พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9034/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเช่าซื้อรถยนต์: สัญญาเช่าซื้อมีผลเหนือกว่าสัญญาซื้อขายเดิม
แม้โจทก์ได้สั่งซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยชำระค่าจองรถยนต์รวมทั้งค่ารถยนต์บางส่วน และได้รับมอบรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยืนยันว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับบริษัท ธ. จำกัด อันแสดงโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าบริษัท ธ. จำกัด เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท หาใช่จำเลยที่ 1 ไม่ มิฉะนั้นโจทก์คงไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายงวดให้แก่บริษัท ธ. จำกัด ตลอดมา โดยบริษัทดังกล่าวได้ออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกงวด แม้แต่ค่าจองรถยนต์ จนกระทั่งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท ธ. จำกัด ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้รับมอบรถยนต์ไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้มีนิติสัมพันธ์ตามลักษณะของสัญญาซื้อขายกันไม่ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ปรากฏว่า มีความผูกพันกับโจทก์ตามสัญญาใดที่จะทำให้ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ ลำพังเพียงการรับประกันว่า หากรถยนต์ที่จำหน่ายมีปัญหาสามารถส่งซ่อมได้ที่ศูนย์บริการตัวแทนจำหน่ายและที่ศูนย์ของจำเลยที่ 2 มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 2 ผูกพันต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่โจทก์ได้รับมอบมาตามสัญญาเช่าซื้อ เพราะความรับผิดในกรณีทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อชำรุดบกพร่องโจทก์ย่อมเรียกร้องได้จากผู้ให้เช่าซื้อโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่าซื้ออันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่าซื้อนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8988/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อจำหน่าย: การกระทำที่เป็นตัวการร่วมและการแบ่งหน้าที่
แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้มีส่วนในการเจรจาตกลงจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้ร้อยตำรวจเอก พ. โดยตรงก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 3 นำเมทแอมเฟตามีนไปมอบให้แก่จำเลยที่ 2 และยังคงรออยู่ในที่เกิดเหตุจนกระทั่งถูกจับกุมนั้น น่าเชื่อว่าเป็นเพราะคอยรับเงินจากการจำหน่ายตามคำเบิกความของพลตำรวจ อ. การกระทำของจำเลยที่ 3เป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยจำเลยที่ 3 ทำหน้าที่เป็นผู้นำเมทแอมเฟตามีนไปยังที่เกิดเหตุ ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปส่งมอบให้ร้อยตำรวจเอก พ.ผู้ล่อซื้ออีกต่อหนึ่งจำเลยที่ 3 จึงเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8801/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความในคดีก่อนหน้าเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา และการพิจารณาเหตุบรรเทาโทษ
แม้ประจักษ์พยานโจทก์ที่เห็นเหตุการณ์ในคดีนี้ คือ นาย ณ. จะเบิกความว่า จำนาย ส. ไม่ได้แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ณ. ได้เคยให้การต่อพนักงานสอบสวน และได้เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีหมายเลขดำที่ 9326/2526 (คดีหมายเลขแดงที่ 1425/2526) ของศาลอาญา ซึ่งคดีดังกล่าวเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องนาย ส. กล่าวหาว่าร่วมกับพวกที่หลบหนีใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและเป็นคดีที่มีมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ โดยนาย ณ. ได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่า นาย ส. ได้ใช้อาวุธปืนยิงไปถูกผู้ตาย แม้คำเบิกความของนาย ณ. ดังกล่าวจะมิใช่ถ้อยคำที่ได้เบิกความไว้ในคดีนี้ก็ตาม แต่นาย ณ. ได้เบิกความยืนยันไว้ในคดีนี้โดยรับว่าได้ให้ถ้อยคำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การ และได้เบิกความต่อศาลถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีดังกล่าวจริง ดังนั้น คำเบิกความของนาย ณ. ในคดี หมายเลขดำที่ 9326/2526 (คดีหมายเลขแดงที่ 1425/2526) ของศาลอาญา จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้เพราะเป็นพยานหลักฐานที่โจทก์อ้างและนำสืบไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8085/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพลิงไหม้ไร่สับปะรด: พยานหลักฐานไม่ชัดเจน ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
โจทก์มีเพียงคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 2 ที่ให้การว่าเห็นไฟเริ่มลุกไหม้กอต้นเบญจมาศและหญ้าในไร่ของจำเลย ต่อมาลุกลามเข้าไปในไร่ของผู้เสียหายที่ 1 คำให้การดังกล่าวเป็นพยานบอกเล่า ประกอบกับเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะผู้เสียหายด้วย จึงต้องรับฟังอย่างระมัดระวังเพราะจำเลยไม่มีโอกาสที่จะซักค้านพยานดังกล่าวได้ ส่วนคำเบิกความของ ว. ภริยาผู้เสียหายที่ 1 ที่เบิกความว่าในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ11 นาฬิกา เห็นจำเลยจุดไฟเผาในไร่ของจำเลยนั้น แม้จะเป็นความจริงตามที่เบิกความแต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุเพลิงลุกไหม้ไร่สับปะรดของผู้เสียหายที่ 1 เป็นเวลานานถึงประมาณ 2 ชั่วโมงประกอบกับจุดที่พยานทั้งสองเห็นจำเลยจุดไฟนั้นก็อยู่ด้านทิศใต้ของที่ดินของจำเลยซึ่งมิใช่จุดที่อยู่ใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินของผู้เสียหายที่ 1ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจบ่งชี้อย่างแจ้งชัดว่าไฟที่ไหม้ไร่สับปะรดของผู้เสียหายที่ 1นั้น เกิดจากการจุดไฟเผาหญ้าในไร่ของจำเลยแล้วลุกลามเข้าไปในไร่ของผู้เสียหาย