พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของมารดาต่อการกระทำของบุตรผู้เยาว์ที่มีอาวุธร้ายแรงในความครอบครอง
มารดาต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมกับผู้เยาว์ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
มารดาเห็นบุตรถือปืน จึงว่ากล่าวตักเตือนบุตรไม่เชื่อฟังกลับเอาปืนไปซ่อนเสีย พอลับหลังมารดาก็เอาปืนมาเล่นอีกถือว่า การว่ากล่าวตักเตือนของมารดาเพียงเท่านี้หาเพียงพอกับการที่จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลของตนในฐานะเป็นมารดาไม่ มารดาจึงต้องร่วมรับผิดในการที่บุตรประมาทเลินเล่อเอาปืนยิงผู้อื่นตาย
มารดาเห็นบุตรถือปืน จึงว่ากล่าวตักเตือนบุตรไม่เชื่อฟังกลับเอาปืนไปซ่อนเสีย พอลับหลังมารดาก็เอาปืนมาเล่นอีกถือว่า การว่ากล่าวตักเตือนของมารดาเพียงเท่านี้หาเพียงพอกับการที่จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลของตนในฐานะเป็นมารดาไม่ มารดาจึงต้องร่วมรับผิดในการที่บุตรประมาทเลินเล่อเอาปืนยิงผู้อื่นตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในละเมิด: การร่วมกันกระทำละเมิดทำให้ต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด แม้แยกแยะความเสียหายไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดร่วมในผลที่บุตรผู้เยาว์ของจำเลยกระทำละเมิดจำเลยไม่อุทธรณ์ในข้อนี้ ทั้งยังแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาชอบแล้ว จำเลยฎีกาในข้อนี้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 432 วรรคท้าย เป็นบทบัญญัติสำหรับแยกความรับผิดชอบ ระหว่างผู้ละเมิดด้วยกัน มิใช่ว่ารับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งมีวรรค + บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ต้องร่วมกันรับผิดใช้ คำว่า "ร่วมกันใช้มีความหมายว่า แต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิง แต่เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากคนใดทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ถึงกระนั้น ลูกหนี้ทั้งหมดก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291
การทำให้ทรัพย์เขาเสียหายโดยผิดกฎหมายเป็นละเมิด เมื่อร่วมกันกระทำ ก็เป็นการร่วมกันทำละเมิด และต้องร่วมกันรับผิด กฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทำ มิใช่ดูผลของความเสียหายว่า แยกกันได้หรือไม่ แม้จะไม่รู้ตัวว่าคนไหนก่อให้เกิดเสียหาย แต่ถ้าเป็นพวกที่ทำละเมิดร่วมกันแล้ว ก็ต้องรับผิดร่วมกันทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 432
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 432 วรรคท้าย เป็นบทบัญญัติสำหรับแยกความรับผิดชอบ ระหว่างผู้ละเมิดด้วยกัน มิใช่ว่ารับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งมีวรรค + บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ต้องร่วมกันรับผิดใช้ คำว่า "ร่วมกันใช้มีความหมายว่า แต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิง แต่เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากคนใดทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ ถึงกระนั้น ลูกหนี้ทั้งหมดก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291
การทำให้ทรัพย์เขาเสียหายโดยผิดกฎหมายเป็นละเมิด เมื่อร่วมกันกระทำ ก็เป็นการร่วมกันทำละเมิด และต้องร่วมกันรับผิด กฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทำ มิใช่ดูผลของความเสียหายว่า แยกกันได้หรือไม่ แม้จะไม่รู้ตัวว่าคนไหนก่อให้เกิดเสียหาย แต่ถ้าเป็นพวกที่ทำละเมิดร่วมกันแล้ว ก็ต้องรับผิดร่วมกันทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 432
