พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8648/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้อง หรืออธิบดีอัยการ มิฉะนั้น ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัย
คดีของจำเลยทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวจะต้องให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาต หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฯลฯ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ขั้นตอนในการปฏิบัติดังกล่าว ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ตามคำร้องคงเพียงขอเฉพาะผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยระบุชื่อให้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง ส่วนการที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนหนึ่งที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง หามีผลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนนั้นเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดทั้งมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8648/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น ขอเฉพาะผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยระบุชื่อให้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง ส่วนการที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนหนึ่งที่ลงชื่อในคำพิพากษามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 อันจะส่งผลตามกฎหมายให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนนั้นเป็นผู้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดทั้งไม่ได้ผ่านหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่บัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8431/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีอาญา และผลต่อการต่อสู้คดีของจำเลย หากข้อแตกต่างไม่ใช่สาระสำคัญ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม มีสาระสำคัญว่า ถ้าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้อง เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา มิให้ถือว่าแตกต่างกับข้อสาระสำคัญ ดังนั้น แม้ว่าทางพิจารณาจะปรากฏว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แตกต่างจากฟ้องที่ว่าเหตุเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ก็ถือว่าข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญ อีกทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แล้ว จำเลยซึ่งได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแล้วก็ยังคงให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7886-7887/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย – การเข้าครอบครองที่ดินโดยสุจริต – การประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐ – ยกฟ้อง
การที่ราษฎรเข้าอยู่ในเขตทางหลวงแผ่นดินที่เกิดเหตุเป็นเพราะทางราชการและหน่วยงานของรัฐเป็น ฝ่ายจัดพื้นที่ให้เพื่อบรรเทาผลร้ายจากการสร้างเขื่อนบางลาง เป็นเหตุให้ราษฎรในพื้นที่เดิมประสบภัยน้ำท่วมจน ไม่อาจอยู่อาศัยในถิ่นที่อยู่เดิมได้ การเข้าอยู่ในที่ดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1 นาย น. นาย ถ. และนาง พ. จึงเป็นการได้รับสิทธิตามที่ทางราชการและหน่วยงานของรัฐดังกล่าวจัดสรรที่ดินให้ อันเป็นการเชื่อโดยสุจริตในสิทธิที่แต่ละคนได้รับการจัดสรรที่ดิน และได้อยู่อาศัยกันตลอดมาจนกระทั่งเกิดเหตุคดีนี้ในปี 2539 ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้าอยู่โดยมีเจตนาฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ดังนี้ แม้การเข้าอยู่จะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ เพราะมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แต่เมื่อมิได้เป็นการกระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนต่อกฎหมายมาแต่ต้น ก็หามีความผิดอันจะต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 รับโอนสิทธิจากนาย น. และนาย ถ. กับจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิจากนาง พ. และได้เข้าทำการยึดถือก่อสร้าง อาคารพาณิชย์และบ้านพักอาศัยในที่เกิดเหตุ แม้เจ้าหน้าที่ของแขวงการทางยะลาได้ห้ามปราม แต่จำเลยทั้งสอง ไม่เชื่อฟัง ก็เป็นเรื่องที่ทางราชการกรมทางหลวงจะต้องดำเนินคดีในทางแพ่งแก่จำเลยทั้งสองให้รื้อถอนออกไปเท่านั้น จะนำเหตุที่จำเลยทั้งสองซึ่งเข้าใจโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิมาแต่ต้นจึงไม่เชื่อฟังมาเป็นความผิดทางอาญาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม หลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการบังคับคดี
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยหรือใช้ราคาแทนเป็นเงิน 100,000 บาทโจทก์จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนและขายได้ในราคา 23,364.49 บาท เพราะรถยนต์ที่เช่าซื้อมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอันเนื่องมาจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อหักราคารถยนต์ที่โจทก์กำหนดให้ตามคำพิพากษาแล้วยังขาดอยู่เป็นเงิน 76,635.51 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาจากการขายรถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วและกรณีก็ไม่อาจไปว่ากล่าวกันในคดีเดิมในชั้นบังคับคดีได้เพราะการบังคับคดีจะต้องอาศัยคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นหลักแห่งการบังคับ ซึ่งไม่มีหนี้ตามฟ้องโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองต้องชำระแก่โจทก์รวมอยู่ด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการขยายระยะเวลายื่นฎีกา: พิจารณาจากเหตุผลและความสมเหตุสมผล
