คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 665

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินโดยเสน่หาและสิทธิในบัญชีเงินฝาก ธนาคารไม่มีอำนาจโอนเงินคืนโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์และ ช.ชาวญี่ปุ่นอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อมาช.ส่งเงินจำนวนสิบล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่นมาที่จังหวัดพะเยาโดยโอนเงินผ่านธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยา ระบุชื่อ ช.เป็นผู้รับเงินเพราะ ช. ได้เดินทางตามมาพบโจทก์ด้วย ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยาได้โอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เช่นที่เคยปฏิบัติ รุ่งขึ้นโจทก์กับ ช. ไปที่ธนาคารจำเลยที่ 1 โจทก์ขอถอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท จากบัญชีสะสมทรัพย์แล้วฝากเงินดังกล่าวในบัญชีเงินฝากประเภทประจำซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีตามคำชักชวนของพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการที่ ช. อยู่ด้วยกับโจทก์ขณะโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์แล้วฝากในบัญชีเงินฝากประเภทประจำ เป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ช.ได้รับเงินที่ส่งมาแล้วและได้ส่งมอบให้โจทก์ เป็นผลให้เงินจำนวนสิบล้านเยนตกเป็นของโจทก์โดยการให้โดยเสน่หา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจโอนเงินในบัญชีเงินฝากประเภทประจำดังกล่าวของโจทก์คืนให้แก่ ช. โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบเงินโดยเสน่หาและสิทธิในบัญชีเงินฝาก การโอนเงินคืนโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์และ ช.ชาวญี่ปุ่นอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อมาช.ส่งเงินจำนวนสิบล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่นมาที่จังหวัดพะเยาโดยโอนเงินผ่านธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยา ระบุชื่อช.เป็นผู้รับเงินเพราะช. ได้เดินทางตามมาพบโจทก์ด้วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยาได้โอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เช่นที่เคยปฏิบัติ รุ่งขึ้นโจทก์กับ ช. ไปที่ธนาคารจำเลยที่ 1 โจทก์ขอถอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท จากบัญชีสะสมทรัพย์แล้วฝากเงินดังกล่าวในบัญชีเงินฝากประเภทประจำซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีตามคำชักชวนของพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการที่ ช. อยู่ด้วยกับโจทก์ขณะโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์แล้วฝากในบัญชีเงินฝากประเภทประจำ เป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ช. ได้รับเงินที่ส่งมาแล้วและได้ส่งมอบให้โจทก์ เป็นผลให้เงินจำนวนสิบล้านเยนตกเป็นของโจทก์โดยการให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจโอนเงินในบัญชีเงินฝากประเภทประจำดังกล่าวของโจทก์คืนให้แก่ ช. โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารรับรองเช็คเท็จ ทำให้โจทก์เสียหายจากการเปิดบัญชีและโอนเงินผิดพลาด
โจทก์กับ ส. ตกลงซื้อขายพลอยกันที่ธนาคารจำเลยที่1 สาขาขลุงต่อหน้าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารแล้วโจทก์รับเช็คที่ ส. สั่งจ่ายเป็นค่าซื้อพลอยรวมเป็นเงิน 450,000 บาท เช็คดังกล่าวเป็นเช็คจำเลยที่1 สาขาขลุง และลงวันที่สั่งจ่ายในวันที่ซื้อขายกันนั้นจำเลยที่ 2 รับรองว่าเช็คดังกล่าวนำเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันได้เพราะ ส. มีเงินอยู่ในบัญชีพอที่จะใช้เงินตามเช็ค แม้ความจริง ส. จะไม่มีเงินอยู่ในบัญชีแต่จำเลยที่ 2 มีอำนาจผ่านเงินทางบัญชีให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารไปก่อนได้ โจทก์จึงมอบเช็คดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และในวันเดียวกันนั้นโจทก์ใช้เช็คสั่งจ่ายเงิน 400,000 บาท จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเข้าเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เมื่อเช็คดังกล่าวจำเลยสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าเรียกเก็บเงินไม่ได้ และชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินทันทีในวันนั้นแต่จำเลยไม่ได้ปฏิเสธการจ่ายถือได้ว่าเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินได้ ดังนั้น การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์จึงสมบูรณ์ และการที่โจทก์ใช้เช็คสั่งจ่ายเงิน 400,000 บาท จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเข้าเปิดบัญชีเงินฝากประจำก็เป็นการสมบูรณ์ด้วย เมื่อจำเลยขีดฆ่ารายการที่โจทก์นำเช็คซึ่ง ส. ชำระหนี้ค่าพลอยเข้าบัญชี ออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และโอนเงินโจทก์จากบัญชีเงินฝากประจำไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันโดยพลการ เป็นการไม่ชอบ เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินตามเช็คดังกล่าวไปรวม 450,000 บาทจำเลยต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารรับรองเช็คเท็จทำให้โจทก์เปิดบัญชีได้ และขัดขวางการถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก ชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์กับ ส. ตกลงซื้อขายพลอยกันที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาขลุงต่อหน้าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคาร แล้วโจทก์รับเช็คที่ ส. สั่งจ่ายเป็นค่าซื้อพลอยรวมเป็นเงิน 