พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาท/ผู้จัดการมรดก รับเงินฝากหลังเจ้าของบัญชีเสียชีวิต ธนาคารไม่สามารถกำหนดระเบียบเพิ่มเติมเกินสิทธิได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง บัญญัติว่า หากผู้ฝากทรัพย์ตาย ให้ผู้รับฝากคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ทายาท ประกอบคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้ตาย ระบุว่า "เมื่อธนาคารทราบว่าผู้ฝากถึงแก่กรรมจะงดจ่ายเงินของผู้ฝากทันที ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกของผู้ฝากมีสิทธิที่จะรับเงินฝากคืนโดยนำสมุดคู่ฝากหรือใบรับฝากและหลักฐานต่าง ๆ ที่ธนาคารต้องการมาพิสูจน์จนเป็นที่พอใจแก่ธนาคาร จึงจะจ่ายคืนเงินให้" ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงเป็นทายาทโดยธรรม ทั้งยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลจังหวัดราชบุรีให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายและได้นำหลักฐานอื่น ๆ พิสูจน์ตนแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทั้งทายาทโดยธรรมและผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ส่วนหนังสือระเบียบปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่เจ้าของบัญชีถึงแก่กรรมของจำเลย ที่จำเลยกำหนดให้ผู้จัดการมรดกของเจ้าของบัญชีที่ถึงแก่ความตายซึ่งมีเงินฝากในบัญชีเกิน 50,000 บาท ต้องแสดงหนังสือรับรองว่าคดีที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั้นถึงที่สุดแล้วนั้นเป็นระเบียบภายในของจำเลยที่เพิ่มเติมขึ้นมาเอง เพื่อความรอบคอบในการตรวจสอบของจำเลยเองเท่านั้น ซึ่งเป็นระเบียบที่ขัดต่อสภาพความเป็นจริง กล่าวคือ หากต้องมีหนังสือรับรองคดีที่ถึงที่สุดมาแสดงด้วยเช่นนี้กรณีทายาทโดยธรรมไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ย่อมไม่อาจขอคืนเงินได้เลย อันเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ฝากและทายาทของผู้ฝากโดยไม่จำเป็น อีกทั้งผู้ฝากและทายาทของผู้ฝากไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยอันจะถือว่าผู้ฝากและทายาทของผู้ฝากผูกพันตามคำขอเปิดบัญชีของผู้ตายไม่ได้ ระเบียบปฏิบัติภายในดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ฝากและทายาทของผู้ฝาก การที่จำเลยไม่ยอมคืนเงินฝากของผู้ตายให้แก่โจทก์เป็นการกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยจึงต้องคืนเงิน 2,339,820.42 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2559 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6218/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในบัญชีเงินฝาก: เจ้าของบัญชีมีสิทธิเบิกถอน แม้เงินฝากจะมาจากผู้อื่น ธนาคารต้องคืนเงินให้เจ้าของบัญชี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใด คืนให้แก่ผู้นั้น..." ซึ่งบัญชีเงินฝากพิพาทมีชื่อจำเลยกับ ส. เป็นเจ้าของบัญชี โดยไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยกับ ส. เปิดบัญชีเงินฝากพิพาทดังกล่าวแทนผู้ร้อง และไม่ปรากฏว่าธนาคารผู้รับฝากรู้อยู่ก่อนแล้วว่า จำเลยกับ ส. เป็นตัวแทนของผู้ร้อง ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินในบัญชีเงินฝากพิพาทให้แก่จำเลยกับ ส. ตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยกับ ส. เท่านั้นจึงจะมีสิทธิเบิกถอนเงินออกจากบัญชีพิพาทดังกล่าวได้ ที่ผู้ร้องนำสืบว่า จำเลยกับ ส. นำเงินของผู้ร้องเข้าฝากในบัญชีเงินฝากพิพาทในนามของจำเลยกับ ส. นั้น เมื่อเป็นกรณีการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ก็ได้ ฉะนั้นเงินที่ฝากจึงตกเป็นของธนาคาร เมื่อจำเลยกับ ส. ใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ฝากจากธนาคาร ธนาคารก็ไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ธนาคารคงมีแต่หน้าที่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น จำเลยกับ ส. เป็นผู้ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในนามของจำเลยกับ ส. ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยกับ ส. ซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคารด้วย จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินที่รับฝากและไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดบัญชีเงินฝากพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากในบัญชีชื่อจำเลย ธนาคารคืนเงินให้จำเลย ผู้ฝากย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น... บัญชีเงินฝากชื่อบัญชีเป็นการฝากในนามของจำเลยโดยไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าวแทนผู้ร้อง ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากให้แก่จำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าทั่วไปแทนผู้ร้อง