นอกจากนี้ผู้เสียหายทั้งสองก็มิได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจกล่าวหาจำเลยในทันทีหรือในระยะเวลาอันสมควร ทั้ง ๆ ที่หลังเกิดเหตุเพียงวันเดียวผู้เสียหายที่ 1 ได้ไปพบจำเลยเรียกร้องค่าเสียหาย แต่จำเลยปฏิเสธ การที่ผู้เสียหายทั้งสองเพิ่งจะไปแจ้งความร้องทุกข์หลังจากเกิดเหตุนานถึงประมาณ 20 วันเช่นนี้ ทำให้น่าสงสัยว่าผู้เสียหายที่ 2 เห็นเหตุการณ์ขณะที่เพลิงไหม้ลุกลามจากไร่ของจำเลยเข้าไปสู่ไร่สับปะรดจริงหรือไม่และผู้เสียหายที่ 1 กับ ว. เห็นเหตุการณ์ขณะที่จำเลยจุดไฟเผาหญ้าในไร่ของจำเลยจริงหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหาหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเยาวชน การลดโทษ และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2532มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไปจึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่าในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี 6 เดือนการส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม จึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7430/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชน, การสอบสวน, และการใช้มาตรา 104 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ในคดีอาญาของเยาวชน
ในชั้นพิจารณา ผู้เสียหายเบิกความบ่ายเบี่ยงเป็นทำนองช่วยเหลือจำเลย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเท่าคำให้การในชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ซึ่งให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุ เพราะผู้เสียหายยังไม่มีโอกาสไตร่ตรองบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น แม้เป็นพยานบอกเล่าแต่มีเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการพ.ศ. 2532 มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป จึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13 ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ ไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน ตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี6 เดือน การส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมจึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำให้การของพยานโจทก์ที่ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยมิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ทั้งยังมีเหตุผลและสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการตามวิธีพิจารณาคดีสำหรับเยาวชน ไม่สั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการกระทำความผิดขณะจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นเยาวชน เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดวันเปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนในศาลจังหวัดนนทบุรีและศาลจังหวัดสมุทรปราการพ.ศ. 2532 มาตรา 3 ให้เปิดดำเนินการแผนกคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในศาลจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป จึงได้มีการโอนคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมาพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 15 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องอายุ หรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือศาลอื่นใดได้รับพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องด้วยมาตรา 13 ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุให้ศาลนั้น ๆ ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเสียไป
เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ซึ่งความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจ ดำเนินการสอบสวนมาแล้วโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แม้ภายหลังจะมีการโอนคดีมาพิจารณาพิพากษายังศาลจังหวัดนนทบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การสั่งสอบความประพฤติตามขั้นตอนของสถานพินิจ ไม่ใช่การดำเนินการชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ศาลล่างทั้งสองพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย โดยไม่ใช้ดุลพินิจให้นำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แทนการลงโทษทางอาญานั้น จึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 วรรคท้าย จะนำมาใช้ในกรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชน ตาม (1) หรือ (2) ต่อไป หลังจากที่เด็กหรือเยาวชนมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ 28 ปี จำคุก 7 ปี6 เดือน การส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมในสถานพินิจนั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมจึงให้ส่งตัวจำเลยไปเรือนจำจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทตามมาตรา 104 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้บุตรนอกกฎหมาย การให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและการพิจารณาฐานะของคู่สมรส
โจทก์ฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ว. ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของ ว. โดยเสน่หาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ และทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยว่า การให้ดังกล่าวเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวอันเป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักที่ว่าทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดาว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่งว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดาว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่งว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้น: เหตุจำเป็นเร่งด่วนและเหตุผลสมควร
