พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การปรับบทกฎหมาย, และข้อจำกัดในการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงและดุลพินิจ
พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยในข้อหาว่าร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งเป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องผัดฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดจึงชอบแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 อันเป็นบทเบากว่าและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงก็ตาม เพราะเป็นกรณีที่ศาลลงโทษโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ซึ่งศาลมีอำนาจกระทำได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับอัตรายแก่กายตามมาตรา 295 ก็เป็นการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั่นเอง ซึ่งเป็นบทเบากว่า ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้ หาเกินคำขอไม่
ข้อเท็จจริงที่ว่าการสอบสวนล่าช้าไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่เกิดขึ้น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ลงโทษในสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นฎีกาเกี่ยวกับเรื่องดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับอัตรายแก่กายตามมาตรา 295 ก็เป็นการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายนั่นเอง ซึ่งเป็นบทเบากว่า ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้ หาเกินคำขอไม่
ข้อเท็จจริงที่ว่าการสอบสวนล่าช้าไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่เกิดขึ้น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
ฎีกาจำเลยที่ขอให้ลงโทษในสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นฎีกาเกี่ยวกับเรื่องดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานบอกเล่า และการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลชั้นต้น-ศาลอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ไม่ต้องห้าม แต่มีน้ำหนักน้อยต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้ การที่จะรับฟังพยานหลักฐานใดเป็นการเพียงพอลงโทษได้หรือไม่เป็นดุลยพินิจของศาล
จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ความว่า จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการจ้าง วาน ใช้ ไม่ใช่จำเลยร่วมเป็นตัวการด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองกลับฟังว่าจำเลยเป็นตัวการ ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ เป็นฎีกาเพื่อให้ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะการปรับบทลงโทษโดยระบุวรรคของมาตราที่ลงโทษให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ความว่า จำเลยก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการจ้าง วาน ใช้ ไม่ใช่จำเลยร่วมเป็นตัวการด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองกลับฟังว่าจำเลยเป็นตัวการ ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ เป็นฎีกาเพื่อให้ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะการปรับบทลงโทษโดยระบุวรรคของมาตราที่ลงโทษให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสาร (เช็ค) หลายกรรม การเรียงกระทงและข้อยกเว้นการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ให้เรียงกระทงลงโทษ 10 กระทง กระทงละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารเป็นผู้อาวัลลงในเช็ค แม้เช็คนั้นมีรายการครบถ้วนตามกฎหมายแล้วก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารที่เป็นตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 (4)
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารที่ด้านหลังเช็คทั้งสอบฉบับในคราวเดียวกัน การปลอมลายมือชื่อดังกล่าวในแต่ละฉบับเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแยกออกจากกันได้ทั้งจำเลยกระทำโดยมีเจตนานำเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมนั้นไปหลอกขายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งจำเลยก็สามารถหลอกขายเช็คให้แก่บุคคลอื่นเป็นรายฉบับไป จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันจำนวน 10 กระทง
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารเป็นผู้อาวัลลงในเช็ค แม้เช็คนั้นมีรายการครบถ้วนตามกฎหมายแล้วก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารที่เป็นตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 (4)
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารที่ด้านหลังเช็คทั้งสอบฉบับในคราวเดียวกัน การปลอมลายมือชื่อดังกล่าวในแต่ละฉบับเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแยกออกจากกันได้ทั้งจำเลยกระทำโดยมีเจตนานำเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมนั้นไปหลอกขายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งจำเลยก็สามารถหลอกขายเช็คให้แก่บุคคลอื่นเป็นรายฉบับไป จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันจำนวน 10 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงดุลพินิจศาลในข้อเท็จจริง และการขอรอการลงโทษในความผิดที่มีโทษจำคุกเกินห้าปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 265 ให้จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า คำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ม.218 วรรคแรก ปัญหาข้อเท็จจริง-การแก้ไขโทษเล็กน้อย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264265 ให้จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า คำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และอำนาจฟ้องในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความผิดอันยอมความได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 364, 365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 จำคุก 3 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 362 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยโดยเพิ่มบทมาตรา 365 เป็นบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดเพิ่มขึ้นอีกบทหนึ่ง และคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี สิทธิฎีกาของคู่ความจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของห้องแถวพิพาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท ฎีกาของจำเลยเท่ากับโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ภายในเวลา 3 เดือนคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 จึงขาดอายุความนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขั้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้แม้โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ได้อยู่แล้ว การวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของห้องแถวพิพาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท ฎีกาของจำเลยเท่ากับโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ภายในเวลา 3 เดือนคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 จึงขาดอายุความนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขั้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้แม้โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ได้อยู่แล้ว การวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาอาญา: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว และการยกอายุความที่ไม่เคยว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ถือเป็นการฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,364,365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 จำคุก 3 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 362 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยโดยเพิ่มบทมาตรา 365 เป็นบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดเพิ่มขึ้นอีกบทหนึ่ง และคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีสิทธิฎีกาของคู่ความจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของห้องแถวพิพาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นคดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท ฎีกาของจำเลยเท่ากับโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ภายในเวลา 3 เดือนคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 จึงขาดอายุความนั้นจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขั้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้แม้โจทก์ร่วมมิได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ได้อยู่แล้ว การวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การแก้ไขโทษเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 กระทง กระทงละ 3 ปีรวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยระบุวรรคของบทกฎหมายที่ยกขึ้นปรับลงโทษจำเลยเสียให้ชัดเจน และแก้โทษเป็นจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมเป็นจำคุก 4 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย โดยยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
ฎีกาจำเลยที่ว่า พยานโจทก์มีพิรุธ ขัดแย้งกันเองฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาจำเลยที่ว่า พยานโจทก์มีพิรุธ ขัดแย้งกันเองฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 กระทง กระทงละ 3 ปีรวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดย ระบุวรรคของบทกฎหมายที่ยกขึ้นปรับลงโทษจำเลยเสียให้ชัดเจน และแก้ โทษเป็นจำคุกกระทงละ2 ปี รวมเป็นจำคุก 4 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย โดย ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก ฎีกาจำเลยที่ว่า พยานโจทก์มีพิรุธ ขัดแย้งกันเองฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากแก้ไขเล็กน้อยในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลอุทธรณ์พิเคราะห์พยานหลักฐานในสำนวน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยรวม 4 กระทง กระทงที่ลงโทษสูงสุดจำคุก 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เกี่ยวกับบทกฎหมายที่ลงโทษโดยระบุวรรคให้ถูกต้องและไม่ได้ริบอาวุธปืนมีทะเบียนของกลาง จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า ก่อนฟ้องมิได้มีการสอบสวนจำเลยถ้อยคำสำนวนในคดีและการนำสืบของโจทก์จะเห็นได้ว่าจำเลยมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด คำพยานโจทก์ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาลงโทษจำเลยโดยมิได้อ้างว่าข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังกล่าวคือข้อเท็จจริงใด และศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าศาลอุทธรณ์พิเคราะห์พยานหลักฐานในสำนวนทั้งสิ้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า ก่อนฟ้องมิได้มีการสอบสวนจำเลยถ้อยคำสำนวนในคดีและการนำสืบของโจทก์จะเห็นได้ว่าจำเลยมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด คำพยานโจทก์ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาลงโทษจำเลยโดยมิได้อ้างว่าข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังกล่าวคือข้อเท็จจริงใด และศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าศาลอุทธรณ์พิเคราะห์พยานหลักฐานในสำนวนทั้งสิ้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น