พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขโทษจำคุกจากประหารชีวิต/ตลอดชีวิต เป็นจำคุก 50 ปี สำหรับผู้กระทำผิดขณะอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
จำเลยที่ 2 อายุ 16 ปี กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 16) ฯ มาตรา 3 ให้เพิ่มความขึ้นเป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 18 แห่ง ป.อ. ซึ่งในวรรคสามที่เพิ่มมีข้อความว่า ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษห้าสิบปี ระวางโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่าระวางโทษตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย: จำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากหนี้ดอกเบี้ยที่ศาลพิพากษา
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลยโจทก์จึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผิดนัด คือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย การที่โจทก์ได้ชำระเฉพาะต้นเงินตามเช็คให้แก่จำเลยเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยมิได้ชำระให้เสร็จสิ้น ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้โจทก์รับผิดตามที่จำเลยฟ้องแย้งเป็นเงิน 432,697 บาท นั้นแม้เงินที่โจทก์จะต้องรับผิดจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้เงิน และการที่โจทก์ไม่ยอมชำระทำให้จำเลยเสียหาย แต่หนี้ดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมิใช่หนี้เงินส่วนที่เป็นต้นเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี ของหนี้เงินดังกล่าวได้อีก เพราะมีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย: โจทก์ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามเช็ค จำเลยขอคิดดอกเบี้ยเพิ่มไม่ได้
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดคือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่โจทก์ชำระเฉพาะต้นเงินตามเช็คให้แก่จำเลยเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มิได้ชำระ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์รับผิดตามที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนของดอกเบี้ยดังกล่าว แม้เงินที่โจทก์จะต้องรับผิดจะเป็นหนี้เงินและการที่โจทก์ไม่ยอมชำระทำให้จำเลยเสียหายก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมิใช่หนี้เงินในส่วนที่เป็นต้นเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของหนี้เงินดังกล่าวอีก เพราะมีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาทโดยตรง แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ เมื่อทรัพย์มรดกของ ช. เจ้ามรดกตกทอดได้แก่ทายาทซึ่งรวมทั้ง ม. มารดาผู้ร้องด้วย แต่ ม. ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว สิทธิในทรัพย์มรดกของ ช. ส่วนที่ตกได้แก่ ม. จึงเป็นมรดกของ ม. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาท ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของ ช. ด้วยตามส่วน ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องพฤติการณ์พิเศษขยายเวลาอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ในการต่อสู้คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าใช้จ่ายและค่าฤชาธรรมเนียมมาโดยตลอด และยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียนบุตรอีก 3 คน ทั้งผู้ตายสามีจำเลยที่ 2 ก็มีหนี้สินเป็นจำนวนมากซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องแบกรับภาระเองทั้งสิ้นค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องวางในชั้นอุทธรณ์แม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ก็ถือว่าสูงสำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ก็มิได้บัญญัติว่าเหตุใดเป็นพฤติการณ์พิเศษแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ว่าหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลไม่ทันมิใช่พฤติการณ์พิเศษ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 เช่นกัน
ฎีกาในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9101/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การยื่นคำให้การเพิ่มเติมตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้วก็ต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายในสิบห้าวัน มิฉะนั้นให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 197 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและหากประสงค์จะยื่นคำให้การกฎหมายก็ได้บัญญัติทางแก้ไว้โดยจำเลยที่ 2 อาจยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำให้การได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หรือมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าประสงค์จะต่อสู้คดี กับแสดงให้ศาลเห็นว่า การขาดนัดยื่นคำให้การมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 199 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การเพียงแต่ยื่นคำให้การเข้ามาลอยๆ โดยมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการยื่นคำให้การต่อศาลโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9081/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออุทธรณ์ค่าธรรมเนียมศาล: การพิจารณาคำร้องขออนาถาใหม่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์โดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบในวันนัดไต่สวน เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่าโจทก์มิใช่คนยากจนจะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หาได้ไม่ เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์โดยมิได้สืบพยานโจทก์ เมื่อพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาคำขออนาถาใหม่ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง มิใช่การยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องนั้นใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ แล้ว เห็นได้ว่าขัดแย้งกับข้อความในคำร้องดังกล่าวที่ต้องการให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของโจทก์ไว้ไต่สวนใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจไม่นำพยานมาสืบในวันนัดไต่สวน แม้โจทก์จะอ้างในตอนท้ายของคำร้องด้วยว่าโจทก์เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ แต่ก็เป็นการอ้างเพื่อยืนยันให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นคนยากจนเท่านั้น ข้อความที่อ้างมีเนื้อความเดียวกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาฉบับเดิมทุกประการ โจทก์มิได้อ้างเหตุอะไรขึ้นใหม่ คำร้องของโจทก์จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ซึ่งโจทก์ต้องยื่นมาพร้อมอุทธรณ์และสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัยพ์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ เว้นแต่ว่าโจทก์ตกเป็นคนยากจนลงภายหลัง พฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ต้องยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หาใช่เป็นการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามมาตรา 156 วรรคหนึ่งไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวได้และไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ตามที่นัดไว้อีกต่อไป ก็ชอบที่จะมีคำสั่งงดการไต่สวนและยกคำร้องของโจทก์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-ค้ำประกันไม่เสียอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้ แม้จำเลยขาดนัด
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8822/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเช็คต้องระบุหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย หากขาดองค์ประกอบนี้คำฟ้องไม่ชอบ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคบได้ตามกฎหมายและข้อความดังกล่าวเป็นองค์ประกอบของความผิด เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องข้อความดังกล่าวไว้ แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ก็ย่อมต้องถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องขาดองค์ประกอบความผิดในมาตรา 4 คำฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)