ข้อยกเว้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายค้น ของศาลว่า "ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 238 นั้น มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากกฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้ว เท่านั้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมายกฎ หรือข้อบังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับ มิได้ จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวรับรองให้กฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ นี้แล้วก็ยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมใช้บังคับต่อไปได้
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุม ท. พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ดในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตำรวจอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทำให้เนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุม ท. พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ดในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตำรวจอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทำให้เนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น: เหตุจำเป็นเร่งด่วน และความชอบด้วยกฎหมาย
การร้องขอให้ปล่อยตัวโดยอ้างว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 240 กำหนดให้ศาลไต่สวนพยานผู้ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวโดยด่วนก่อน เมื่อศาลเห็นว่าคำร้องมีมูล ศาลจึงจะสั่งให้ผู้คุมขังนำตัวผู้ถูกคุมขังไปศาล และเป็นหน้าที่ของผู้คุมขังต้องแสดงหลักฐานให้เป็นที่พอใจของศาลว่าการคุมขังเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นก็จะสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง ทั้งตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้ผู้คุมขังต้องนำพยานมาสืบ เพียงแต่ให้ผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าเป็นการคุมขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การไต่สวนและการระบุอ้างพยานในชั้นนี้จึงไม่จำต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในกฎหมายวิธีสบัญญัติเรื่องการสืบพยานในคดี ดังนั้น แม้ผู้คุมขังมิได้ยื่นคำคัดค้านและมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก็ตาม ก็สามารถนำพยานเข้าไต่สวนและอ้างส่งเอกสารได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติรับรองให้กฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากรัฐธรรมนูญฯ มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมยังใช้บังคับต่อไปได้
แม้พันตำรวจเอก ป. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร กับพวกค้นบ้านผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้นของศาลก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 238 ได้บัญญัติยกเว้นให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล ได้แก่ ป.วิ.อ. มาตรา 92
ก่อนจะค้นบ้านผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้จับกุม ท. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ด ท. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ต้องหา ขณะจับกุม ท. เป็นเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ในขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนั้นพันตำรวจเอก ป. ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมจะทำให้เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนของกลางอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ที่บัญญัติว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน ดังนั้น การค้นบ้านผู้ต้องหาจึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติรับรองให้กฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากรัฐธรรมนูญฯ มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมยังใช้บังคับต่อไปได้
แม้พันตำรวจเอก ป. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร กับพวกค้นบ้านผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้นของศาลก็ตาม แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 238 ได้บัญญัติยกเว้นให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายที่บัญญัติยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล ได้แก่ ป.วิ.อ. มาตรา 92
ก่อนจะค้นบ้านผู้ต้องหา เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้จับกุม ท. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ด ท. ให้การว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ต้องหา ขณะจับกุม ท. เป็นเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 96 ในขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนั้นพันตำรวจเอก ป. ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมจะทำให้เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนของกลางอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) ที่บัญญัติว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน ดังนั้น การค้นบ้านผู้ต้องหาจึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน: การอ้างเหตุผลจากคำร้องเดิมในอุทธรณ์โดยไม่ระบุรายละเอียด
จำเลยอุทธรณ์ว่า ถ้าศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบพยานก็จะทราบข้อเท็จจริงในคดีที่จะทำให้จำเลยชนะคดีได้ โดยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ชัดแจ้ง เพียงแต่กล่าวอ้างถึงคำร้องจำเลยที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานจำเลยให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์จำเลย ทั้งมิได้กล่าวรายละเอียดตามคำร้องคัดค้านดังกล่าวมาในอุทธรณ์ด้วย จึงไม่อาจจะนำเอารายละเอียดในคำร้องนั้นมาประกอบอุทธรณ์จำเลยให้ชัดแจ้งได้ อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา225 วรรคหนึ่ง