พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีจากการโอนอสังหาริมทรัพย์หลังปลดจำนอง แม้หนี้สินยังไม่หมดอายุ
การที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 12 ซึ่งกำหนดให้โจทก์ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์แต่มีภาระผูกพันอยู่ ต้องจัดการให้ที่ดินที่ขอจัดสรรปราศจากภาระผูกพันใดๆ คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจึงจะออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรได้ โจทก์และธนาคารได้ทำบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือให้ที่ดินที่จำนองเป็นประกันพ้นจากการจำนอง และได้จดทะเบียนปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่ธนาคาร แต่การที่ธนาคารปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (2) ดังนั้น การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ให้แก่ น. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีการจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ น. ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีจากการโอนอสังหาริมทรัพย์หลังปลดจำนอง: ต้องมีภาระจำนองคงอยู่
มาตรา 8 ของพ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547 ววรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 และส่วน 3 หมวด 3 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้สถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นที่เป็นสถาบันการเงิน และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้สถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด และวรรคสอง บัญญัติว่า การโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นการกระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 และต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ข้อ 12 ซึ่งกำหนดให้โจทก์ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์แต่มีภาระผูกพันอยู่ ต้องจัดการที่ดินที่ขอจัดสรรปราศจากภาระผูกพันใดๆ คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจึงจะอนุญาตให้ทำการจัดสรรได้ โจทก์และธนาคารได้ทำการบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือให้ที่ดินที่จำนองเป็นประกันพ้นจากการจำนอง และได้จดทะเบียนปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่ธนาคารก็เป็นการที่ธนาคารปลดจำนองด้วยหนังสือ เป็นเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (2) การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ให้แก่ น. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีการจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต้องมีการจำนองค้างอยู่ขณะโอนทรัพย์
คำว่า ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547 มาตรา 8 วรรคสอง หมายความว่า ต้องมีการทำสัญญาจำนองก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 และภาระจำนองยังคงมีอยู่ในระหว่างที่มีการดำเนินการตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และได้จดทะเบียนโอนขายให้ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน
โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 12 ซึ่งกำหนดให้โจทก์ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์แต่มีภาระผูกพันอยู่ ต้องจัดการให้ที่ดินที่ขอจัดสรรปราศจากภาระผูกพันใด ๆ คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจึงจะออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรได้ โจทก์และธนาคารได้ทำบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือให้ที่ดินที่จำนองเป็นประกันพ้นจากการจำนอง และได้จดทะเบียนปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่ธนาคารก็เป็นการที่ธนาคารปลดจำนองให้แก่โจทก์ผู้จำนองด้วยหนังสือ เป็นเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ให้แก่ น. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีการจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ น. ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547
โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 12 ซึ่งกำหนดให้โจทก์ผู้ขอทำการจัดสรรที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์แต่มีภาระผูกพันอยู่ ต้องจัดการให้ที่ดินที่ขอจัดสรรปราศจากภาระผูกพันใด ๆ คณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจึงจะออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรได้ โจทก์และธนาคารได้ทำบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือให้ที่ดินที่จำนองเป็นประกันพ้นจากการจำนอง และได้จดทะเบียนปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่ธนาคารก็เป็นการที่ธนาคารปลดจำนองให้แก่โจทก์ผู้จำนองด้วยหนังสือ เป็นเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) การขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ให้แก่ น. เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีการจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินอยู่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ น. ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3792/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษีอากร: วันหยุดราชการและเหตุสุดวิสัย
โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 โจทก์ต้องอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2547 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์และเป็นวันเข้าพรรษาอันเป็นวันหยุดราชการ และวันที่ 2 สิงหาคม 2547 ซึ่งตรงกับวันจันทร์ก็เป็นวันหยุดราชการชดเชยวันเข้าพรรษา โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10428/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกเงินยืมเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ไม่เข้าข่ายสัญญาตาม ป.รัษฎากร ก็ใช้เป็นพยานได้ หากมีพยานสนับสนุน
