พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดาต่อละเมิดของบุตร: การดูแลตามสมควรแก่หน้าที่และอุปนิสัยของบุตร
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 มีอายุ 15 ปีเศษ และเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะออก ไปกิจธุระนอกบ้าน จำเลยที่ 2 ได้นำรถจักรยานยนต์ คันเกิดเหตุเข้าไปเก็บไว้ในบ้านพร้อมกับใส่กุญแจล๊อก คอรถจักรยานยนต์เพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ 1 นำรถจักรยานยนต์ออกไปใช้ และจำเลยที่ 2 นำเอากุญแจติดตัวไปด้วยการที่จำเลยที่ 1 ได้นำกุญแจรถยนต์กระบะไปไขออก ได้โดยบังเอิญแล้วนำไปให้เพื่อนรุ่นพี่ต่อสายไฟตรงติดเครื่องยนต์ให้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ที่มีนิสัยหรือความประพฤติไม่ดีมาก่อน เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นเหมาะสมกับอุปนิสัยและความประพฤติของจำเลยที่ 1ผู้เป็นบุตรแล้วทุกประการ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำละเมิดของบุตร: ผู้ปกครองใช้ความระมัดระวังเหมาะสมแล้วไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2มีอายุ 15 ปีเศษ และเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะออกไปกิจธุระนอกบ้าน จำเลยที่ 2 ได้นำรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุเข้าไปเก็บไว้ในบ้านพร้อมกับใส่กุญแจล็อกคอรถจักรยานยนต์เพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ 1 นำรถจักรยานยนต์ออกไปใช้ และจำเลยที่ 2 นำเอากุญแจติดตัวไปด้วย การที่จำเลยที่ 1 ได้นำกุญแจรถยนต์กระบะไปไขออกได้โดยบังเอิญแล้วนำไปให้เพื่อนรุ่นพี่ต่อสายไฟตรงติดเครื่องยนต์ให้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ที่มีนิสัยหรือความประพฤติไม่ดีมาก่อน เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น เหมาะสมกับอุปนิสัยและความประพฤติของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบุตรแล้วทุกประการ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ กรณีสุดวิสัยและไม่ได้รู้เห็น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อน ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์: กรณีสุดวิสัย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถ-จักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำผิดของบุตรผู้เยาว์: การใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเด็กและขอบเขตความรับผิดของบิดามารดาในการดูแลควบคุม
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2และที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2และที่ 3 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้ จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้เยาว์ และความรับผิดของบิดามารดาในการควบคุมดูแล ความเสียหายที่เหมาะสม
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่1ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46จำเลยที่1จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ส่วนจำเลยที่2และที่3บิดามารดาของจำเลยที่1ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วยผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่2และที่3ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้ จำเลยที่1มีอายุ14ปีเศษมีความรู้ผิดชอบพอสมควรเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อนย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่1ตลอดเวลาทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่1ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่2และที่3จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่2และที่3ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่1จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้วถือว่าจำเลยที่2และที่3ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่1แล้วจำเลยที่2และที่3จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ของผู้เยาว์ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่รู้เห็นเห็นชอบ
จำเลยร่วมบุตรโจทก์นำรถยนต์ของโจทก์พาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวสถานบันเทิงโดยจำเลยร่วมให้ ฉ. เป็นผู้ขับไปยังสถานบันเทิง ครั้นเลิกจากเที่ยวเมื่อเวลา 3 นาฬิกาของวันใหม่เปลี่ยนให้จำเลยที่ 1 ขับกลับจากสถานบันเทิงแล้วเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปเที่ยวและที่จำเลยร่วมยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของโจทก์พาจำเลยร่วมกับเพื่อน ๆ กลับจากเที่ยวสถานบันเทิงไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไปทำหน้าที่ขับรถยนต์ของโจทก์แทน ฉ. การที่จำเลยที่ 1 อาสาขับรถยนต์โจทก์ตอนขากลับต้องถือว่าเป็นการสุดวิสัยของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาจะรู้เห็นได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่ในขณะนั้นแล้ว เพราะไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ให้ไปกระทำหรือรู้แล้วยังยอมให้กระทำดังนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แต่หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 1 ได้ตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนยินยอมชดใช้ค่าเสียหายในการละเมิดของจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 มิได้ตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3
จำเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จำเลยร่วมนำรถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จำเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุละเมิดในคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น
จำเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จำเลยร่วมนำรถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จำเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุละเมิดในคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9184/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์จากการดูแลที่ไม่ระมัดระวัง
จำเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองดูแลจำเลยที่ 1ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3 ขายของ จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9084/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ กรณีประมาทขับรถชน
จำเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่น จะนำ ป.พ.พ.มาตรา429 มาปรับใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองดูแลจำเลยที่ 1 ต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 430มาปรับใช้บังคับ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 430 มาใช้บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้โดยชอบ
จากพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ โดยไม่เคยว่ากล่าวตักเตือนจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ใหม่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3)(ก), 247
จำเลยที่ 2 เป็นผู้บอกจำเลยที่ 3 ให้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ขับรถไม่ค่อยเป็นไม่สามารถขับรถยนต์ออกถนนใหญ่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ทราบดีและยังทราบว่าจำเลยที่ 1 เคยขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ควรจะเก็บกุญแจรถยนต์จิ๊ปไว้ในที่ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำออกไปใช้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3ขายของ จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ในการทำละเมิดต่อโจทก์
จากพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยยอมโดยปริยายให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ โดยไม่เคยว่ากล่าวตักเตือนจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ซึ่งคู่ความต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ใหม่ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3)(ก), 247
จำเลยที่ 2 เป็นผู้บอกจำเลยที่ 3 ให้นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ขับรถไม่ค่อยเป็นไม่สามารถขับรถยนต์ออกถนนใหญ่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ทราบดีและยังทราบว่าจำเลยที่ 1 เคยขับรถยนต์ไปที่ไร่ที่กิ่งอำเภอวังจันทร์ด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ควรจะเก็บกุญแจรถยนต์จิ๊ปไว้ในที่ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำออกไปใช้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3ขายของ จนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถยนต์จิ๊ปโดยประมาทชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1ในการทำละเมิดต่อโจทก์