พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดา แม้เกิดจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) นั้น ต้องถือความเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามความเป็นจริง ผู้ร้องเป็นบุตรนาง น. ผู้ตายเป็นบุตรนาง ท. โดยมีนาย ท. เป็นบิดาเดียวกัน แม้ผู้ร้องและผู้ตายเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายของนาย ท. ก็ถือว่าผู้ร้องและผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงเป็นทายาท โดยธรรม ตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องชำระหนี้ครั้งก่อน ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า วันที่ 6 และ 21 พฤศจิกายน 2541 จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์80,000 บาท และ 104,000 บาท ตามลำดับ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเคยกู้เงินจากโจทก์ไปสองครั้งครั้งแรกประมาณก่อนเดือนกรกฎาคม 2540 จำนวน 50,000 บาท ซึ่งจำเลยสำคัญผิดชำระคืนเกินไปกว่าที่กู้ 25,000 บาท อีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2540 จำนวน 80,000 บาทซึ่งจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อโจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้อง และทวงถามถึงเงินกู้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวจำเลยสำคัญผิดว่ายังชำระให้ไม่ครบจึงชำระเงินไปอีกหลายครั้งรวมเป็นเงิน 24,000 บาท ขอให้บังคับโจทก์คืนเงินจำเลยชำระเกินไป 25,000 บาท และ 24,000 บาท แก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับเงินทั้งสองจำนวนเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เกี่ยวกับการชำระหนี้เงินกู้ครั้งอื่นไม่เกี่ยวกับสัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องจึงถือว่าเป็นฟ้องแย้งในเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม หากกล่าวอ้างเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกัน ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เงินที่กู้ยืม จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินที่จำเลยชำระเกินจากการชำระหนี้ เงินกู้ครั้งก่อนไม่ใช่ครั้งนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนทรัพย์สินหนีหนี้: การโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทราบอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ร่วมใช้สิทธิเรียกร้องของตนในทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา โดยทำสัญญาและจดทะเบียนการให้ภายหลังจากทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกับที่ดินอีกสองแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ร่วม พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อมิให้โจทก์ร่วมเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าป่วยการของข้าราชการการเมืองมิใช่เงินเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จึงบังคับคดีได้
เจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของข้าราชการ: เงินค่าป่วยการที่ไม่ใช่เงินเดือนและไม่อยู่ในข่ายได้รับการคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
เจตนารมย์ของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของเทศมนตรี: เงินค่าป่วยการไม่ใช่เงินเดือน จึงบังคับคดีได้
ค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งที่จำเลยได้รับจากเทศบาลนคร ซึ่งให้เหมาจ่ายเป็นรายเดือน โดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ และรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา มีลักษณะไม่คงที่อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ เงินดังกล่าวมิใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) แม้ตำแหน่งเทศมนตรีที่จำเลยดำรงอยู่จะถือว่าเป็นข้าราชการการเมือง แต่เมื่อเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งมิได้อยู่ในความหมายหรือคำว่า "เงินเดือน"ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่เงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดทำให้หนี้บางส่วนเป็นโมฆะ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เช็คพิพาทที่จำเลยออกให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมมีมูลหนี้ที่มีอยู่จริงเพียง 200,000 บาท ส่วนอีก 100,000 บาท เป็นหนี้ที่โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อเดือน อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย ทั้งคำฟ้องโจทก์ก็มิได้บรรยายว่าจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเท่าใด จำนวนเงินกู้ดังกล่าวจึงไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อจำนวนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับมิได้ ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คพิพาทระบุจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่เพียง 200,000 บาท จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ ห้ามตามกฎหมาย แม้ทรัพย์สินเปลี่ยนไป เพื่อป้องกันการใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีก่อน โดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแต่ยังไม่พอชำระหนี้ และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วเนื่องจากยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ทั้งทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดไว้อาจขายทอดตลาดได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ก็ได้ จึงมีเหตุที่ยังไม่ควรให้ ล้มละลาย การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกในเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แม้คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากคดีก่อน โดยโจทก์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ ชำระหนี้ก็ตาม
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ห้ามฟ้องซ้ำหากศาลเคยยกฟ้องด้วยเหตุผลที่ยังคงมีผลอยู่ แม้ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีก่อนโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแต่ยังไม่พอชำระหนี้และจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีกอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว เนื่องจากยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ทั้งทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดได้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 304,500 บาท ซึ่งอาจขายทอดตลาดได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ก็ได้ จึงมีเหตุที่ยังไม่ควรให้ล้มละลาย โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกในเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แม้คดีนี้ โจทก์อ้างว่ามีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากคดีก่อน โดยโจทก์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินเพียง 42,900 บาท และโจทก์ได้รับชำระหนี้เพียง 36,479 บาทส่วนคดีก่อนยังมิได้ขายทอดตลาดก็ตาม