พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และการพรากผู้เยาว์ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 14 ปี พักอาศัยอยู่กับยายเมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยให้ผู้เสียหายไปทำความสะอาดห้องนอนของจำเลยแล้วตามไปกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งแรก และเมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยที่บ้านเพื่อสอบถามว่าเหตุใดจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้วจึงไม่รับผิดชอบจำเลยกลับกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นครั้งที่สองล้วนเป็นการกระทำอันล้วงล้ำต่ออำนาจการปกครองของบิดามารดาของผู้เสียหายทั้งสิ้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร อย่างไรก็ดี จำเลยยังไม่มีภริยา จึงอยู่ในสถานะที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายฉันสามีภริยาได้ และต่างก็รักใคร่ชอบพอกันทั้งได้จดทะเบียนสมรส โดยได้รับอนุญาตจากศาล จึงมิใช่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ การจัดกลุ่มเป็นธรรมตามประเภทหนี้และสิทธิเรียกร้อง
ตามแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ 6 กลุ่ม เจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 5 ถูกกำหนดโดยยอดหนี้จากข้อตกลงระหว่างผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องคำชี้ขาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คำพิพากษาจากศาลอันเป็นที่สิ้นสุด และคำสั่งศาล และในกรณีที่ภาระหนี้ซึ่งอาจเกิดขึ้นกลายเป็นภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระและต้องจ่ายจะได้รับการจัดกลุ่มตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะและสกุลเงินของภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระนั้น ภาระหนี้จะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับหนี้ในกลุ่มที่โอน ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในกลุ่มนั้น ๆ เสมือนภาระหนี้ได้รับการจัดกลุ่มตั้งแต่วันที่ศาลพิจารณาเห็นชอบด้วยแผนเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เหมาะสมแล้วแต่สกุลเงินขณะนั้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ได้ค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัท พ. ออกให้แก่ผู้คัดค้านจำนวน 22,950,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ ผู้ทำแผนจึงจัดให้ผู้คัดค้านอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 อันถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยเหตุผลและความเป็นธรรมแล้ว เพราะหนี้ของผู้คัดค้านเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนทั้งในเรื่องของจำนวนหนี้และสกุลเงินที่จะได้รับชำระ โดยเป็นหนี้ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือคำพิพากษาของศาลอันเป็นที่สุดว่าจะให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้เท่าใดและเป็นเงินสกุลใด ดังนั้น การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ที่ผู้ทำแผนดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42(3)(ข) จึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ทวิ (3) แล้ว ซึ่งในวรรคท้ายของมาตราดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ที่เห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่เป็นไปตามที่กำหนด สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้จัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ แต่ผู้คัดค้านก็มิได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้จัดกลุ่มเสียใหม่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงถือว่าผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับการจัดกลุ่มของผู้ทำแผนแล้ว ประกอบกับมาตรา 90/42 ตรี กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันด้วยแล้ว ยิ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าสิทธิของผู้คัดค้านซึ่งถูกจัดให้อยู่ในเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ย่อมได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับเจ้าหนี้อื่นซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หาทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ ดังนั้น แผนจึงมีข้อเสนอในการชำระหนี้ที่ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนก็เป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายมิได้ขัดต่อมาตรา 90/58(2) และมาตรา 130 แต่อย่างใด ที่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการและการปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลาย
ตามแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผน และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยนั้น ได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เจ้าหนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ ที่ไม่มีประกัน กลุ่มที่ 2 เจ้าหนี้เงินบาทที่ไม่มีประกัน กลุ่มที่ 3 เจ้าหนี้บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกัน กลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ๆ กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้ภาระหนี้ ที่อาจเกิดขึ้น กลุ่มที่ 6 เจ้าหนี้ที่ปรึกษาทางการเงิน, ที่ปรึกษาทางกฎหมาย และที่ปรึกษาอื่น ๆ ของเจ้าหนี้ สำหรับ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 แผนได้ระบุไว้ว่าจะกำหนดยอดหนี้มาจาก (ก) ข้อตกลงระหว่างผู้ทำแผนและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (ข) คำชี้ขาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (ค) คำพิพากษาของศาลอันเป็นที่สุด (ง) คำสั่งศาล นอกจากนี้ในกรณีที่ภาระหนี้ซึ่งอาจเกิดขึ้นกลายเป็นภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระและต้องจ่าย ภาระหนี้เหล่านี้จะได้รับการจัดกลุ่มตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะและสกุลเงินของภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระนั้น ภาระหนี้จะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับหนี้ในกลุ่มที่โอน ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในกลุ่มนั้น ๆ เสมือนภาระหนี้ได้รับการจัดกลุ่มตั้งแต่วันที่ศาลพิจารณาเห็นชอบด้วยแผน ทั้งนี้ผู้ทำแผนได้ชี้แจงเพิ่มเติมในรายงานการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนด้วยว่า หากศาลมี คำพิพากษาถึงที่สุดหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เหมาะสมอาจอยู่ในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 แล้วแต่สกุลเงินขณะนั้น โดยผู้คัดค้านได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ในคดีนี้ได้ค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัทไทยวา พลาซ่า จำกัด ออกให้แก่ผู้คัดค้านจำนวน 22,950,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา มูลหนี้เดียวกันนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีฟื้นฟูกิจการของบริษัทไทยวา