับเพราะเหตุการตายของ ส. ผู้เช่า จำเลยผู้ให้เช่าจึงต้องคืนเงินค่าสิทธิการเช่าอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าตามส่วนที่มิได้ใช้ประโยชน์ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังจดทะเบียน โดยมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับหนี้
ก่อนจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ใช้ชื่อร้านว่า ส.เฟอร์นิเจอร์ และจำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ อีก การที่โจทก์ส่งสินค้าตามที่จำเลยที่ 2 สั่งในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้วการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ได้เข้าไปถือเอาประโยชน์จากสินค้าที่โจทก์ส่งไปให้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายสินค้าก่อนและหลังจดทะเบียน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ ใช้ชื่อร้านว่า แสงชัยเฟอร์นิเจอร์ และจำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อแสงชัยเฟอร์นิเจอร์ เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อแสงชัยเฟอร์นิเจอร์ การที่โจทก์ส่งสินค้าตามที่จำเลยที่ 2 สั่งในชื่อแสงชัยเฟอร์นิเจอร์ก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้วการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปถือเอาประโยชน์จากสินค้าที่โจทก์ส่งไปให้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6305/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การขีดฆ่าข้อความ 'หรือผู้ถือ' ทำให้เช็คไม่สมบูรณ์ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังไม่ต้องรับผิด
เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายมีการขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก แล้วเขียนคำว่า "สด" ลงไปในช่องว่างหลังคำว่า "จ่าย" ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่มีชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 988 (4) บัญญัติไว้ และการขีดฆ่าดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 899 ซึ่งเป็นเรื่องการเขียนข้อความที่มิได้มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะตั๋วเงิน ข้อความที่เขียนลงไปจึงไม่มีผลแก่ตั๋วเงิน การที่เช็คพิพาทขาดรายการซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมี ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตามมาตรา 987 และมาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แม้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังก็ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6305/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์จากการแก้ไขข้อความ ทำให้ธนาคารปฏิเสธการจ่าย ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังไม่ต้องรับผิด
เช็คพิพาทมีข้อความตามแบบพิมพ์ว่า "จ่าย..........หรือผู้ถือ" แต่มีการขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกและเขียนคำว่า "สด" ลงในช่องว่างหลังคำว่า "จ่าย" ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่มีชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 988 (4) บัญญัติไว้ และการขีดฆ่าดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีตามมาตรา 899 ซึ่งเป็นเรื่องการเขียนข้อความที่มิได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะตั๋วเงิน ข้อความที่เขียนลงไปจึงไม่มีผลแก่ตั๋วเงิน การที่เช็คพิพาทขาดรายการซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องมี ย่อมมีผลทำให้เช็คพิพาทไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตามมาตรา 987 และมาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง แม้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาทก็ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
of 16