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในละเมิด: แม้แยกแยะความเสียหายไม่ได้ ผู้กระทำร่วมกันต้องรับผิดทั้งหมด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดร่วมในผลที่บุตรผู้เยาว์(ของจำเลย ทำละเมิด จำเลยไม่อุทธรณ์ในข้อนี้ ทั้งยังแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาชอบแล้วจำเลยฎีกาในข้อนี้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคท้าย เป็นบทบัญญัติสำหรับแยกความรับผิดระหว่างผู้ละเมิดด้วยกัน มิใช่ว่ารับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งมีวรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าต้องร่วมกันรับผิดใช้ คำว่า "ร่วมกันใช้" มีความหมายว่า แต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิง แต่เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากคนใดทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ถึงกระนั้นลูกหนี้ทั้งหมดก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291
การทำให้ทรัพย์เขาเสียหายโดยผิดกฎหมายเป็นละเมิด เมื่อร่วมกันกระทำก็เป็นการร่วมกันทำละเมิด และต้องร่วมกันรับผิด กฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทำ มิใช่ดูผลของความเสียหายว่าแยกกันได้หรือไม่ แม้จะไม่รู้ตัวว่าคนไหนก่อให้เกิดเสียหาย แต่ถ้าเป็นพวกที่ทำละเมิดร่วมกันแล้ว ก็ต้องรับผิดร่วมกันทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคท้าย เป็นบทบัญญัติสำหรับแยกความรับผิดระหว่างผู้ละเมิดด้วยกัน มิใช่ว่ารับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งมีวรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าต้องร่วมกันรับผิดใช้ คำว่า "ร่วมกันใช้" มีความหมายว่า แต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิง แต่เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากคนใดทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ถึงกระนั้นลูกหนี้ทั้งหมดก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291
การทำให้ทรัพย์เขาเสียหายโดยผิดกฎหมายเป็นละเมิด เมื่อร่วมกันกระทำก็เป็นการร่วมกันทำละเมิด และต้องร่วมกันรับผิด กฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทำ มิใช่ดูผลของความเสียหายว่าแยกกันได้หรือไม่ แม้จะไม่รู้ตัวว่าคนไหนก่อให้เกิดเสียหาย แต่ถ้าเป็นพวกที่ทำละเมิดร่วมกันแล้ว ก็ต้องรับผิดร่วมกันทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของรถกรณีบุตรขับรถชนผู้อื่น และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
เจ้าของรถยนต์ป่วย บุตรของเจ้าของรถอาสาขับรถไปส่งน้องไปโรงเรียนแทนโดยความยินยอมของเจ้าของรถดังนี้ ถือว่าบุตรเจ้าของรถขับรถไปเพื่อกิจธุระของเจ้าของรถเมื่อบุตรเจ้าของรถขับรถนั้นไปชนผู้อื่นโดยประมาท ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บดังนี้ เจ้าของรถต้องรับผิดร่วมกับบุตรของตนชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้บาดเจ็บ
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า การที่โจทก์ถูกรถของจำเลยชนนี้ทำให้ร่างกายโจทก์ทุพพลภาพ สมองเสื่อมความทรงจำและการศึกษาของโจทก์เสื่อมมากแพทย์ลงความเห็นว่าประสาทสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงเป็นเหตุให้โจทก์หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพในเวลาต่อไปเป็นการทำลายอาชีพและความก้าวหน้าของโจทก์ตลอดชีวิตดังนี้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172 แล้ว
ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 20,000 บาท โดยกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดเพราะโจทก์ถูกรถจำเลยชนขาหัก ต้องรับการผ่าตัดเอาเหล็กยึดกระดูกใส่ไว้ในขาหลังจากนั้นต้องใช้ไม้ยันและมีคนพยุงอยู่ 3-4 เดือน โจทก์ต้องเจ็บป่วยรับทุกข์ทรมานอยู่ถึง 1 ปีนอกจากนั้นโจทก์ยังได้รับอันตรายเกี่ยวกับสมองอีก เพราะทำให้ปวดศีรษะอยู่เสมอ ความจำก็เสื่อมลงการศึกษาก็เลวลงโจทก์เคยหารายได้พิเศษจากการสอนหนังสือเดือนละ 500 บาท ก็ทำไม่ได้นับว่าเป็นการสมควรแล้ว
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า การที่โจทก์ถูกรถของจำเลยชนนี้ทำให้ร่างกายโจทก์ทุพพลภาพ สมองเสื่อมความทรงจำและการศึกษาของโจทก์เสื่อมมากแพทย์ลงความเห็นว่าประสาทสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงเป็นเหตุให้โจทก์หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพในเวลาต่อไปเป็นการทำลายอาชีพและความก้าวหน้าของโจทก์ตลอดชีวิตดังนี้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172 แล้ว
ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 20,000 บาท โดยกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดเพราะโจทก์ถูกรถจำเลยชนขาหัก ต้องรับการผ่าตัดเอาเหล็กยึดกระดูกใส่ไว้ในขาหลังจากนั้นต้องใช้ไม้ยันและมีคนพยุงอยู่ 3-4 เดือน โจทก์ต้องเจ็บป่วยรับทุกข์ทรมานอยู่ถึง 1 ปีนอกจากนั้นโจทก์ยังได้รับอันตรายเกี่ยวกับสมองอีก เพราะทำให้ปวดศีรษะอยู่เสมอ ความจำก็เสื่อมลงการศึกษาก็เลวลงโจทก์เคยหารายได้พิเศษจากการสอนหนังสือเดือนละ 500 บาท ก็ทำไม่ได้นับว่าเป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถเมื่อบุตรขับรถชนผู้อื่น และการพิพากษาค่าเสียหายจากความเสียหายทางร่างกายและสมอง
เจ้าของรถยนต์ป่วย บุตรของเจ้าของรถอาสาขับรถไปส่งน้อง ไปโรงเรียนแทนโดยความยินยอมของเจ้าของรถ ดังนี้ ถือ ว่าบุตรเจ้าของรถขับรถไปเพื่อกิจธุระของเจ้าของรถ เมื่อบุตรเจ้าของรถขับรถนั้นไปชนผู้อื่นโดยประมาท ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บดังนี้ เจ้าของรถต้องรับผิดร่วมกับบุตรของตนชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้บาดเจ็บ
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า การที่โจทก์ถูกรถของจำเลยชนนี้ ทำให้ร่างกายโจทก์ทุพลภาพสมองเสื่อม ความทรงจำและการศึกษาของโจทก์เสื่อมมาก แพทย์ลงความเห็นว่าประสาทสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง เป็นเหตุให้โจทก์หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพในเวลาต่อไป เป็นการทำลายอาชีพและความก้าวหน้าของโจทก์ตลอดชีวิต ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว
ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 20,000 บาทโดยกำหนดให้ตามพฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งการละเมิด เพราะโจทก์ถูกรถจำเลยชนขาหัก ต้องรับการผ่าตัดเอาเหล็กยึดกระดูกใส่ไว้ในขา หลังจากนั้นต้องใช้ไม้ยันและมีคนพยุงอยู่ 3 - 4 เดือน โจทก์ต้องเจ็บป่วยรับทุกข์ทรมานอยู่ถึง 1 ปี นอกจากนั้นโจทก์ยัง ได้รับอันตรายเกี่ยวกับสมองอีก เพราะทำให้ปวดศรีษะอยู่เสมอ ความจำก็เสื่อมลง การศึกษาก็เลวลง โจทก์เคยหารายได้พิเศษจากการสอนหนังสือเดือนละ 500 บาท ก็ทำไม่ได้ นับว่าเป็นการสมควรแล้ว
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า การที่โจทก์ถูกรถของจำเลยชนนี้ ทำให้ร่างกายโจทก์ทุพลภาพสมองเสื่อม ความทรงจำและการศึกษาของโจทก์เสื่อมมาก แพทย์ลงความเห็นว่าประสาทสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง เป็นเหตุให้โจทก์หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพในเวลาต่อไป เป็นการทำลายอาชีพและความก้าวหน้าของโจทก์ตลอดชีวิต ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว
ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 20,000 บาทโดยกำหนดให้ตามพฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งการละเมิด เพราะโจทก์ถูกรถจำเลยชนขาหัก ต้องรับการผ่าตัดเอาเหล็กยึดกระดูกใส่ไว้ในขา หลังจากนั้นต้องใช้ไม้ยันและมีคนพยุงอยู่ 3 - 4 เดือน โจทก์ต้องเจ็บป่วยรับทุกข์ทรมานอยู่ถึง 1 ปี นอกจากนั้นโจทก์ยัง ได้รับอันตรายเกี่ยวกับสมองอีก เพราะทำให้ปวดศรีษะอยู่เสมอ ความจำก็เสื่อมลง การศึกษาก็เลวลง โจทก์เคยหารายได้พิเศษจากการสอนหนังสือเดือนละ 500 บาท ก็ทำไม่ได้ นับว่าเป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรถยนต์ที่เสียหายและเสื่อมราคา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อบท ก.ม. เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ต้องเสียหายคิดค่าซ่อมแซมเป็นเงิน 18,072 บาท 05 สตางค์ และแม้จะซ่อมแซมก็เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสื่อมราคาจากเดิมคิดเป็นเงิน 4,000 บาท "ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในข้อที่อ้างว่ารถเสื่อมราคานั้นได้แสดงออกโดยชัดแจ้งพอที่จะให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ชัดเจนดีพอแล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การที่บิดาปล่อยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถยนต์ไปเที่ยวเสมอและในครั้งเกิดเหตุก็ขับรถยนต์ไปกับเพื่อน บิดารู้เห็นก็มิได้ห้ามตักเตือนจนขับรถไปทำให้ผู้อื่นเสียหายดังนี้ ย่อมถือได้ว่าบิดาพิสูจน์ไม่ได้ว่าคนใดใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดาผู้ปกครองบุตรอยู่โดยปกติ จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตร ตาม ม. 429
