พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องต้องทำต่อคู่สัญญาทันที การอายัดผ่านบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่สัญญาไม่ชอบ
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะเรียกให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างเลขที่ T 078/2560 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 บุคคลภายนอกที่จะต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 คือ จังหวัดตาก ผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้าง ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่บุคคลภายนอกที่จะต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญา อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้จังหวัดตาก บุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้าง แต่การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งหนังสือแจ้งคำสั่งอายัดไปยังผู้คัดค้านที่ 1 ตามคำร้องขอของโจทก์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 และ 7 มีนาคม 2560 โดยไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งคำสั่งอายัดไปยังจังหวัดตากเลย แม้หลังจากนั้นผู้คัดค้านที่ 1 แจ้งการอายัดไปยังจังหวัดตากแล้ว ก็ไม่ใช่เป็นการส่งหนังสือแจ้งคำสั่งอายัดตามกฎหมายจึงไม่มีผลบังคับ
แม้ฎีกาโจทก์ในตอนแรกระบุว่า นายอำเภอแม่สอด ก็เข้าใจได้ว่า คือ อำเภอแม่สอด ผู้คัดค้านที่ 1 นั้นเอง เนื่องจากไม่สามารถแปลได้ว่า คือ ธ. นายอำเภอแม่สอดในขณะนั้น เนื่องจาก ธ. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะนายอำเภอแม่สอด ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ไม่ใช่ในฐานะส่วนตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคหนึ่ง (เดิม) ถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะเรียกให้จังหวัดตาก บุคคลภายนอก ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างยังไม่มีการอายัด ดังนั้นการที่โจทก์มายื่นคำร้องผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้จังหวัดตากปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้มาเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยไม่ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 321 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนที่จะต้องมีการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดตาก มีการดำเนินการผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำสั่ง อาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 252 จึงต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนนี้และศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งยกคำร้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้เลย
แม้ฎีกาโจทก์ในตอนแรกระบุว่า นายอำเภอแม่สอด ก็เข้าใจได้ว่า คือ อำเภอแม่สอด ผู้คัดค้านที่ 1 นั้นเอง เนื่องจากไม่สามารถแปลได้ว่า คือ ธ. นายอำเภอแม่สอดในขณะนั้น เนื่องจาก ธ. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะนายอำเภอแม่สอด ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ไม่ใช่ในฐานะส่วนตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคหนึ่ง (เดิม) ถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่จะเรียกให้จังหวัดตาก บุคคลภายนอก ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างยังไม่มีการอายัด ดังนั้นการที่โจทก์มายื่นคำร้องผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้จังหวัดตากปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้มาเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยไม่ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 321 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนที่จะต้องมีการอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัดตาก มีการดำเนินการผ่านทางผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำสั่ง อาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 252 จึงต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนนี้และศาลฎีกาก็มีอำนาจสั่งยกคำร้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18196/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิของผู้จัดการมรดกเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดบังคับคดี การใช้สิทธิก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งออกเงินค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก จึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของกองมรดกที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาด การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่ผู้ร้องจะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อมีการบังคับคดีโดยนำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองก่อน ทั้งบุริมสิทธิของผู้ร้องไม่ปรากฏทางทะเบียน ดังนี้ ผู้ร้องย่อมสามารถร้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนได้ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 318 ถึง 321
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักส่วนได้ใช้แทนในบังคับคดีและการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานรับของโจรต้องแสดงเจตนาและข้อจำกัดการใช้ พ.ร.บ.สัตว์พาหนะเมื่อขาดการแสดงความบริสุทธิ
ฟ้องว่าจำเลยรับของโจรตามกฎหมายอาญามาตรา 321 โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยได้รับไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่ากระบือที่ถูกคนร้ายลักไปนั้นมาจับได้จากจำเลยโดยจำเลยรับไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้าย มิได้บรรยายว่ากระบือนั้นไม่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณและจำเลยแสดงความบริสุทธิไม่ได้ ด้วยดังนี้ แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.สัตว์พาหนะมาตรา 20 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ก็ยกมาตรา 20 ใน พ.ร.บ.นี้มาปรับแก่คดีไม่ได้(คือจำเลย++สืบก่อน) เจ้าพนักงานสอบสวนถามคำให้การจำเลยโดยไม่ได้เตือนจำเลยตามประมวลวิธีพิจารณาอาญามาตรา 134 คำให้การชั้นสอบสวนนั้นฟังเป็นพะยานหลักฐานใช้ยันจำเลยไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่ากระบือที่ถูกคนร้ายลักไปนั้นมาจับได้จากจำเลยโดยจำเลยรับไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้าย มิได้บรรยายว่ากระบือนั้นไม่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณและจำเลยแสดงความบริสุทธิไม่ได้ ด้วยดังนี้ แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.สัตว์พาหนะมาตรา 20 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ก็ยกมาตรา 20 ใน พ.ร.บ.นี้มาปรับแก่คดีไม่ได้(คือจำเลย++สืบก่อน) เจ้าพนักงานสอบสวนถามคำให้การจำเลยโดยไม่ได้เตือนจำเลยตามประมวลวิธีพิจารณาอาญามาตรา 134 คำให้การชั้นสอบสวนนั้นฟังเป็นพะยานหลักฐานใช้ยันจำเลยไม่ได้