คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชา มหาคุณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุจำเลยขณะทำผิดมีผลต่อการลงโทษและมาตรการเยาวชน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเพียง 13 ปีเศษ หาใช่ 14 ปีเศษดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ จำเลยจึงไม่ต้อง รับโทษตาม ป.อ. มาตรา 74 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทน ข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก. ประกอบด้วยมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่จำเลย มีอายุครบ 18 ปีแล้ว กรณีไม่อาจส่งตัวจำเลยไปเพื่อฝึกและอบรมตามมาตรา 74 (5) ได้ แต่สมควรให้ดำเนินการตามมาตรา 74 (2) และ (3) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกามา ศาลฎีกา ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: ศาลต้องวินิจฉัยก่อนว่ามีภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ แม้จำเลยไม่ตกลง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องในตอนแรกแล้วว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นเวลากว่า 20 ปี และโจทก์ได้บรรยายในตอนต่อมาว่าจำเลยได้ตกลงจดทะเบียนภารจำยอมให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแต่ปรากฏว่าจำเลยปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนภารจำยอมตามที่ตกลงกัน จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยไปทำนิติกรรมจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 2219 ของจำเลย ซึ่งจำเลยได้ให้การว่าทางพิพาทมิใช่ภารจำยอมและจำเลยไม่เคยตกลงกับโจทก์เพื่อจดทะเบียนภารจำยอม ประเด็นแห่งคดีจึงมีทั้งข้อที่จะต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่และโจทก์จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นภารจำยอมได้หรือไม่ เพราะหากทางพิพาทเป็นภารจำยอมโดยอายุความ โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยจดทะเบียนเป็นภารจำยอมได้แม้จำเลยมิได้ตกลงด้วยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันข่มขืนโทรมหญิง แม้ไม่สำเร็จความใคร่ เจตนาพยายามกระทำความผิดก็ถือเป็นความผิดฐานข่มขืน
จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำผิด แม้จะปรากฏว่าหลังจากจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเสร็จแล้ว พวกของจำเลยคนหนึ่งที่ร่วมกันมาฉุดผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเราซึ่งเข้าข่มขืนกระทำชำเราเป็นคนต่อมาจะไม่สามารถ สอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้เพราะอวัยวะเพศไม่แข็งตัวก็ตาม แต่การที่พวกของจำเลยพยายามสอดใส่อยู่นาน 10 นาที ก็แสดงให้เห็นเจตนาที่จะรุมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงได้ชื่อว่าเป็นการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าตรวจค้นยาเสพติดโดยไม่มีหมายค้นชอบด้วยกฎหมาย หากมีเหตุสงสัยและเชื่อว่าของกลางจะถูกโยกย้าย
สิบตำรวจโท ช. สืบทราบว่าบ้านของจำเลยเป็นแหล่งลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ได้ใช้วิธีซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เมื่อเห็นจำเลยขุดบริเวณแปลงผักและนำสิ่งของใส่ในหลุมที่ขุดแล้วกลบไว้ จึงใช้วิทยุสื่อสารเรียกเจ้าพนักงานตำรวจที่รออยู่ให้ไปที่เกิดเหตุและได้ออกมาแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอตรวจค้น เมื่อใช้จอบขุดบริเวณที่จำเลยกลบไว้ก็พบเมทแอมเฟตามีน กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ประกอบทั้งมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน แม้สิบตำรวจโท ช. กับพวกเข้าค้นโดยไม่มีหมายค้นก็สามารถกระทำได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยแล้วเป็นฎีกาต้องห้าม
การพิจารณาคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งต้องถือโทษที่ศาลลงโทษแก่จำเลยเป็นรายกระทงไป ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า ในคดีฉ้อโกงในอีกคดีหนึ่ง ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องจำเลยเพราะเห็นว่าไม่เป็นความผิด คดีนี้จำเลยจึงไม่มีความผิดทางอาญาเพราะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน รวมทั้งการกระทำไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นเป็นฎีกาที่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีฉ้อโกงถือเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีนี้หรือไม่ และการกระทำของจำเลยจะเป็นการใส่ความอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ซึ่งเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยเป็นยุติแล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวจะครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกที่ดินให้สุเหร่า/มัสยิดเพื่อประโยชน์สาธารณกุศล มีผลผูกพันทายาท แม้มิได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ
จ. ทำพินัยกรรมไว้ที่อำเภอระบุว่า ขอมอบที่ดินให้เป็นสมบัติแก่สุเหร่าคันนายาวเพื่อเก็บเงินซึ่งได้จากค่าเช่าที่ดินใช้เป็นประโยชน์ในทางกุศลของสุเหร่าคันนายาว จะทำการหักโอนให้เป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อสุเหร่าคันนายาวได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เป็นการแสดงถึงเจตนาโดยแน่ชัดของจ. ว่า จะยกที่ดินให้แก่สุเหร่าคันนายาวเมื่อได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแล้ว แม้ภายหลังจำเลยมิได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแต่ก็ได้จดทะเบียนเป็นมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์การสาธารณกุศลตรงตามวัตถุประสงค์ของ จ. ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่มีอำนาจนำมาแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกที่ดินให้มูลนิธิ/มัสยิดตัดสิทธิทายาทโดยธรรม การโอนกรรมสิทธิ์ตามเจตนาผู้ทำพินัยกรรม
ผู้สาบสูญได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้สุเหร่าคันนายาวต่อเมื่อได้ทำการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายตัดทายาทโดยธรรมของตนทุกคนมิให้รับมรดกในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสอง เมื่อสุเหร่าคันนายาวได้จดทะเบียนเป็นมัสยิดจำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลในทำนองเดียวกับมูลนิธิตามที่ปรากฏในพินัยกรรม ย่อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274-1275/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีกำหนดเวลา โจทก์ไม่แจ้งเรียกภายในกำหนด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2540 หนี้ที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2540ย่อมอยู่ภายในอายุสัญญาค้ำประกัน แต่สัญญาค้ำประกันได้ระบุเงื่อนไขว่า โจทก์จะต้องยื่นคำเรียกร้องตามหนังสือสัญญาค้ำประกันภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 อันเป็นกรณีที่หากมีการผิดสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแล้ว โจทก์จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนดนั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้วเสียก่อนการที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวไปถึงจำเลยที่ 2 เกินกำหนดเวลาในเงื่อนไขนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น และมาตรา 680 วรรคสอง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ซึ่งมีความหมายว่า สัญญาค้ำประกันต้องการเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่ผู้ค้ำประกันลงชื่อฝ่ายเดียวก็ใช้บังคับได้แล้ว ไม่จำต้องลงลายมือชื่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ใช่ป่าไม้ การตัดไม้ในที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้มาตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงไม่ใช่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (1) การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด การที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 62 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่อยู่ในนิยาม 'ป่า' การตัดไม้ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ หากสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิซึ่งเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 3(2) จึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(1)การตัดและทอนต้นมะม่วงป่าอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก.ย่อมไม่เป็นการทำไม้ตามความหมายของมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 เป็นผลให้การได้ไม้มะม่วงป่าที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่ในที่ดินที่ ส.ป.ก. อนุญาตให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดดังกล่าวข้างต้นการที่จำเลยมีไม้มะม่วงป่าซึ่งยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคหนึ่ง
of 33