คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 218 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาวุธปืนและบทลงโทษที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่ามิได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตขึ้นมาด้วยแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย แต่เมื่อโจทก์จำเลยสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยก่อน จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายเพื่อแกล้งให้ผู้เสียหายต้องรับโทษ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าผิดมาตรา 172,181(1) แล้วลงโทษตาม มาตรา 181(1) ไม่ถูกต้องเพราะคำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 181(1) หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปี แต่คดีนี้จำเลยแจ้งความเท็จว่าผู้เสียหายมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี โทษขั้นต่ำไม่ถึงสามปี จำเลยจึงไม่ผิดมาตรา 181(1) แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาปรับบทการลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง โดยไม่กำหนดโทษให้สูงขึ้นอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์คดีอาวุธปืน แก้ไขโทษจำคุกเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7,55,78 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 38,55,78 จำคุก 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงในความผิดฐานใช้ผู้อื่นลักทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีในความผิดฐานใช้ผู้อื่นให้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335,84 ส่วนความผิดฐานปลอมเอกสารกับใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,268,83 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอม 2 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษฐานใช้เอกสารปลอม 4 กระทง แต่ยังคงจำคุกกระทงละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยโดยลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง – เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162(2),267 เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี คู่ความต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากประเด็นเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ว่าจำเลยมีความผิดตามป.อ. มาตรา 157,162(2) และมาตรา 267 รวม 3 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 2 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา218 วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่าหลักฐานการรับแจ้งการตายซึ่งโจทก์นำมาสืบประกอบคำเบิกความพยานโจทก์เป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ เพราะไม่ปรากฏชื่อ ป. ผู้ตายในเอกสารแต่ในช่องที่ต้องระบุชื่อ ป. ผู้ตาย กลับลงข้อความอื่นจึงฟังไม่ได้เลยว่าเป็นหลักฐานแจ้งการตายของใคร และจำเลยไม่มีหน้าที่รับแจ้งการตายของ ป. การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ส่วนความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 162 และมาตรา 267 พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกับเอกสารเกี่ยวกับการที่จำเลยแจ้งย้ายภูมิลำเนาของ ป. ผู้ตาย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157,162 และ มาตรา 267จึงเป็นการคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมายนั้น เป็นการโต้เถียงการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินค่าครุภัณฑ์แล้วนำไปใช้ส่วนตัว ไม่ใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตหากขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นแล้ว
การกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ได้แก่การที่จำเลยซึ่งเป็นศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการแล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องจากโจทก์ร่วมนั้น เมื่อว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว โจทก์ร่วมได้ส่งมอบครุภัณฑ์ตามฟ้องให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อซึ่งกรรมการตรวจรับครุภัณฑ์ได้ตรวจรับครุภัณฑ์ตามฟ้องไว้โดยดีหลังจากนั้น สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อได้ทำเรื่องขอเบิกเงินไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้ทำการตรวจสอบหลักฐานและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องได้จำเลยและกรรมการรับเงินจึงได้ไปรับเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องซึ่งจ่ายเป็นเช็ค แล้วนำเข้าบัญชีของสำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อแสดงว่าในช่วงเวลาก่อนที่ขั้นตอนและหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องเสร็จสิ้นลง จำเลยมิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายประการใดข้อที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มอบเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่เบิกมาจากทางราชการให้แก่โจทก์ร่วม แม้ฟังว่าจำเลยทำเช่นนั้นจริงก็เป็นการกระทำภายหลังขั้นตอนการจัดซื้อเสร็จสิ้นไปแล้ว จึงมิใช่การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อครุภัณฑ์ตามฟ้องโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องกล่าวคือ จำเลยเบิกเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องจากทางราชการ แล้วไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วม กลับนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น แม้อาจถือได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบียดบังค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วยก็ตาม แต่เงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบียดบังไปนั้น เป็นเงินที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์จ่ายให้แก่สำนักงานศึกษาธิการกิ่งอำเภอเขาค้อเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ร่วมไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมมอบหมายจำเลยเป็นผู้รับมอบเงินแทน ต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวยังคงเป็นของทางราชการ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เมื่อไม่ปรากฏว่าส่วนราชการที่เป็นเจ้าของเงินได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพราะเหตุที่ได้กระทำการดังกล่าวพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยข้อหายักยอกทรัพย์ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และ มาตรา 264,268 ข้อหาละ 1 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก แต่เมื่อฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 ขึ้นมาสู่ การพิจารณาของศาลฎีกา และการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว คือการเอาใบเสร็จรับเงินของโจทก์ร่วมไปและกรอกข้อความในใบเสร็จรับเงินดังกล่าวบางฉบับ นำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ว่าได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ร่วมแล้วนั้นเห็นได้ชัดว่าเพื่อประโยชน์ในการเอาเงินค่าครุภัณฑ์ตามฟ้องไปอันเป็นการกระทำที่โจทก์อ้างว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 151 นั่นเอง ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยในความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง และความหมายของคำว่า 'ครอบครอง' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้
ฎีกาของจำเลยหาได้บรรยายให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยานที่โจทก์นำสืบในข้อไหนอย่างไร และได้สันนิษฐานอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193วรรคสอง, 225 และฎีกาข้อนี้กล่าวโดยสรุปก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายบทจำกัด คิดว่าต้องครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด และในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้หวงห้าม: ความผิดครอบครองรวมถึงการครอบครองแทนผู้อื่น และข้อจำกัดในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยาน
ฎีกาของจำเลยหาได้บรรยายให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำพยานที่โจทก์นำสืบในข้อไหนอย่างไรและได้สันนิษฐานอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง,225 และฎีกาข้อนี้กล่าวโดยสรุปก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด และในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เหตุโต้เถียงข้อเท็จจริงยุติแล้ว ประเด็นความเสียหายจากการใช้เอกสารปลอม
ที่จำเลยฎีกาว่า การจดทะเบียนจำนองตึกแถวตามฟ้องตามระเบียบของทางราชการไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินประกอบในการขอจดทะเบียนการจะใช้หรือไม่ใช้หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าการใช้เอกสารปลอมของจำเลยอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ป.และโจทก์ร่วม เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268หรือไม่ หาใช่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนจำนองด้วยเอกสารปลอม: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ไม่เข้าข่ายฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
ที่จำเลยฎีกาว่า การจดทะเบียนจำนองตึกแถวตามฟ้องตามระเบียบของทางราชการไม่จำเป็นจะต้องใช้หนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของที่ดินประกอบในการขอจดทะเบียนการจะใช้หรือไม่ใช้หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การใช้เอกสารปลอมของจำเลยอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ป.และโจทก์ร่วม เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 หรือไม่ หาใช่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
of 13