พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6536/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่ได้จดทะเบียน การครอบครองเกิน 10 ปีทำให้ได้กรรมสิทธิ์
กรณีที่จะเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอได้นั้น หมายถึงกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ แต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ โจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เพียงประการเดียวอันจะเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ต้องเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบกับมาตรา 172 วรรคแรก
เอกสารการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชื่อว่า"หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" แต่ไม่ได้ระบุข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันหรือไม่เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาและจำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้จะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก แต่โจทก์เข้าครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ โจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เพียงประการเดียวอันจะเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ต้องเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบกับมาตรา 172 วรรคแรก
เอกสารการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชื่อว่า"หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" แต่ไม่ได้ระบุข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันหรือไม่เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาและจำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้จะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก แต่โจทก์เข้าครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6536/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สัญญาซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องและให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวโจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เพียงประการเดียว อันจะเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) แต่โจทก์ยังขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์อีกทั้งห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกด้วย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องตามมาตรา 55 ประกอบกับมาตรา 172 วรรคหนึ่ง
แม้หลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทจะระบุชื่อว่า "หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ" ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าหนังสือดังกล่าวได้ระบุข้อความอันเป็นข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กับจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทจำนวน 60,000 บาท ให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญานั้นเอง และจำเลยก็ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันทำหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นต้นไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด มิใช่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย
แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้นเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลย โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
แม้หลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทจะระบุชื่อว่า "หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ" ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าหนังสือดังกล่าวได้ระบุข้อความอันเป็นข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กับจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทจำนวน 60,000 บาท ให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญานั้นเอง และจำเลยก็ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันทำหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นต้นไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด มิใช่เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย
แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้นเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลย โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6536/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่มีการจดทะเบียน
กรณีที่จะเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอนั้น หมายถึงกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ แต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล
โจทก์บรรยายฟ้องโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครอง ปรปักษ์ จำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิโดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็น ชื่อโจทก์ เมื่อสภาพแห่งข้อหาของโจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ปรปักษ์เพียงประการเดียว แต่โจทก์ยังขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์ อีกทั้งห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกด้วย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 172 วรรคแรก
แม้เอกสารฉบับพิพาทซึ่งเป็นหลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุชื่อว่า "หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่โจทก์กับจำเลยได้นำแบบฟอร์มของหนังสือสัญญาดังกล่าวมาใช้เพื่อความสะดวกแก่การทำสัญญาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อความอันเป็นข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กับจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญานั้นเอง และจำเลยก็ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้า ครอบครองนับแต่วันทำเอกสารฉบับพิพาทเป็นต้นไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนา จะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และแม้สัญญาซื้อขาย ดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก แต่การที่โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อโจทก์ได้ครอบครอง ที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
โจทก์บรรยายฟ้องโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครอง ปรปักษ์ จำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิโดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็น ชื่อโจทก์ เมื่อสภาพแห่งข้อหาของโจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ปรปักษ์เพียงประการเดียว แต่โจทก์ยังขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์ อีกทั้งห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกด้วย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 172 วรรคแรก
