คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ พิพัทธ์ปราโมทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาขาดองค์ประกอบความผิดฐานมั่วสุมทำร้ายผู้อื่นและพาอาวุธ ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดดาบซึ่งเป็นอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาที่ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลฎีกายกฟ้องได้ แม้จำเลยรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดซึ่งเป็นอาวุธ ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษและผลกระทบต่อการรวมโทษ: ความผิดต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษเท่านั้น
ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตาม มาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังแล้วแต่กรณี ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น ความผิดในคดีหลังจะต้องกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามที่คดีก่อนกำหนดไว้ คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 117/2547 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 แต่คดีนี้จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 117/2547 ของศาลชั้นต้น การกระทำความผิดของจำเลยคดีหลังนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับคดีนี้ไม่ได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีก่อนเข้าคดีหลังต้องกระทำภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ การกระทำผิดก่อนศาลพิพากษายังไม่เข้าข่าย
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กำหนดว่า โทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น ความผิดในคดีหลังจะต้องกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามที่คดีก่อนกำหนดไว้ ปรากฏว่าคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 ให้จำคุกจำเลย 3 เดือนและปรับ 2,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ช่วงระยะเวลารอการลงโทษคือ นับแต่วันที่ 29 มกราคม 2547 ซึ่งเป็นวันพิพากษาเป็นต้นไปมีกำหนด 2 ปี แต่คดีนี้จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีก่อน การกระทำความผิดของจำเลยคดีหลังนี้จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับคดีนี้ไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) กำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4)
โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จากจำเลย ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ถูกให้ออกจากงาน แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ซึ่งการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ดังกล่าว เป็นการเรียกร้องเงินในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ซึ่งกำหนดให้มีอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี กรณีไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินดังกล่าวได้ซึ่งคือวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี ดังนั้น การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญจึงมีอายุความ 5 ปี ซึ่งไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญ จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี กรณีไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มาบังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง กรณีโต้แย้งข้อเท็จจริงในประเด็นค่าเช่าและสัญญาซื้อขาย
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองต้องใช้แก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายจากจำนวนค่าเช่าที่จะได้จากการให้เช่าตึกแถวและที่ดินพิพาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไป ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน แม้จำเลยที่ 2 จะฎีกาปัญหานี้ต่อไป แต่ก็เป็นที่เห็นได้แน่นอนแล้วว่าตึกแถวและที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 6,000 บาท ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาประวิงคดีในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ดี โดยสภาพและทำเลที่ตั้งของตึกแถวและที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เพียงไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท ก็ดี ล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างถือเป็นการฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ขอบังคับเอากับตัวบุคคล
การฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เป็นการขับไล่บุคคลไม่ว่าจะเป็นผู้บุกรุก ผู้เช่าหรือผู้อาศัยที่ไม่มีสิทธิจะอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น คำว่าบุคคลใดดังกล่าวจึงหมายถึงบุคคลที่อยู่ในอสังหาริมทรัพย์รวมสิ่งก่อสร้างหรือทรัพย์สินที่บุคคลนั้นเข้าไปก่อสร้างหรือนำเข้าไปไว้ในอสังหาริมทรัพย์หรือการเพาะปลูกใด ๆ ด้วย มิได้หมายถึงเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปก่อสร้างกระถางต้นไม้ในที่ดินพิพาทของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป กับยังขอให้ห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทอีกต่อไปด้วย จึงเป็นฟ้องที่อยู่ในความหมายคำว่า "ฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่บุคคลบุกรุกและสิ่งปลูกสร้าง การตีความ "บุคคลใด" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
การฟ้องขับไล่บุลลคใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เป็นการฟ้องขับไล่บุคคลไม่ว่าจะเป็นผู้บุกรุก ผู้เช่า หรือผู้อาศัยที่ไม่มีสิทธิจะอยู่ในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ให้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น คำว่าบุคคลใดดังกล่าวจึงหมายถึงบุคคลที่อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างหรือทรัพย์สินที่บุคคลนั้นเข้าไปก่อสร้างหรือนำเข้าไปไว้ในอสังหาริมทรัพย์หรือการเพาะปลูกใดๆ ด้วยมิได้หมายถึงเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปก่อสร้างกระถางต้นไม้ในที่ดินพิพาทของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไปกับยังขอให้ห้ามมิให้จำเลย และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทอีกต่อไปด้วย จึงเป็นฟ้องที่อยู่ในความหมายของคำว่า "ฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสองแล้ว
of 36