450,000 บาทเช็คดังกล่าวเป็นเช็คจำเลยที่ 1 สาขาขลุง และลงวันที่สั่งจ่ายในวันที่ซื้อขายกันนั้น จำเลยที่ 2 รับรองว่าเช็คดังกล่าวนำเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันได้เพราะ ส. มีเงินอยู่ในบัญชีพอที่จะใช้เงินตามเช็ค แม้ความจริง ส. จะไม่มีเงินอยู่ในบัญชี แต่จำเลยที่ 2 มีอำนาจผ่านเงินทางบัญชีให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารไปก่อนได้ โจทก์จึงมอบเช็คดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 เพื่อเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และในวันเดียวกันนั้นโจทก์ใช้เช็คสั่งจ่ายเงิน 400,000 บาท จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเข้าเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เมื่อเช็คดังกล่าวจำเลยสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่าเรียกเก็บเงินไม่ได้ และชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินทันทีในวันนั้นแต่จำเลยไม่ได้ปฏิเสธการจ่าย ถือได้ว่าเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินได้ ดังนั้น การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์จึงสมบูรณ์ และการที่โจทก์ใช้เช็คสั่งจ่ายเงิน 400,000 บาท จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเข้าเปิดบัญชีเงินฝากประจำก็เป็นการสมบูรณ์ด้วย
เมื่อจำเลยขีดฆ่ารายการที่โจทก์นำเช็คซึ่ง ส. ชำระหนี้ค่าพลอยเข้าบัญชี ออกจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และโอนเงินโจทก์จากบัญชีเงินฝากประจำไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันโดยพลการ เป็นการไม่ชอบ เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินตามเช็คดังกล่าวไปรวม 450,000 บาทจำเลยต้องรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สูญหาย, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิ
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากทรัพย์โดยปริยาย ความรับผิดของผู้รับฝาก และอายุความของคดี
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2 มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบัญชีเงินฝาก: เงินฝากเป็นของใคร, อำนาจทำสัญญาค้ำประกัน, สิทธิเรียกร้องเงินคืน
ชื่อเจ้าของบัญชีและเงินตามสมุดคู่ฝากเป็นของ ว. มารดาโจทก์ ว. นำเงินดังกล่าวไปทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของ อ. ในวันเดียวกับที่เปิดบัญชีเงินฝาก จึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ ละ ว. ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว แม้ ว. จะยอมให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากตามสมุดคู่ฝากร่วมด้วยในภายหลังก็ตามเมื่อ อ. ยังไม่ได้ชำระเงินกู้ให้ธนาคารจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินในบัญชีเงินฝากตามสมุดคู่ฝากแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึง เวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝาก จะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลของถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1),245,274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็น บุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทหลังผู้ฝากเสียชีวิต โดยต้องใช้ความระมัดระวังและไม่ละเมิดสิทธิ
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึง เวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝาก จะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกันแต่เมื่อผู้ฝากเงินตาย ธนาคาร มีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลของถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้นไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1),245,274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็น บุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2511 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากให้ทายาทเมื่อผู้ฝากเสียชีวิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 673 ผู้ฝากเงินจะถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ไม่ได้ และธนาคารผู้รับฝากจะส่งคืนเงินก่อนถึงเวลานั้นก็ไม่ได้ดุจกัน แต่เมื่อผู้ฝากเงินตาม ธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 665 วรรค 2
ธนาคารมีหน้าที่จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการอาชีวะของธนาคารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659
ผู้จัดการมรดกของผู้ฝากเงินตามคำพิพากษาของศาลขอถอนเงินของผู้ฝากคืนจากธนาคาร ธนาคารขอผัดคืนเงินนั้นใน 1 เดือน เพื่อให้คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกขาดอายุอุทธรณ์ โดยธนาคารมีเงินพร้อมที่จะคืนให้ ถือได้ว่าธนาคารได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 เป็นการใช้ความระมัดระวังตามหน้าที่ สมควรแก่กรณีโดยสุจริต ไม่ได้โต้แย้งสิทธิของผู้จัดการมรดก จึงไม่เป็นการผิดสัญญาหรือเป็นการกระทำละเมิดแก่ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาของศาลมีอำนาจจัดการมรดกได้ตามกฎหมาย คำพิพากษาตั้งผู้จัดการมรดกมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น ไม่ใช่คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล ไม่เข้าอยู่ในข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (1) (2) และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (1), 245, 274 จึงไม่ผูกพันธนาคารผู้รับฝากเงินของเจ้ามรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
of 3