คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1400

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมยังคงอยู่แม้เจ้าของที่ดินย้ายออก หากมีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องโดยผู้อื่น
โจทก์ได้ภารจำยอมในทางเดินพิพาทในที่ดินจำเลย แม้ต่อมาโจทก์ได้ย้ายไปจากที่ดินของโจทก์กว่า 10 ปีแล้ว แต่เมื่อยังมีผู้อื่นเช่าที่ของโจทก์ทำโรงงานอยู่ผู้เช่ายังคงใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของตนสืบต่อมาโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จึงเท่ากับโจทก์ยังคงใช้และได้รับประโยชน์ในทางพิพาท หาเป็นการเลิกใช้หรือหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางจำเป็นและการได้สิทธิภารจำยอม: การใช้โดยวิสาสะไม่ถือเป็นการได้สิทธิ
การที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางเดินล้ำเข้าไปในที่พิพาทก็ดีและใช้รถยนต์ผ่านเข้าไปในที่พิพาทก็ดี ก็โดยอาศัยความเป็นเพื่อนบ้านและความเกี่ยวพันเป็นญาติกันจึงเป็นการใช้โดยถือวิสาสะ ไม่ถือว่าเป็นการใช้โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภารจำยอม ที่พิพาทจึงไม่ตกเป็นภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมสิ้นสุดลงเมื่อถูกปิดกั้นการใช้ประโยชน์นานเกินกว่า 15 ปี แม้จะกลับมาใช้ประโยชน์อีกก็ไม่ฟื้นคืนสภาพ
ทางซึ่งเคยตกเป็นภารจำยอมขนาดเกวียนเดินผ่านได้ แต่เจ้าของที่ปลูกกั้นไม่ให้เกวียนเดินมาช้านานถึง 15-16ปีย่อมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399คงเหลือแต่ภารจำยอมเฉพาะคนเดินเท่านั้น เมื่อสภาพแห่งภารจำยอมที่จะใช้เกวียนสิ้นไปแล้ว แม้จะกลับใช้เกวียนใหม่อีกเพียง 3 ปี ก็ไม่ทำให้ภารจำยอมกลับมีขึ้นอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 หรือ 1401และการวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่า ภารจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความนี้ เป็นอายุความได้สิทธิและเสียสิทธิ ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี ศาลจึงยกขึ้นเป็นประเด็นวินิจฉัยเองได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 193

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมสิ้นสุดลงเมื่อมีการหยุดใช้ทางเป็นระยะเวลานาน และขนาดทางไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์เดิม
ทางซึ่งเคยตกเป็นภาระจำยอมขนาดเกวียนเดินผ่านได้แต่เจ้าของที่ปลูกกั้นไม่ให้เกวียนเดินมาช้านานถึง 15-16 ปี ย่อมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 คงเหลือแต่ภาระจำยอมเฉพาะคนเดินเท่านั้น เมื่อสภาพแห่งภาระจำยอมที่จะใช้เกวียนสิ้นไปแล้ว แม้จะกลับใช้เกวียนใหม่อีกเพียง 3 ปี ก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมกลับมีขึ้นอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 หรือ 1401
และการวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่า ภาระจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความนี้เป็นอายุความได้สิทธิและเสียสิทธิ ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี ศาลจึงยกขึ้นเป็นประเด็นวินิจฉัยเองได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 193

