พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810-813/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันฉ้อโกงโดยใช้เอกสารเท็จ และการรับฟังพยานร่วม การพิสูจน์ความผิดฐานฉ้อโกง
คำให้การของ ส. ซึ่งเป็นผู้กระทำผิด ที่พาดพิงถึงจำเลยมีลักษณะเป็นการซัดทอด แต่ก็ใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เสียทีเดียว และ ส. ไม่ได้ เป็นจำเลยในคดีนี้ มิใช่เป็นการซัดทอดจำเลยในคดีเดียวกันทั้ง ส. มาเบิกความด้วยตนเองโดยตรงต่อศาล มิใช่พยานบอกเล่าจึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800-801/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นและภารจำยอม: การใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นเมื่อไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
คลองบางไผ่น้อยบริเวณพิพาท แม้ใช้เรือสัญจรเข้าออกได้ แต่ก็ ขาดความสะดวกที่จะใช้สอยเป็นทางสาธารณะได้ตามปกติ จึงยังไม่พอ ที่จะถือได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 โจทก์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งล้อมอยู่ ไปสู่ทางสาธารณะโดยใช้ทางเดินพิพาทผ่านเข้าออกเป็นทางจำเป็นได้
โจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะสืบทอดมาตั้งแต่ ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์และจำเลยที่เป็นญาติใกล้ชิดมาแต่เดิม จนกระทั่ง ปลายปี 2528 น้ำท่วมทางพิพาท ทางฝ่ายโจทก์จึงได้จัดสรรสร้างสะพานไม้ ข้ามคูน้ำในทางเดินพิพาท โดยบิดาจำเลยยินยอมให้ดำเนินการในลักษณะ ของความอะลุ่มอล่วยฉันเครือญาติ จึงเป็นการแสดงออกโดยแจ้งชัดว่า โจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย โดยถือว่าเป็นกันเอง อย่างเช่น เครือญาติที่ผูกพันกันมานานสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ อันเป็นการใช้ทางเดินพิพาทโดยถือวิสาสะและเอื้อเฟื้อต่อกัน ทางเดินพิพาท จึงไม่ตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
โจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะสืบทอดมาตั้งแต่ ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์และจำเลยที่เป็นญาติใกล้ชิดมาแต่เดิม จนกระทั่ง ปลายปี 2528 น้ำท่วมทางพิพาท ทางฝ่ายโจทก์จึงได้จัดสรรสร้างสะพานไม้ ข้ามคูน้ำในทางเดินพิพาท โดยบิดาจำเลยยินยอมให้ดำเนินการในลักษณะ ของความอะลุ่มอล่วยฉันเครือญาติ จึงเป็นการแสดงออกโดยแจ้งชัดว่า โจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย โดยถือว่าเป็นกันเอง อย่างเช่น เครือญาติที่ผูกพันกันมานานสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ อันเป็นการใช้ทางเดินพิพาทโดยถือวิสาสะและเอื้อเฟื้อต่อกัน ทางเดินพิพาท จึงไม่ตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการพิสูจน์ภาระหน้าที่ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระหนี้เงินตามสัญญากู้ยืมเงินและคืน น.ส.3 ก. ที่ให้เป็นประกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่อ้างว่าได้เปลี่ยนสัญญากู้ยืมเงินกันใหม่อีก 2 ครั้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า คู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้คือจำนวนเงินที่กู้ยืม หากเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องย่อมระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 โจทก์ย่อมขอชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวอีกมิได้ เหตุนี้ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จริงหรือไม่
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147-148/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค้ำประกัน, การบังคับชำระหนี้, การผิดสัญญาซื้อขาย และค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ธนาคาร ก. ค้ำประกันบริษัท จ. ต่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า หากบริษัท จ. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญา ซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆจากบริษัท จ. ได้แล้ว ธนาคาร ก. ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้บริษัท จ. ชำระก่อน การที่บริษัท จ. ผิดสัญญาซื้อขาย การสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับ และค่าเสียหายตามสัญญาและเมื่อบริษัท จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดแล้วการสื่อสารแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องธนาคาร ก. ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 แม้ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิก สัญญาซื้อขายต่อบริษัท จ. ก่อนก็ตาม
สัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท จ. กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 3 กรกฎาคม2528 เมื่อบริษัท จ. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลย อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่ธนาคาร ก. ได้อายุความจึงเริ่มนับแต่ วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อนับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องบริษัท จ. โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายและได้มีคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาโดยส่งมอบชุมสายเทเล็กซ์พร้อมการติดตั้งในระบบสมบูรณ์ตามสัญญาซื้อขายแล้ว หากให้บริษัท จ. ชำระค่าเสียหายในราคาอุปกรณ์ชุมสายเทเล็กซ์ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งานก็จะเป็นการให้ค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกับคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้