บันทึกเงินยืมมีข้อความว่า วันที่ 9 ธันวาคม 2543 ข้าพเจ้า ส. ขอทำบันทึกว่าได้ยืมเงินและรับเงินยืมจาก พ. ไปแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 4,500,000 บาท (สี่ล้านห้าแสนบาท) จริง และขอชำระเงินยืมดังกล่าวคืนแก่ พ. ผู้ให้ยืมเงินต่อไปนี้... เพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน... ซึ่งก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ 4,500,000 บาท ดังความในตอนท้ายที่มีลายมือชื่อของจำเลยว่าผู้ยืมและโจทก์ว่าผู้ให้ยืม บันทึกเงินยืมดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แม้โจทก์จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9244/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานยักยอก: จำเป็นต้องบรรยายการกระทำ 'เบียดบัง' ในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า "จำเลยกับพวกอีกคนหนึ่งได้รับมอบเงิน 116,620 บาท จากผู้เสียหายไว้ในความครอบครองให้โอนเข้าบัญชีของผู้มีชื่อในธนาคาร ขณะที่จำเลยกับพวกครอบครองเงินจำนวนนั้นของผู้เสียหายเป็นของตนเองโดยทุจริต อันเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก" โดยมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบข้อสำคัญของความผิดฐานยักยอกว่า จำเลยกับพวกกระทำการเบียดบังทรัพย์นั้น ซึ่งมีความหมายชี้เฉพาะถึงพฤติการณ์ที่ผู้กระทำความผิดแสดงออกมาให้เห็นแล้วว่าตนกับพวกเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ครอบครองอยู่ แม้โจทก์จะบรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยกับพวกกระทำการเช่นนั้นโดยทุจริต แต่การกระทำโดยทุจริตกับการเบียดบังเป็นองค์ประกอบคนละข้อในความผิดฐานนี้ จึงมีความแตกต่างกันอยู่ในตัว และโดยทั่วไปการทุจริตก็อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องเบียดบัง เพราะทุจริตเป็นแต่เจตนาพิเศษของการกระทำความผิดซึ่งแสดงให้เห็นว่าเบียดบังเอาทรัพย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเท่านั้น ฟ้องของโจทก์บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 ไม่ครบถ้วน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8536/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในเคหสถานและการใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลฎีกายกประเด็นเวลาเกิดเหตุและแก้ไขโทษ
ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยได้ความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน 2548 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2548 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด มีคนร้ายเข้าไปในบ้านอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของ ย. ผู้เสียหาย และลักสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำธนาคาร ก. ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานดังกล่าวไป แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพข้อหาลักทรัพย์ตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืนซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังได้เพียงว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายใดฎีกาก็ตามแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีจึงฟังได้เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา แม้ผู้เสียหายรายอื่นเคยถอนฟ้องคดีเดิมที่มีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นผู้เสียหายเคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ โดยอาศัยเหตุจากการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 199 ให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ของศาลชั้นต้น ได้ขอถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวไป ซึ่งเป็นสิทธิส่วนตัวของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1839/2545 ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะกระทำได้ ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายอื่นที่จะฟ้องจำเลยได้อีก แม้มูลเหตุที่จะฟ้องเป็นเรื่องการโอนที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์รายเดียวกันก็ตาม ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์จำกัดเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินขอบเขต เป็นการละเมิดอำนาจและต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นให้เหตุผลในคำพิพากษาว่า การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยตลอด เป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ มิใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อจะขายอันจะเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 เมื่อครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ แต่ขออุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายว่าเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่ความจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า ไม่ชอบอย่างไร การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายให้จำเลยทั้งห้า แต่ได้ก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ยังไม่ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น และเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายก่อน ทั้งที่อุทธรร์ของจำเลยทั้งห้าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ซิมการ์ดเป็นทรัพย์มีรูปร่าง การรับซิมการ์ดที่ได้จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกงเข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
ตามคำฟ้องของโจทก์ ข้อ 1 บรรยายสรุปได้ว่า มีคนร้ายเอาไปเสียซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหายที่ 1 แล้วนำไปทำปลอมโดยนำภาพถ่ายของบุคคลอื่นมาปิดทับภาพถ่ายผู้เสียหายที่ 1 ในบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าว จากนั้น คนร้ายได้นำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมดังกล่าว ไปหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนได้ซิมการ์ดและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้เสียหายที่ 2 ไป และตามคำฟ้องโจทก์ ข้อ 2 บรรยายว่า ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ซึ่งใช้กระทำผิดโดยใช้กับหมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ดของผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง ทั้งนี้โดยจำเลยรับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง หมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ด ไว้จากคนร้ายโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดลักษณะลักทรัพย์และฉ้อโกง ตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ชัดเจน ทรัพย์แห่งการกระทำผิดฐานรับของโจรอันหนึ่งคือซิมการ์ด ของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างอันเป็นทรัพย์ตามคำจำกัดความตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 137 ไม่ใช่สิทธิการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจรซิมการ์ด