แต่เงินที่ผู้ร้องนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยจึงเป็นกรณีการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึ่งต้องส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่ฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ ฉะนั้นเงินที่ฝากจึงตกเป็นของธนาคาร เมื่อจำเลยใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ฝากจากธนาคาร ธนาคารก็ไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ธนาคารคงมีแต่หน้าที่จะต้องคืนเงินให้ครบถ้วนเท่านั้น จำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในนามของจำเลย ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคารด้วย จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และมาตรา 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินฝาก – ผู้ฝากตามสัญญาเป็นผู้มีสิทธิเบิกถอน แม้มีการนำเงินเข้าบัญชีให้ผู้อื่น
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร ท. ในนามของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากเงินต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ท. ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินฝากที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และ 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8816/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง: การชำระหนี้ตามสัญญาหลักและการคืนสิทธิเรียกร้องเมื่อสัญญาหลักสิ้นสุด
โจทก์กู้เงินจำเลย โดยตกลงทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่ลูกหนี้ผู้เช่าซื้อจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไปให้จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระเงิน และเมื่อภาระผูกพันที่โอนสิทธิเรียกร้องไปเป็นประกันได้รับชดใช้คืนครบถ้วนแล้ว จำเลยต้องโอนสิทธิเรียกร้องคืนให้แก่โจทก์ การที่สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องมีข้อความว่า ให้สัญญานี้ใช้บังคับจนกว่าภาระผูกพันที่มีหลักประกันที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งหมดจะได้รับการชดใช้คืนจนครบถ้วนนั้น จากถ้อยคำในสัญญาที่ว่า "สัญญาอื่นใดระหว่างผู้โอน และผู้รับโอนที่ทำขึ้นไม่ว่าเวลาใด" คำว่า "สัญญาอื่นใดที่ทำขึ้นระหว่างผู้โอนและผู้รับโอน" ซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ระหว่างผู้โอนคือโจทก์ กับผู้รับโอน คือจำเลย จึงน่าจะหมายถึงสัญญากู้เงินที่ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องทำขึ้น ไม่ใช่หมายถึงสัญญาบริหารซึ่งเป็นสัญญาหลายฝ่าย ถ้าหากต้องการให้การโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญาบริหารด้วย ผู้โอนและผู้รับโอนก็น่าจะกำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่า นอกจากสัญญากู้เงินแล้ว ให้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหลักประกันสัญญาบริหารด้วย เพราะหากสัญญาบริหารเป็นสัญญาหลักที่สำคัญที่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาด้วย ก็ควรต้องกำหนดในสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องไว้ให้ชัดเจน การแปลสัญญาว่าสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหลักประกันสัญญาบริหารด้วย ย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น" ฉะนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญากู้ครบถ้วนแล้ว จำเลยต้องโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่โอนไปตามสัญญากลับคืนให้แก่โจทก์
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาฝากเงินกับธนาคาร และย่อมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากตามป.พ.พ. มาตรา 665 แม้จำเลยจะโอนสิทธิและผลประโยชน์ในบัญชีเงินฝาก และสิทธิที่จะได้รับหรือถอนเงินจากบัญชีให้แก่ผู้อื่นแล้วก็ตาม
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาฝากเงินกับธนาคาร และย่อมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากตามป.พ.พ. มาตรา 665 แม้จำเลยจะโอนสิทธิและผลประโยชน์ในบัญชีเงินฝาก และสิทธิที่จะได้รับหรือถอนเงินจากบัญชีให้แก่ผู้อื่นแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากตามสัญญา แม้ผู้ฝากเสียชีวิต สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการคืนเงิน
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า จำเลยมีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์จากบัญชีพิพาทหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ผู้ฝากเงินกับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 บัญชีพิพาทถือมิได้ว่าเป็นบัญชีเงินฝากของ ท. ดังนั้น จำเลยผู้รับฝากเงินจึงไม่มีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์ผู้ฝากเงินจากบัญชีพิพาท เมื่อโจทก์ขอเบิกถอนเงินจำเลยต้องคืนเงินฝากให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ปิดบัญชีพิพาทกับจำเลยย่อมทำให้จำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิในการคืนเงินแก่โจทก์ และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้ได้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 เท่ากับวินิจฉัยในประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากในบัญชีพิพาทหรือไม่ ทั้งเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยในเรื่องมรดกว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากเพื่อคุณประโยชน์ของทายาทอื่นของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเป็นการนอกเหนือไปจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติไว้ว่า ให้ยึดหน่วงได้เฉพาะหนี้อันเป็นคุณประโยชน์กับคู่กรณีเท่านั้นจึงเป็นการผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่โจทก์และจำเลยโต้แย้งกัน รวมทั้งก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องเอกสารการเปิดบัญชีเงินฝากประจำของ ท. ที่ตามคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่ได้โต้เถียงกันให้เห็นเป็นอย่างอื่นอีกด้วยว่ามีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และเมื่อปรากฏว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยต่อไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเงินจากเช็คที่มีลายมือชื่อไม่ตรงกับข้อมูล ทำให้ลูกค้าเสียหาย ต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด
ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับลายมือชื่อโจทก์ในตัวอย่างลายมือชื่อในสมุดเงินฝากและคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยชัดแจ้ง เพียงแต่คล้ายกันเท่านั้น ซึ่งโดยปกติถ้าเป็นลูกค้าทั่วไป พนักงานของจำเลยที่ 1 ก็จะไม่จ่ายเงินให้หากลายมือชื่อไม่เหมือนกัน แต่ที่จ่ายให้เพราะจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างทำงานอยู่ในสำนักงานของจำเลยที่ 1 สาขาสนามจันทร์ด้วยกัน จึงเชื่อใจอนุโลมและยืดหยุ่นจ่ายให้ไป โดยมิได้ใส่ใจให้ความสำคัญแก่ลายมือชื่อผู้ถอนเงินว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใบถอนเงินลงชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินเอง แต่ไม่มีตัวโจทก์มาพนักงานของจำเลยที่ 1 ก็ยังจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแทน พฤติการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 2หากพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพธนาคารแล้ว ก็ย่อมจะทราบได้ว่าลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินเป็นลายมือชื่อปลอม และจำเลยที่ 2 ก็จะไม่สามารถถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้
แม้ในปกหน้าด้านในของสมุดเงินฝาก จะมีข้อความให้ผู้ฝากเงินเป็นผู้เก็บรักษาสมุดเงินฝากเองก็ตาม ก็เป็นเพียงคำแนะนำมิใช่ข้อตกลงในการฝากเงิน ส่วนในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากนั้นก็ไม่ได้มีเงื่อนไขโดยชัดแจ้งว่าผู้ฝากหรือโจทก์จะต้องเก็บรักษาสมุดเงินฝากไว้เอง คงมีแต่คำแนะนำว่าควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย
แม้ในปกหน้าด้านในของสมุดเงินฝาก จะมีข้อความให้ผู้ฝากเงินเป็นผู้เก็บรักษาสมุดเงินฝากเองก็ตาม ก็เป็นเพียงคำแนะนำมิใช่ข้อตกลงในการฝากเงิน ส่วนในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากนั้นก็ไม่ได้มีเงื่อนไขโดยชัดแจ้งว่าผู้ฝากหรือโจทก์จะต้องเก็บรักษาสมุดเงินฝากไว้เอง คงมีแต่คำแนะนำว่าควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผลโดยตรงจากการที่โจทก์ฝากสมุดเงินฝากไว้กับจำเลยที่ 2 การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อในการอนุมัติถอนเงินจากบัญชีลูกค้า และพนักงานฉ้อโกง ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เพื่อเป็นผลงาน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบหาลูกค้าให้ ธนาคารจำเลยที่ 1 ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมกับขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็นถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อของใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฝากทรัพย์: ใช้ทั่วไป 10 ปี หากไม่มีกำหนดอายุความ
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฎตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,123.84 บาทโจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาฝากทรัพย์: การผิดสัญญาจากปฏิเสธการจ่ายเงินตามสมุดเงินฝาก ไม่เข้าอายุความ 10 ปี
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฏตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,124.84 บาท โจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529 แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