สัญญาซื้อขายระหว่างบริษัท จ. กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 3 กรกฎาคม2528 เมื่อบริษัท จ. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลาจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงมีสิทธิที่จะเรียกให้ธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ชำระหนี้ได้แต่นั้นตามมาตรา 686 อันเป็นวันที่จำเลย อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่ธนาคาร ก. ได้อายุความจึงเริ่มนับแต่ วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันในวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 เมื่อนับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ
การสื่อสารแห่งประเทศไทยฟ้องบริษัท จ. โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายและได้มีคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาโดยส่งมอบชุมสายเทเล็กซ์พร้อมการติดตั้งในระบบสมบูรณ์ตามสัญญาซื้อขายแล้ว หากให้บริษัท จ. ชำระค่าเสียหายในราคาอุปกรณ์ชุมสายเทเล็กซ์ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งานก็จะเป็นการให้ค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกับคำขอบังคับให้บริษัท จ. ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่สะดุดอายุความ
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยชำระค่าปรับ 106,000บาท แก่โจทก์ ส่วนดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดสัญญาประกันไม่ได้ชำระแต่ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากค่าปรับที่เป็นต้นเงินจึงเป็นหนี้คนละส่วน การที่จำเลยชำระต้นเงินแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เมื่อดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยผิดสัญญาประกันตัว การชำระหนี้ต้นเงินไม่ทำให้หนี้ดอกเบี้ยขาดอายุความ
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2529โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาจำเลยนำค่าปรับมาชำระแก่โจทก์ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535 แต่ไม่ชำระดอกเบี้ยของค่าปรับในช่วงระหว่างผิดสัญญาจนถึงวันชำระค่าปรับ ดังนี้ดอกเบี้ยตามฟ้องเป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากต้นเงินค่าเบี้ยปรับ ดอกเบี้ยจึงเป็นหนี้คนละส่วนกับต้นเงินดังนั้น การที่จำเลยชำระต้นเงินให้แก่โจทก์จึงมิใช่การชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึง 22 มิถุนายน2535 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุด
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด นัดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยนำค่าปรับจำนวน 106,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์เป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากต้นเงินค่าเบี้ยปรับจำนวน 106,000 บาท ดอกเบี้ยจึงเป็นหนี้คนละส่วนกับต้นเงิน ดังนั้น การที่จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 106,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความ สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดก่อนคดีนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
เงินของกลางที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบ เป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีนก่อนการจำหน่ายในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้ ตามความแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบในคดีนี้ได้
ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลไม่มีอำนาจริบ
เงินของกลางที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งริบ เป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีนก่อนการจำหน่ายในคดีนี้ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้ ตามความแห่ง ป.อ.มาตรา 33 (2) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบในคดีนี้ได้
ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ศาลล่างทั้งสองสั่งริบเงินของกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด การลดโทษ และอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดก่อนหน้า
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก 5 ปี รวม 2 กระทงจำคุก 10 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน ซึ่งเท่ากับศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
เงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีนที่จำเลยได้กระทำผิดครั้งก่อนการกระทำผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนในคดีนี้ มิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินดังกล่าว
เงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีนที่จำเลยได้กระทำผิดครั้งก่อนการกระทำผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนในคดีนี้ มิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบเงินดังกล่าว