แม้เอกสารฉบับพิพาทซึ่งเป็นหลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุชื่อว่า "หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่โจทก์กับจำเลยได้นำแบบฟอร์มของหนังสือสัญญาดังกล่าวมาใช้เพื่อความสะดวกแก่การทำสัญญาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อความอันเป็นข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กับจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญานั้นเอง และจำเลยก็ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้า ครอบครองนับแต่วันทำเอกสารฉบับพิพาทเป็นต้นไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนา จะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และแม้สัญญาซื้อขาย ดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก แต่การที่โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อโจทก์ได้ครอบครอง ที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501-6502/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
เดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท โดยโจทก์คดีนี้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า กรณียังถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกดังที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟ้อง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีส่วนแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 7 มิใช่จำเลยในคดีส่วนอาญาที่ถูกพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องในข้อหาบุกรุกด้วย แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาที่เกี่ยวข้องกับโจทก์จึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501-6502/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และสิทธิครอบครองที่ดิน
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท โดยโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วย และคดีถึงที่สุดแล้ว โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีความผิดฐานบุกรุก เมื่อโจทก์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ดังนั้นแม้จำเลยร่วมซึ่งซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 มิใช่จำเลยในคดีส่วนอาญาที่ถูกพนักงานอัยการฟ้องในข้อหาบุกรุกด้วย แต่โจทก์ในคดีนี้หาใช่บุคคลภายนอกคดีไม่เพราะเป็นโจทก์ร่วมในคดีส่วนอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงมีผลผูกพันโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานจำเลยร่วมฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ จำเลยเข้าครอบครองสถานีบริการโดยไม่มีสิทธิ โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
แม้พฤติการณ์ในการประวิงคดีจะสืบเนื่องมาจากการกระทำของทนายความ แต่จำเลยก็ต้องรับรู้และหาหนทางแก้ไขในฐานะที่เป็นผู้แต่งตั้งทนายความให้กระทำการแทนตน เมื่อจำเลยเพิกเฉยปล่อยให้ทนายความของตนที่ยืนยันว่าไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ล่วงหน้าทั้งสามครั้ง ยังคงรับผิดชอบคดีของตนต่อไปอีก ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นชอบแล้ว
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมและโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินแล้วสร้างสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน โดยมีบริษัท ส. ร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน ต่อมาจำเลยร่วมเสนอเงื่อนไขขอเป็นผู้บริหารโดยตกลงชำระเงินร่วมลงทุนแก่โจทก์ แต่จำเลยร่วมไม่อาจชำระเงินร่วมลงทุนได้ครบถ้วนจึงเสนอให้จำเลยเป็นผู้ร่วมลงทุนแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ จำเลยต้องเปิดบัญชีกับโจทก์และจัดตั้งเป็นนิติบุคคลรวมทั้งต้องชำระเงินร่วมลงทุนที่จำเลยร่วมค้างชำระจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์เสียก่อน แต่จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ครบถ้วน ดังนั้น สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิได้มีต่อกัน เพราะข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้นยังมิได้ตกลงกันได้หมดทุกข้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงอยู่ในที่ดินและเข้าบริหารสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้จนกว่าจำเลยจะออกจากที่ดิน
จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันแม้มีอยู่จริงตามข้ออ้าง ก็มิใช่เป็นผลโดยตรงและโดยใกล้ชิดจากการกระทำของโจทก์ หากเกิดจากการที่จำเลยยอมตนเข้าเสี่ยงภัยรับภาระแทนจำเลยร่วม โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะทำข้อตกลงให้จำเลยเข้าบริหารกิจการสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันได้โดยลำพังตนเอง ดังนั้น หากมีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้น จำเลยก็ต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมซึ่งเป็นคู่สัญญาของตน หาใช่มาเรียกร้องเอาแก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินหลังบริษัทร้าง: สิทธิของผู้ชำระบัญชี, การโอนโดยมิชอบ, และความสุจริตของผู้รับโอน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 (1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่า โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (5) ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การที่ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินพิพาทของบริษัท อ. ให้แก่จำเลยทั้งหกตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบ จำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง จำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (5) ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การที่ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินพิพาทของบริษัท อ. ให้แก่จำเลยทั้งหกตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบ จำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง จำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินหลังบริษัทร้าง: นิติกรรมเป็นโมฆะ, จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่าย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(5)ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งหก เป็นการโอนตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทที่มีภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบจำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีความมุ่งหมายให้จำเลยทั้งหกโอนที่ดินพิพาทคืนแก่บริษัท