คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 218 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกไม่เกินกระทงละ 5 ปี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิด 3 กระทง เรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 15 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินกระทงละ 5 ปี จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุแก้ไขโทษเล็กน้อยและโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลดโทษหนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อวินิจฉัยข้อกฎหมาย ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมาย
การฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย มีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิหลอกลวงผู้อื่นให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สิน
ความผิดฐานปลอมสัญญากู้เงินที่มีชื่อ ช. เป็นผู้กู้ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนจำคุกจำเลยในความผิดกระทงนี้ไม่เกิน5 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์นำสืบพิสูจน์ไม่ได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม กับขอให้รอการลงโทษแก่จำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อของ จ. โดย จ.มิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายให้อำนาจให้ลงลายมือชื่อแทนกันได้ สัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่จำเลยทำปลอมขึ้นซึ่งน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมผู้ให้กู้ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และเมื่อจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปแสดงต่อโจทก์ร่วมทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นสัญญากู้เงินที่ จ.ลงลายมือชื่อไว้จริง และมอบเงินตามสัญญากู้เงินให้แก่จำเลย จึงเป็นกรณีที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงโจทก์ร่วม แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินไปมอบให้แก่ จ.ก็ไม่มีผลทำให้ความผิดที่จำเลยก่อขึ้นจนสำเร็จแล้วกลายเป็นไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องการออกเช็คไม่มีมูลหนี้ การยอมความ และขอบเขตการพิจารณาคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ลงโทษปรับ10,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ลงโทษปรับ 4,000 บาท ก็ตาม ก็คงเป็นการปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ามีการยอมความกันแล้ว โดยไม่วินิจฉัยปัญหาอื่น โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญาฟ้องไม่ระงับ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยไม่ฎีกาฉะนั้นปัญหาเรื่องการยอมความจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยทั้งสองจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอุทธรณ์อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว และจำเลยทั้งสองหามีสิทธิฎีกาต่อมาอีกไม่ แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกไม่มีมูลหนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวเนื่องกับจำเลยที่ 2ผู้ร่วมออกเช็ค อันเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงิน ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลัง, การห้ามฎีกา, และอำนาจศาลในการยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยร่วม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ลงโทษปรับ 10,000 บาทแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ลงโทษปรับ 4,000 บาท ก็ตาม ก็คงเป็นการปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ามีการยอมความกันแล้วโดยไม่วินิจฉัยปัญหาอื่น โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอม-ความโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญาฟ้องไม่ระงับ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยไม่ฎีกา ฉะนั้นปัญหาเรื่องการยอมความจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยทั้งสองจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอุทธรณ์อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว และจำเลยทั้งสองหามีสิทธิฎีกาต่อมาอีกไม่
แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกไม่มีมูลหนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวเนื่องกับจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมออกเช็ค อันเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงิน ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 8 ไม่เกิน5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที๋ 8 รู้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยที่ 8 จ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าไปตัดถางหญ้าในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยที่ 8 จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 8อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 8 เป็นผู้ยึดถือครอบครองถางป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ไม่ทราบว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยที่ 8 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 มาถางที่พิพาทโดยเข้าใจว่าที่เกิดเหตุเป็นการปลูกป่าของทางราชการ จึงขาดเจตนากระทำผิด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเชื่อตามคำเบิกความและพยานหลักฐานโจทก์ว่าประชาชนทั่วไปทราบว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ทราบดีว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครรองป่าสงวนแห่งชาติ จึงมีความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่ 8 ที่ว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1, 122 (พ.ศ.2528) คลาดเคลื่อน เพราะหลงเชื่อคำเบิกความของพยานโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดในกฎกระทรวงซึ่งมิได้ระบุว่า หมู่ที่ 5ตำบลระบำ อำเภอลานสัก ตามฟ้องเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากในอำเภอลานสักคงมีแต่ตำบลล่านสักและตำบลป่าอ้อเท่านั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานในข้อเท็จจริง จึงไม่อาจฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 8ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 8 รู้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยที่ 8 จ้างจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 เข้าไปตัดถาง หญ้าในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยที่ 8 จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 8 อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 8 เป็นผู้ยึดถือครอบครองถาง ป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ไม่ทราบว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยที่ 8 ว่าจ้างจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 มาถาง ที่พิพาทโดยเข้าใจว่าที่เกิดเหตุเป็นการปลูกป่าของทางราชการ จึงขาดเจตนากระทำผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนโดยเชื่อตามคำเบิกความและพยานหลักฐานโจทก์ว่าประชาชนทั่วไปทราบดีว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติจึงมีความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่ 8ที่ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1,122(พ.ศ. 2528)คลาดเคลื่อน เพราะหลงเชื่อคำเบิกความของพยานโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดในกฎกระทรวงซึ่งมิได้ระบุว่าหมู่ที่ 5 ตำบลระบำ อำเภอลานสัก ตามฟ้องเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากในอำเภอลานสักคงมีแต่ตำบลลานสักและตำบลป่าอ้อเท่านั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 วรรคแรก กรณีโต้เถียงข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในคดีอาวุธปืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทกฎหมายบางกระทง มิได้แก้โทษจึงต้องห้าม มิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เอกสารหมาย ปจ.1 ไม่เป็นเอกสารสำหรับอาวุธปืนของกลาง และฟังไม่ได้ว่าจำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์สวัสดิ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์จำเลยนำอาวุธปืนของกลางพร้อมเอกสารหมาย ปจ.1 มายื่นคำร้องขอซื้ออาวุธปืนของกลางจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมีหนังสืออนุญาตให้ไปขอรับโอนซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ยังไม่ได้โอนเป็นชื่อของจำเลยอาวุธปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายนับว่าเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยวางอาวุธปืนของกลางในรถคันที่จำเลยขับ ซึ่งจอดอยู่หน้าร้านอาหาร ส่วนจำเลยกับพวกนั่งรับประทานอาหารในร้านดังกล่าว ไม่มีทรัพย์สินมีค่าในรถ การพาอาวุธปืนติดตัวไปถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามพฤติการณ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมิดชิดไม่เปิดเผยเพื่อป้องกันทรัพย์สินของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะสรุปโดยง่ายว่าเป็นความผิดและไม่มีเหตุสมควรเร่งด่วน เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับอาวุธปืนและการครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทกฎหมายบางกระทง มิได้แก้โทษจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เอกสารหมาย ปจ.1ไม่เป็นเอกสารสำหรับอาวุธปืนของกลาง และฟังไม่ได้ว่าจำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์ สวัสดิ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์จำเลยนำอาวุธปืนของกลางพร้อมเอกสารหมาย ปจ.1 มายื่นคำร้องขอซื้ออาวุธปืนของกลางจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมีหนังสืออนุญาตให้ไปขอรับโอนซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ยังไม่ได้โอนเป็นชื่อของจำเลย อาวุธปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายนับว่าเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยวางอาวุธปืนของกลางในรถคันที่จำเลยขับ ซึ่งจอดอยู่หน้าร้านอาหาร ส่วนจำเลยกับพวกนั่งรับประทานอาหารในร้านดังกล่าว ไม่มีทรัพย์สินมีค่าในรถ การพาอาวุธปืนติดตัวไปถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามพฤติการณ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมิดชิดไม่เปิดเผยเพื่อป้องกันทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะสรุปโดยง่ายว่าเป็นความผิดและไม่มีเหตุสมควรเร่งด่วน เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
of 13