การที่บิดาปล่อยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถยนต์ไปเที่ยวเสมอและในครั้งเกิดเหตุก็ขับรถยนต์ไปกับเพื่อน บิดารู้เห็นก็มิได้ห้ามตักเตือนจนขับรถไปทำให้ผู้อื่นเสียหายดังนี้ ย่อมถือได้ว่าบิดาพิสูจน์ไม่ได้ว่าคนใดใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดาผู้ปกครองบุตรอยู่โดยปกติ จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตร ตาม ม. 429
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ และความชัดเจนของฟ้องคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อบทกฎหมายเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ต้องเสียหายคิดค่าซ่อมแซมเป็นเงิน 18,072 บาท 05 สตางค์ และแม้จะซ่อมแซมก็เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสื่อมราคาจากเดิมคิดเป็นเงิน 4,000 บาท"ดังนี้ฟ้องของโจทก์ในข้อที่อ้างว่ารถเสื่อมราคานั้นได้แสดงออกโดยชัดแจ้งพอที่จะให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ชัดเจนดีพอแล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การที่บิดาปล่อยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถยนต์ไปเที่ยวเสมอและในครั้งเกิดเหตุก็ขับรถยนต์ไปกับเพื่อน บิดารู้เห็นก็มิได้ห้ามตักเตือนจนขับรถไปทำให้ผู้อื่นเสียหาย ดังนี้ย่อมถือได้ว่าบิดาพิสูจน์ไม่ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดาผู้ปกครองบุตรอยู่โดยปกติ จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตาม มาตรา 429
การที่บิดาปล่อยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถยนต์ไปเที่ยวเสมอและในครั้งเกิดเหตุก็ขับรถยนต์ไปกับเพื่อน บิดารู้เห็นก็มิได้ห้ามตักเตือนจนขับรถไปทำให้ผู้อื่นเสียหาย ดังนี้ย่อมถือได้ว่าบิดาพิสูจน์ไม่ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดาผู้ปกครองบุตรอยู่โดยปกติ จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตาม มาตรา 429
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดของผู้อื่นและการไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบัน
การที่จำเลยที่ 2,3 ผู้เยาว์เข้าต่อสู้ทำร้ายกับโจทก์เนื่องจากโจทก์จะเข้าทำร้ายจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบิดาขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังสาละวนอยู่กับบิดาโจทก์ผู้บุกรุกที่ดินจำเลยโดยไม่มีโอกาสมาสนใจกับการต่อสู้ของโจทก์จำเลยและไม่สามารถจะปฏิบัติอย่างอื่นได้นั้นจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบิดาจำเลยที่ 2,3 หาจำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วมกับจำเลยที่ 2,3 ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ปกครองต่อการกระทำละเมิดของเด็ก: การใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ไร้ความสามารถและบิดามารดา ต้องรับผิดในผลที่เด็กกระทำละเมิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
บิดาเก็บปืนลูกซองไว้บนหลังตู้เซฟ บุตรอายุ 9 ขวบหยิบไม่ถึง ต่อมาปรากฏว่าบุตรเอาปืนนั้นไป บิดาจึงสั่งให้ผู้มีชื่อเอาปืนจากบุตรไปเก็บไว้ พอตอนเย็นบุตรก็มาพูดหลอกว่าบิดาให้มาเอาปืนไปอีก ได้ปืนแล้วไปยิงนก จนทำปืนลั่นถูกเด็กอื่นตาย ดังนี้ วินิจฉัยว่าการที่บิดาสั่งเพียงให้เก็บปืนไว้เฉยๆ มิได้กำชับว่าอย่ามอบให้บุตรเอาไปนั้น ยังเรียกไม่ได้ว่า บิดาได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลดังที่กฎหมายบังคับไว้ บิดาจึงต้องร่วมรับผิดในผลของการละเมิดนั้นด้วย
