คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 61

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2047/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเก็บรักษาและขนส่งของตกค้างจากขายทอดตลาด, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, และค่าฤชาธรรมเนียม
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 บัญญัติว่า "เงินที่ได้จากการขายตามมาตรา 61 นั้น ให้หักใช้ค่าภาษี ค่าเก็บรักษา ค่าย้ายขน หรือค่าภาระติดพันอย่างอื่นอันค้างชำระแก่กรมศุลกากรเสียก่อน เหลือเท่าใดให้ใช้ค่าภาระติดพันต่าง ๆ อันสมควรจะได้และค้างชำระแก่ตัวแทนของเรือที่นำของเข้ามา เมื่อได้หักเช่นนี้แล้ว ยังมีเงินเหลืออยู่อีกเท่าใด ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของจะได้เรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายทอดตลาด" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเจตนาให้จัดสรรเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างเพื่อชำระหนี้ที่เป็นประโยชน์อันเกี่ยวข้องกับของตกค้างไว้ 4 รายการ รายการที่หนึ่งค่าภาษี รายการที่สองค่าเก็บรักษา รายการที่สามค่าย้ายขน หรือรายการที่สี่ค่าภาระติดพันอย่างอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับของตกค้างเสียก่อน เหลือเท่าใดจึงให้คืนแก่เจ้าของที่ได้เรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายทอดตลาด เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องบริษัทผู้นำเข้าของตกค้าง โดยคดีถึงที่สุดไปแล้วตามคดีหมายเลขแดงที่ 20027/2556 ของศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ค่าภาระการใช้ท่าเรือเก็บรักษาสินค้า และค่าขนย้าย 13,814,377.20 บาท ซึ่งผู้ร้องและจำเลยมิได้คัดค้านเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ค่าเก็บรักษาและค่าย้ายขนตามจำนวนดังกล่าวที่มีสิทธิได้รับจัดสรรเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างก่อนเจ้าของตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 เมื่อเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดของตกค้างหลังจากได้หักใช้ค่าภาษีอันค้างชำระแก่จำเลยแล้ว คงเหลือ 8,834,899 บาท จึงต้องจัดสรรให้แก่โจทก์ทำให้ไม่มีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างที่จะตกได้แก่ผู้ร้องที่อ้างว่าเป็นเจ้าของอีก
กรณีนี้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบเงิน การที่จำเลยปฏิเสธไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย ไม่มีเหตุผลหรือบทบัญญัติตามกฎหมายข้อใดที่กำหนดให้จำกัดความรับผิดของจำเลยไว้เพียงต้นเงินที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา แต่จะถือว่าจำเลยผิดนัดในวันขายทอดตลาดของตกค้างดังกล่าวไม่ได้เพราะโจทก์เพิ่งมีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบเงิน ฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ระบุให้จำเลยส่งมอบเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนี้ ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 แล้วเพิกเฉย ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์นับแต่วันพ้นกำหนด 7 วันดังกล่าว ให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับถัดจากวันที่ 9 กรกฎาคม 2556

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9383/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้า CIF Bangkok และภาระค่าบริการท่าเรือเมื่อผู้ซื้อไม่รับมอบสินค้า
การส่งมอบและรับการส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายและผู้ซื้ออยู่ห่างกันโดยระยะทางต้องมีการขนส่งจากต้นทางมายังปลายทางโดยใช้บริการของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งโดยลักษณะการขนส่งประเภทนี้จะต้องมีการใช้ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือเดินทะเลตามแต่ลักษณะทางกายภาพของสินค้า มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถดำเนินการส่งมอบและรับมอบสินค้ากันให้เสร็จสิ้นตามสัญญาซื้อขายได้ และในขณะเดียวกันการที่สินค้าได้รับการขนส่งจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ยังเกี่ยวพันกับกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากผู้นำเข้าสินค้านั้นมาถึงปลายทาง การที่เรือเดินทางมาถึงท่าเทียบเรือที่โจทก์เป็นผู้บริหารและให้บริการ โดยมีการจัดเตรียมอาคารสถานที่ พื้นที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรไว้รองรับตั้งแต่การเข้าเทียบท่าของเรือ การบรรทุก การขนถ่าย การเคลื่อนย้ายสินค้ามายัง ไปจาก ขึ้น หรือลงจากเรือเดินทะเล จึงเป็นการจัดเตรียมไว้เพื่อให้การดำเนินการส่งมอบและรับการส่งมอบสินค้าที่ต่อเนื่องจากการบริการของเรือเดินทะเลตามสัญญารับขนของทางทะเล ที่เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศให้ดำเนินไปและเสร็จสิ้นลงได้ และขณะเดียวกันก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าที่เข้ามาอยู่ในอารักขาของตน โดยที่ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายเป็น CIF Bangkok ผู้ขายจึงมีหน้าที่จัดหาผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลและชำระค่าระวางล่วงหน้า ดังนั้นจากข้อตกลงและพฤติการณ์ในทางปฏิบัติดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า การที่เรือที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ขนส่งได้บรรทุกสินค้ามาส่งมอบขึ้นที่ท่าเรือที่โจทก์ให้บริการ เป็นการนำมาส่งมอบไว้แก่โจทก์เพื่อให้จำเลยในฐานะผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายหรือผู้นำเข้าตามความหมายของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มารับการส่งมอบไปจากโจทก์ ซึ่งเมื่อพิจารณา ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 41 และมาตรา 10 ทวิ แล้วเห็นได้ว่า โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าจำเลยจะเป็นผู้รับมอบสินค้า และเมื่อจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยนำเอกสารเกี่ยวกับการรับสินค้ามาติดต่อขอรับสินค้าจากโจทก์พร้อมชำระค่าภาระต่าง ๆ แล้วเท่านั้น โจทก์จึงจะส่งมอบสินค้าทั้งหมดให้แก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับคำสั่งโดยชอบให้คืนสินค้าแก่ผู้ใดก็จะคืนให้แก่ผู้นั้น พร้อมกันนั้นผู้นั้นก็จะต้องชำระค่าภาระต่าง ๆ แก่โจทก์ด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงสินค้าเหล่านั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระภาระต่าง ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 670 อันสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 61 และ 63 ซึ่งหมายถึงเมื่อของที่นำเข้ามากลายเป็นของตกค้างเพราะเหตุที่ไม่มีผู้ติดต่อขอรับและเสียค่าภาษี อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจสั่งให้จัดการกับของนั้นได้ เมื่อคำนึงถึงสิทธิหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศที่ผู้ซื้ออาจมีเหตุที่จะปฏิเสธการรับมอบสินค้าได้แล้ว ที่จำเลยยังมิได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อขอรับสินค้าที่โจทก์เก็บรักษาไว้ไปจากการดูแลจากอารักขาของศุลกากร จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาระการให้บริการท่าเรือตามที่โจทก์เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิแม้ไม่ได้เป็นผู้นำเข้าหรือผู้รับตราส่ง
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้นพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2 ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วยดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากขายทอดตลาดของตกค้าง: เจ้าของมีสิทธิ แม้ไม่ใช่ผู้นำเข้า/ผู้รับตราส่ง ภายใน 6 เดือน
การเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างนั้น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 ให้สิทธิแก่เจ้าของเท่านั้นที่จะเรียกร้องเอาคืนได้ และตามมาตรา 2ก็ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผู้นำของเข้า" ให้หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึงเจ้าของด้วย ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าที่ขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดของตกค้างจากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้นำของเข้าหรือผู้รับตราส่งก็ตาม
จำเลยขายทอดตลาดของตกค้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2529 โจทก์ได้มีหนังสือขอคืนเงินที่เหลือเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 จึงเป็นการเรียกร้องเอาภายในหกเดือนนับแต่วันขายตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 63 เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินและกำหนดเวลาหกเดือนตามมาตรา 63 นี้ มิใช่กำหนดอายุความฟ้องร้องที่เจ้าของจะต้องฟ้องเรียกคืนเงินที่เหลือภายในหกเดือนนับแต่วันที่ขาย