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 นั้น ศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป และจะอนุญาตขยายระยะเวลาให้เท่าใดก็ได้ ตามเหตุผลที่เห็นสมควรโดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลานั้นโดยชัดแจ้ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์ แสดงว่าศาลชั้นต้นเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ตามเหตุที่โจทก์ระบุในคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7511/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์แก้เล็กน้อย ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
การที่จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษนั้นมีความหมายถึงการเปลี่ยนบทลงโทษจากบทหนึ่งไปเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและขั้นสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่วรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 บัญญัติไว้เท่านั้น จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้บทลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดค่าเสียหายทั้งหมด การระบุค่าซ่อมโดยรวมเพียงพอแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนค่าเสียหายว่า เหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย แล้ว รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันหมายเลขเครื่อง เจ.ที 172 เอส.ซี 1100066869 หมายเลขเครื่องยนต์ 3 เอส-1996985 ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ซ่อมแซมรถยนต์คันที่โจทก์ได้รับประกันภัยไว้จนอยู่ในสภาพใช้การได้ดีดังเดิมโดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท คำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์บุคคลอื่นแล้วทำให้กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แล้วทำให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ดำเนินการซ่อมแซมรถยนต์คันที่ได้รับประกันภัยไว้จนใช้การได้ดังเดิม โดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท ส่วนการที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันไว้จะได้รับความเสียหายในส่วนไหน เสียหายอย่างไร โจทก์ต้องเสียค่าซ่อมรายการใดบ้างนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7077/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของหุ้นส่วน ความผิดฐานยักยอกเกิดขึ้นเมื่อนำเงินของหุ้นส่วนไปใช้โดยไม่มีสิทธิและมีเจตนาทุจริต
จำเลยนำเงินที่โจทก์ร่วมและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในฐานะหุ้นส่วนไปโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับเงินค่าหุ้นและเงินส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนร่วมกัน เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นหุ้นส่วนกัน เงินที่จำเลยนำไปดังกล่าวจึงเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจนกว่าจะมีการเลิกการเป็นหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชี ดังนั้น แม้จำเลยจะมีความประสงค์จะเลิกเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ร่วม แต่เมื่อยังไม่มีการตกลงเลิกหุ้น ทั้งยังไม่มีการชำระบัญชีว่าเงินส่วนนี้จะเป็นของโจทก์ร่วมและจำเลยจำนวนเท่าใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะนำเงินที่เป็นของหุ้นส่วนไปใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนตัว เมื่อจำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วก็หลบหนีไม่ยอมกลับไปทำงานอีกจนเกือบหนึ่งปีจึงถูกจับกุม ย่อมแสดงได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองเงินที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวนั้นไปเป็นของตนเองโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6752/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากการบังคับคดีและการกันส่วนทรัพย์สินของผู้รับโอนสิทธิจากคำพิพากษาตามยอม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้ร้อง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ร้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ขณะยื่นคำร้องขอกันส่วนผู้ร้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลบังคับให้จำเลยที่ 2 ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 คดีนี้เดิมโจทก์บังคับคดียึดที่ดินทั้งแปลงพร้อมกัน ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนโดยอ้างว่าจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะส่วนของตนตามคำพิพากษา มิได้อ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดทั้งหมดไม่ใช่ของจำเลย จึงเป็นเรื่องร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 มิใช่ร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 แม้ว่า ร. ขอกันส่วนที่ดินพร้อมบ้านส่วนของตนครึ่งหนึ่ง และผู้ร้องขอกันส่วนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทส่วนนี้จนไม่เหลือส่วนของจำเลยที่ 2 มีผลให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้นำยึดไม่อาจจะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์ที่ยึดและขายทอดตลาดได้ แต่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ธนาคาร อ. รับชำระหนี้จำนองเงินขายทอดตลาดได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น และให้เข้าสวมสิทธิเข้ายึดทรัพย์แทนโจทก์ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะบังคับชำระหนี้เอาจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไม่ได้ แต่เมื่อธนาคาร อ. มีอำนาจเข้าสวมสิทธิยึดทรัพย์แทนโจทก์ต่อไปได้ โดยเมื่อกันส่วนของ ร. แล้ว ธนาคาร อ. ก็มีสิทธิรับชำระหนี้จำนองจากเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องตามคำร้องตามคำพิพากษาก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อมีเงินเหลือจึงกันเป็นส่วนของผู้ร้องต่อไปได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันส่วนของตนจากเงินที่ขายททอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287