บิดาเก็บปืนลูกซองไว้บนหลังตู้เซฟ บุตรอายุ 9 ขวบหยิบไม่ถึง ต่อมาปรากฏว่าบุตรเอาปืนนั้นไป บิดาจึงสั่งให้ผู้มีชื่อเอาปืนจากบุตรไปเก็บไว้ พอตอนเย็นบุตรก็มาพูดหลอกว่าบิดาให้มาเอาปืนไปอีก ได้ปืนแล้วไปยิงนก จนทำปืนลั่นถูกเด็กอื่นตาย ดังนี้ วินิจฉัยว่าการที่บิดาสั่งเพียงให้เก็บปืนไว้เฉยๆ มิได้กำชับว่าอย่ามอบให้บุตรเอาไปนั้น ยังเรียกไม่ได้ว่า บิดาได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลดังที่กฎหมายบังคับไว้ บิดาจึงต้องร่วมรับผิดในผลของการละเมิดนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และไม่มีประโยชน์ในการบังคับคดีต่อ
ในระหว่างพิจารณาศาลสั่งยกคำร้องในเรื่องข้อตัดฟ้องของจำเลย จำเลยแถลงว่า ยังติดใจคัดค้านและขอสงวนสิทธิเพื่ออุทธรณ์ แล้วจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาล ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแถลงว่าพอใจคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแล้ว จึงขอค่าธรรมเนียมคืนดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยพอใจในการสั่งของศาล ไม่ใช่พอใจที่จะไม่อุทธรณ์ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว จำเลยย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นได้ เพราะจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) แล้ว
เมื่อความปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(12) กรณีก็ต้องตามมาตรา 56 การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้อนุญาตหรือยินยอมแก่ผู้เยาว์ ที่จะดำเนินคดีหรือไม่เป็นอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลไม่มีอำนาจบังคับผู้แทนโดยชอบธรรมให้ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์
การหมายเรียกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา57(3) เป็นการหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดี หรือไม่เข้าดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ตามที่ควรศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ตามมาตรา 56 วรรคท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ เพราะเป็นบทบัญญัติเฉพาะแต่ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่บิดาเป็นผู้ปกครองและไม่ยอมให้คำยินยอมเช่นนี้ ผู้เยาว์อาจขอต่อศาลให้รอคดีไว้หรือศาลสั่งรอไว้เองก็ได้ โดยให้ผู้เยาว์ไปหาญาติสนิท ดำเนินการตามมาตรา 1552 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถอนอำนาจบิดาในส่วนนี้ฐานใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบเสียก่อนได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ไม่ได้ห้ามไม่ให้ฟ้องผู้เยาว์ เป็นแต่ว่าถ้าถูกฟ้อง ผู้เยาว์จะดำเนินคดีไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าดำเนินคดีแทนเสียทีเดียว ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จะบังคับโจทก์ไม่ได้ศาลจึงชอบที่จะคอยระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ให้ตามสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ ศาลอาจจะแจ้งไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาและดำเนินการตามมาตรา 1552 นี้ก็ได้ เมื่อมีการถอนอำนาจแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะใช้มาตรา 56 วรรคท้ายได้ แต่ศาลจะหมายเรียกผู้แทนโดยชอบธรรม ให้เข้ามาแก้คดีแทนผู้เยาว์นั้นหามีกฎหมายสนับสนุนไม่
การบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น การที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลา ก็หมายความว่าไม่ให้ถือเอาการอุทธรณ์เป็นการทุเลาการบังคับ แม้จะมีการอุทธรณ์ ก็ให้ศาลล่างดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องการบังคับคดี ไม่ใช่ว่าถ้าศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลาแล้ว ก็เป็นการบังคับศาลชั้นต้นให้บังคับคดีโดยตัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องบังคับคดีเสียเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรสาวโจทก์อายุ 18 ปีในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาบุตรสาวโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสีย แม้กรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ศาลฎีกาก็ยังจำหน่ายคดีได้