อ. เป็นประการแรก ส่วนที่จะให้จำเลยทั้งหกชดใช้ราคาที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เพราะเหตุพ้นวิสัยเท่านั้น ประกอบกับการกำหนดราคาที่ดินพิพาทในขณะจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินเกิดจากการตกลงระหว่างทายาทเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จึงมิใช่ราคาที่ดินพิพาทที่แท้จริง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาที่ดินพิพาทตามราคาประเมินต่ำสุดในขณะยื่นฟ้องจึงถูกต้องเหมาะสมแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินพิพาทคืนนั้น ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง แสดงว่าจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ดังนั้น จำเลยทั้งหกจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(5)ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งหก เป็นการโอนตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทที่มีภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบจำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีความมุ่งหมายให้จำเลยทั้งหกโอนที่ดินพิพาทคืนแก่บริษัท อ. เป็นประการแรก ส่วนที่จะให้จำเลยทั้งหกชดใช้ราคาที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เพราะเหตุพ้นวิสัยเท่านั้น ประกอบกับการกำหนดราคาที่ดินพิพาทในขณะจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินเกิดจากการตกลงระหว่างทายาทเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จึงมิใช่ราคาที่ดินพิพาทที่แท้จริง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาที่ดินพิพาทตามราคาประเมินต่ำสุดในขณะยื่นฟ้องจึงถูกต้องเหมาะสมแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินพิพาทคืนนั้น ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง แสดงว่าจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ดังนั้น จำเลยทั้งหกจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อนและการแจ้งข้อหาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายืนคำพิพากษาเดิม
คดีก่อนจำเลยถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินปลอมแต่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมโดยให้เหตุผลว่า ตั๋วแลกเงินดังกล่าวไม่ใช่เอกสารสิทธิ ศาลอาญากรุงเทพใต้จึงมีคำสั่งปล่อยตัวจำเลย และในวันเดียวกันจำเลยถูกจับและควบคุมตัวในคดีอื่นข้อหาปลอม ใช้หนังสือใบรับฝากตั๋วแลกเงินปลอมรวม16 กรรมแต่ต่อมาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จนกระทั่งโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268 ดังนี้ แม้ว่าตั๋วแลกเงินที่ถูกฟ้องในคดีนี้เป็นฉบับเดียวกับที่จำเลยถูกดำเนินคดีเป็นคดีแรก เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีนี้แล้วโดยจำเลยมิได้โต้แย้งว่าการสอบสวนไม่ชอบ จึงย่อมจะผ่านขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาที่จำเลยอ้างว่าคดีนี้ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยแล้ว ฎีกาจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกฟ้องในคดีอื่นต่อศาลอาญากรุงเทพใต้แม้จำเลยจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วโจทก์จึงไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาล เมื่อจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้จึงไม่ต้องขอผลัดฟ้องหรือขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ (อัยการสูงสุด)ฟ้องคดีนี้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 และ 9
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกฟ้องในคดีอื่นต่อศาลอาญากรุงเทพใต้แม้จำเลยจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วโจทก์จึงไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาล เมื่อจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้จึงไม่ต้องขอผลัดฟ้องหรือขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ (อัยการสูงสุด)ฟ้องคดีนี้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 และ 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6211/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประสานงานเสนอขายที่ดินให้หน่วยงานรัฐมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
จำเลยได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินให้เสนอขายที่ดินแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างอาคารศูนย์คลังพัสดุและได้มีการยื่นซองประกวดราคาแล้ว ต่อมาจำเลยได้ขอให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการขายที่ดินดังกล่าว โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท ในวันที่ทำการโอนขายที่ดินให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้นจำเลยได้ทำข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าใช้จ่ายแก่โจทก์เพิ่มเป็นเงินจำนวน 8,000,000 บาท ในที่สุดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้เสนอขาย แต่ในการจัดซื้อที่ดิน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องปฏิบัติไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ. ศ. 2497 และข้อบังคับที่ออกสืบเนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรอยู่ในฐานะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีโอกาสเหนือกว่าเอกชนรายอื่นในการเสนอขายที่ดินให้แก่รัฐวิสาหกิจด้วยกัน ได้ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จึงมีความหมายยิ่งกว่าการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงธุรกิจ เมื่อโจทก์และ ศ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต่างเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการบริหารและยุติธรรมของวุฒิสภาด้วยกันโดยโจทก์ได้รับเลือกจาก ศ. ให้เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ดังนั้นสายสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ศ. จึงผูกพันลึกซึ้งยิ่งกว่าการรู้จักกันโดยปกติธรรมดาทั่วไป อาจทำให้เอกชนรายอื่นที่ต้องเสนอราคาแข่งขันกับจำเลย ตกเป็นผู้เสียเปรียบจำเลย ทั้งยังกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐที่อาจต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อที่ดินในราคาที่ขาดการแข่งขันตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพที่ดินนั้น ถือได้ว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์กรของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารราชการในองค์กรของรัฐ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินตามที่จำเลยจะให้เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มนี้แก่โจทก์