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำถนนคอนกรีตบนทางภารจำยอมไม่ถือเป็นการเพิ่มภารจำยอม หรือสละสิทธิ หากยังคงสภาพเดิม และภารจำยอมยังไม่สิ้นสุด
การทำถนนคอนกรีตบนทางภารจำยอมไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2503)
จดทะเบียนภารจำยอมว่าเป็นทางเดินของผู้ที่อยู่ในโฉนดซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของ แต่แล้วใช้ทางนี้เป็นทางรถด้วยก็ดี หรือมีคนอื่นซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดของจำเลยได้ใช้เป็นทางเดินด้วยก็ดี ก็ยังไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม
เมื่อการจดทะเบียนภารจำยอมยังคงอยู่แม้ผู้ใช้ทางนั้นจะอ้างว่าเป็นทางสาธารณ ก็ไม่ถือว่าสละสิทธิภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่เพิ่มขึ้นจากการทำถนน หรือใช้ทางร่วม แม้จะอ้างเป็นทางสาธารณะ การใช้ทางของเจ้าของที่ดินติดกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การทำถนนคอนกรีตบนทางภารจำยอมไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2503)
่จดทะเบียนภารจำยอมว่าเป็นทางเดิน ของผู้ที่อยู่ในโฉนดซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของ แต่แล้วใช้ทางนี้เป็นทางรถด้วยก็ดี หรือมีคนอื่นซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดของจำเลยได้ใช้เป็นทางเดินด้วยก็ดี ก็ยังไม่เป็นการเพิ่มภารจำยอม
เมื่อการจดทะเบียนภารจำยอมยังคงอยู่แม้ผู้ใช้ทางนั้น จะอ้างว่าเป็นทางสาธารณก็ไม่ถือว่าสละสิทธิภารจำยอม (ย่อ ก.ม. มาตรา 140 แห่ง ป.วิ.พ. อยู่ตอนท้าย)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมยังคงมีผลแม้มีทางอื่น หากทางอื่นไม่สะดวกเท่าเดิม
ทางอันเป็นภารจำยอมนั้นเมื่อยังถูกใช้เป็นทางเดินอยู่ แม้จะมีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้ก็ดี เมื่อปรากฏว่า ทางใหม่นี้ คับแคบไม่สะดวกแก่การไปมา เท่าทางภารจำยอมแล้ว ทางภารจำยอมนั้น จึงยังต้องเป็นทางภารจำยอมอยู่ หาใช่หมดสิ้นไปตามมาตรา 1400 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเสื่อมประโยชน์ – การกั้นทางทำให้ใช้สิทธิไม่ได้ – การฟ้องคดีซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินคดีเรื่องเดิมนั้นต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางข้อซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ส่วน มาตรา 148 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเรื่องใด ศาลตัดสินครั้งหนึ่งแล้ว มาฟ้องใหม่ซ้ำอีกไม่ได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องแล้วครั้งหนึ่ง ศาลตัดสินแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้อีก ไม่ใช่เรื่องศาลดำเนินคดีเดิม กรณีไม่เข้า มาตรา 144 คงเป็นปัญหาตาม มาตรา 148 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าภาระจำยอมที่โจทก์อ้างปราศจากรากฐานตามกฎหมายบังคับจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ยืนในข้อที่ยกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นภารยะทรัพย์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยกั้นทางรายนี้ให้แคบลงได้หรือไม่ ดังนี้ ต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคำพิพากษาอันถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีใหม่นี้โดยฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินด้วยได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 148
โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม 1401 อันอาจใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์เข้าออกตามทางผ่านที่ดินของจำเลยแล้ว จำเลยกั้นทางให้แคบลงจนใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์ไม่ได้ ย่อมเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมเสื่อมไปขัดต่อ มาตรา 1390 แม้โจทก์จะยังใช้รถจักรยาน 3 ล้อเข้าออกได้หรือโจทก์ไม่ได้เอาเกวียนเข้าเก็บในที่ดินของโจทก์ก็ไม่เป็นข้อแก้ตัว
โจทก์มีทางเอาเกวียนและรถเข้าออกทางอื่นได้ แต่ทางนั้นไม่ใช่ทางสาธารณะและโจทก์ยังไม่มีสิทธิเหนือทางนั้นอาจถูกสั่งปิดเสียเมื่อใดก็ได้ ไม่เรียกว่าทางพิพาทหมดประโยชน์แก่โจทก์อันจะทำให้ภาระจำยอมหมดไปตาม มาตรา 1400

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมทางอายุความและการลดทอนประโยชน์ของภาระจำยอม การฟ้องคดีซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง ม.144, 148
ป.วิ.แพ่ง ม.144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินคดีเรื่องเดิมนั้นต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางข้อ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ส่วน ม.148 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเรื่องใด ศาลตัดสินครั้งหนึ่แล้ว มาฟ้องใหม่ซ้ำอีกไม่ได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องแล้วครั้งหนึ่ง ศาล 144,148 ตัดสินแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้อีก ไม่ใช่เรื่องศาลดำเนินคดีเดิม กรณีไม่เข้า ม.144 คงเป็นปัญหาตาม ม.148 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอ้างว่าภาระจำยอมที่โจทก์อ้างปราศจากรากฐานตาม ก.ม.บังคับจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ยืนในข้อที่ยกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นภาระ+ทรัพย์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยกั้นทางรายนี้ให้แคบลงได้หรือไม่ ดังนี้ ต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคำพิพากษาอันถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีใหม่นี้โดยฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินด้วยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ม.148
โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.ม.1401 อันอาจใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์เข้าออกตามทางผ่านที่ดินของจำเลยแล้ว จำเลยกั้นทางให้แคบลงจนใช้ล้อหรือเกวียนและรถยนต์ไม่ได้ย่อมเป็นการทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมเสื่อมไป ขัดต่อ ม.1390 แม้โจทก์จะยังใช้รถจักรยาน 3 ล้อเข้าออกได้หรือโจทก์ไม่ได้เอาเกวียนเข้าเก็บในที่ดินของโจทก์ก็ไม่เป็นข้อแก้ตัว
โจทก์มีทางเอาเกวียนและรถเจ้าออกทางอื่นได้ แต่ทางนั้นไม่ใช่ทางสาธารณะและโจทก์ยังไม่มีสิทธิเหนือทางนั้น อาจถูกสั่งปิดเสียเมื่อใดก็ได้ ไม่เรียกว่าทางพิพาทหมดประโยชน์แก่โจทก์อันจะทำให้ภาระจำยอมหมดไปตาม ม.1400

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งต้องมีสิทธิเรียกร้องชัดเจน การปฏิเสธภาระจำยอมไม่อาจฟ้องแย้งขอให้หลุดพ้นได้
การฟ้องหรือฟ้องแย้ง ผู้ฟ้องจะต้องแสดงว่า ตนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์หรือหน้าที่หรือมีข้อเท็จจริงที่จะใช้สิทธิ์ทางศาลได้ หากเสนอขึ้นมาโดยกล่าวว่าไม่มีกรณีเช่นว่านั้นและว่าถ้าหากศาลเห็นว่ามี ก็พิพากษาให้ตนชนะดังนี้ ไม่เป็นฟ้องที่ควรรับไว้พิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดภาระจำยอม จำเลยต่อสู้ว่าไม่มีภาระจำยอม และฟ้องแย้งว่าหากศาลฟังว่ามี ก็ขอให้ปลดภาระจำยอม โดยให้โจทก์ได้ค่าทดแทน ดังนี้ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
of 4