พลาซ่า จำกัด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวมีคำสั่งอนุญาตให้ ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ตามคำขอ ผู้ทำแผนจึงจัดให้ผู้คัดค้านอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 อันถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยเหตุผลและความเป็นธรรมแล้ว เพราะหนี้ของผู้คัดค้านเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอน ทั้งในเรื่องของจำนวนหนี้และสกุลเงินที่จะได้รับชำระหนี้ โดยเป็นหนี้อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้าตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือ คำพิพากษาของศาลอันเป็นที่สุดว่าจะให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้เท่าใดและเป็นเงินสกุลใด การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ที่ ผู้ทำแผนดำเนินการตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42(3)(ข) จึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ทวิ ซึ่งกำหนดไว้ใน (3) ว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจจัดได้เป็นหลายกลุ่ม โดยให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน"
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ทวิ วรรคท้าย เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้รายใดที่เห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้จัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้จัดกลุ่มเสียใหม่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ของผู้ทำแผนแล้ว
สิทธิของผู้คัดค้านซึ่งถูกจัดให้อยู่ในเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับเจ้าหนี้อื่นซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หาทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ ดังนั้น แผนจึงมีข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี ทั้งข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย มิได้ขัดต่อมาตรา 90/58 (2) และมาตรา 130 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้นชอบแล้ว
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ทวิ วรรคท้าย เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้รายใดที่เห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้จัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้จัดกลุ่มเสียใหม่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ของผู้ทำแผนแล้ว
สิทธิของผู้คัดค้านซึ่งถูกจัดให้อยู่ในเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับเจ้าหนี้อื่นซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หาทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ ดังนั้น แผนจึงมีข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี ทั้งข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย มิได้ขัดต่อมาตรา 90/58 (2) และมาตรา 130 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด และสิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความในชั้นสอบสวน
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด น้ำหนักรวม 0.43 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 200 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ตามมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนการที่เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด, ความผูกพันจากกิจการของตัวแทน, ค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้หนึ่งที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 นอกจากนี้แผนผังอาคารพาณิชย์และใบเสนอราคาหัวกระดาษเอกสารดังกล่าวระบุชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเอกสารของจำเลยที่ 1 ประการสำคัญบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ระบุชัดเจนว่าโครงการสร้างอาคารพาณิชย์พิพาทเป็นโครงการของจำเลยที่ 1 แสดงว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตน
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ใช้บังคับแก่กรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 มิได้กำหนดให้ผู้ขายต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขาย ดังนั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ดี จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาแล้วก็ดี ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
จำเลยที่ 1 ไม่โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 222 โดยต้องเป็นความเสียหายที่ปกติย่อมเกิดขึ้นหรือเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ดังนั้น เมื่อขณะจำเลยที่ 2 เสนอขายอาคารพาณิชย์พิพาทมีราคาห้องละ 2,000,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ห้องละ 850,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ใช้บังคับแก่กรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 มิได้กำหนดให้ผู้ขายต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขาย ดังนั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ดี จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาแล้วก็ดี ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
จำเลยที่ 1 ไม่โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ประกอบมาตรา 222 โดยต้องเป็นความเสียหายที่ปกติย่อมเกิดขึ้นหรือเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ดังนั้น เมื่อขณะจำเลยที่ 2 เสนอขายอาคารพาณิชย์พิพาทมีราคาห้องละ 2,000,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ห้องละ 850,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: จำเลยที่ 1 ผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่จำเลยที่ 2 (กรรมการ) ทำในฐานะตัวแทน
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้หนึ่งที่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะขายอาคารพาณิชย์พิพาทแก่โจทก์โดย ตามแผนผังอาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นและใบเสนอราคาหัวกระดาษที่จำเลยที่ 2 นำมาให้แก่โจทก์ระบุชื่อจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเอกสารของจำเลยที่ 1 อีกทั้งบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ระบุชัดเจนว่าโครงการสร้างอาคารพาณิชย์พิพาทเป็นโครงการที่ 3 ของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามป.พ.พ. มาตรา 821 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตน
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามป.พ.พ. มาตรา 798 นั้นเป็นบทบังคับกรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องทำเป็นหนังสือตามป.พ.พ. มาตรา 798 นั้นเป็นบทบังคับกรณีการตั้งตัวแทนตามปกติทั่ว ๆ ไป แต่การเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาใหม่: การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันฟ้อง และข้อเท็จจริงที่ต้องแสดงในคำขอ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) ใช้บังคับ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา 199 จัตวา แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่มาบังคับแก่คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ถูกต้อง