ถ้าหากไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะชี้ขาดแล้วเช่นคดีนี้แต่คดีนี้ศาลล่างดำเนินการพิจารณามาสับสน จะเพียงแต่จำหน่ายคดี โดยให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงไว้ หาชอบไม่ ทั้งจะให้ศาลล่างพิจารณาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะบุตรสาวโจทก์ที่ฟ้องเรียกคืนบรรลุนิติภาวะแล้ว เช่นนี้ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง และให้จำหน่ายคดีเสีย
เมื่อความปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(12) กรณีก็ต้องตามมาตรา 56 การที่ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้อนุญาตหรือยินยอมแก่ผู้เยาว์ ที่จะดำเนินคดีหรือไม่เป็นอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลไม่มีอำนาจบังคับผู้แทนโดยชอบธรรมให้ดำเนินคดีแทนผู้เยาว์
การหมายเรียกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา57(3) เป็นการหมายเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการดำเนินคดี หรือไม่เข้าดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ตามที่ควรศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ตามมาตรา 56 วรรคท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ไม่ได้ เพราะเป็นบทบัญญัติเฉพาะแต่ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่บิดาเป็นผู้ปกครองและไม่ยอมให้คำยินยอมเช่นนี้ ผู้เยาว์อาจขอต่อศาลให้รอคดีไว้หรือศาลสั่งรอไว้เองก็ได้ โดยให้ผู้เยาว์ไปหาญาติสนิท ดำเนินการตามมาตรา 1552 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถอนอำนาจบิดาในส่วนนี้ฐานใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบเสียก่อนได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ไม่ได้ห้ามไม่ให้ฟ้องผู้เยาว์ เป็นแต่ว่าถ้าถูกฟ้อง ผู้เยาว์จะดำเนินคดีไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าดำเนินคดีแทนเสียทีเดียว ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ ก็ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จะบังคับโจทก์ไม่ได้ศาลจึงชอบที่จะคอยระวังผลประโยชน์ของผู้เยาว์ให้ตามสมควร เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ ศาลอาจจะแจ้งไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาและดำเนินการตามมาตรา 1552 นี้ก็ได้ เมื่อมีการถอนอำนาจแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะใช้มาตรา 56 วรรคท้ายได้ แต่ศาลจะหมายเรียกผู้แทนโดยชอบธรรม ให้เข้ามาแก้คดีแทนผู้เยาว์นั้นหามีกฎหมายสนับสนุนไม่
การบังคับคดีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น การที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลา ก็หมายความว่าไม่ให้ถือเอาการอุทธรณ์เป็นการทุเลาการบังคับ แม้จะมีการอุทธรณ์ ก็ให้ศาลล่างดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องการบังคับคดี ไม่ใช่ว่าถ้าศาลอุทธรณ์ไม่ให้ทุเลาแล้ว ก็เป็นการบังคับศาลชั้นต้นให้บังคับคดีโดยตัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ในเรื่องบังคับคดีเสียเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรสาวโจทก์อายุ 18 ปีในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาบุตรสาวโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสีย แม้กรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ศาลฎีกาก็ยังจำหน่ายคดีได้
ถ้าหากไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะชี้ขาดแล้วเช่นคดีนี้แต่คดีนี้ศาลล่างดำเนินการพิจารณามาสับสน จะเพียงแต่จำหน่ายคดี โดยให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คงไว้ หาชอบไม่ ทั้งจะให้ศาลล่างพิจารณาใหม่ก็ไม่ได้ เพราะบุตรสาวโจทก์ที่ฟ้องเรียกคืนบรรลุนิติภาวะแล้ว เช่นนี้ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง และให้จำหน่ายคดีเสีย