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า ดอกเบี้ยตามคำพิพากษาเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินไป อัตราที่เหมาะสมควรจะเป็นอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี โดยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าเหตุใดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นเป็นเบี้ยปรับ รวมทั้งมีเหตุประการใดที่แสดงว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน และมีเหตุสมควรอย่างใดที่จะให้ศาลลดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี อันเป็นข้อสำคัญที่จำเลยจะต้องกล่าวคัดค้านมาในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยละเอียดชัดแจ้ง เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า ดอกเบี้ยตามคำพิพากษาเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินไป อัตราที่เหมาะสมควรจะเป็นอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี โดยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าเหตุใดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นเป็นเบี้ยปรับ รวมทั้งมีเหตุประการใดที่แสดงว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน และมีเหตุสมควรอย่างใดที่จะให้ศาลลดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี อันเป็นข้อสำคัญที่จำเลยจะต้องกล่าวคัดค้านมาในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยละเอียดชัดแจ้ง เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียมศาล และการคืนค่าธรรมเนียมศาลเมื่อศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยต่อไป เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยต่อไปจำเลยทั้งสามจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยทั้งสามไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151มิใช่สั่งให้ค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์เป็นพับ
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดี จึงชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151มิใช่สั่งให้ค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา จำเป็นต้องแจ้งนัดให้จำเลยทราบโดยชอบตามกฎหมาย แม้คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลมิอาจพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวได้
จำเลยที่ 7 มีภูมิลำเนาแน่นอน จึงไม่มีกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายแก่จำเลยที่ 7ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งวันนัดแก่จำเลยที่ 7 โดยการประกาศหน้าศาลเพียงประการเดียวและไม่ได้สั่งให้ส่งหมายไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 ด้วย ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 7 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีอำนาจกระทำได้โดยมิต้องรอให้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเสียก่อนเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และนำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 196 วรรคสอง ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจำเลยที่ 7 ได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัดตามมาตรา 196 วรรคสอง (3) ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจสั่งว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดพิจารณาแล้วพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 7 ไปฝ่ายเดียวได้ กรณีดังกล่าวจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดจึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้ผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ก็หาอาจพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยถือว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบเริ่มตั้งแต่วันนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดจึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จะชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้ผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ก็หาอาจพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยถือว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบเริ่มตั้งแต่วันนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ชอบด้วยกฎหมายและการขาดนัดพิจารณาที่มีผลต่อการดำเนินคดีกับจำเลยร่วม
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดที่แสดงว่าจำเลยที่ 7 ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว ศาลชั้นต้นควรจะต้องจัดส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 7 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 อีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งให้ปิดประกาศแจ้งนัดวันสืบพยานโจทก์ครั้งที่ 3 ให้จำเลยที่ 7 ทราบหน้าศาลเพียงอย่างเดียว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 7 ทราบนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว หาได้ไม่ และการที่จำเลยที่ 7 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการสั่งโดย ผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้ระบุว่าชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 7 ในฐานะ ผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ขอรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ดังนี้ มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดตามฟ้องโจทก์จึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้จำเลยผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฎเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีก็หาอาจพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการ ขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7 ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้ระบุว่าชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 7 ในฐานะ ผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ขอรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ดังนี้ มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดตามฟ้องโจทก์จึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้จำเลยผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฎเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีก็หาอาจพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการ ขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7 ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่