คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ พิพัทธ์ปราโมทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรณีลูกจ้างใช้รถของนายจ้างส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต และประเด็นการชำระหนี้ค่าจ้าง
โจทก์นำรถยนต์ที่จำเลยเช่ามาให้ทำงานของจำเลยขับพาภริยาและบุตรของโจทก์ไปเที่ยวแล้วเกิดอุบัติเหตุ ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายอย่างมาก เป็นการนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการไม่ซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยการอาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่สามารถนำรถยนต์ของจำเลยไปใช้ในการทำงานได้ ขับไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทำให้จำเลยไม่มีรถยนต์ใช้ปฏิบัติงานนานถึง 2 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีร้ายแรง จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ จึงจะเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอรับชำระหนี้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขจำกัดตัดสิทธิอื่น ๆ อันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบโจทก์ย่อมปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในหนี้เงินค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ของเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จึงไม่ถือว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง ให้แก่โจทก์ แต่พออนุโลมได้ว่าโจทก์ขอให้จ่ายดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาด้วย เพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอคืนนามบัตรลูกค้าต้องชัดเจนและพิสูจน์ได้ มิเช่นนั้นศาลไม่สามารถบังคับได้ และการพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอในฟ้อง
คำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเรื่องเงินโบนัส ได้บรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้เงินจากจำเลยเป็นจำนวนเท่าใด อันเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา แต่โจทก์ไม่ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ในคำขอท้ายคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้ศาลแรงงานกลางจะกำหนดเป็นประเด็นว่า จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางกำหนดไว้ผิดหลงไปเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง หมายความว่า โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้อะไรหรือกระทำการใด หรืองดเว้นกระทำการใด ก็ต้องบรรยายให้แจ้งชัดในคำขอบังคับท้ายคำฟ้องและพิสูจน์ให้เห็นตามคำขอบังคับนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับของศาลที่ออกตามคำพิพากษาได้อย่างถูกต้อง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็สามารถบังคับคดีได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยยึดนามบัตรของลูกค้าประมาณ 2,000 แผ่น ที่ติดต่อกับโจทก์ไว้ และมีคำขอบังคับท้ายคำฟ้องขอให้จำเลยคืนนามบัตรประมาณ 2,000 แผ่นนั้นให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่านามบัตรที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนให้โจทก์นั้น เป็นนามบัตรของใครมีชื่ออะไรบ้าง ศาลย่อมไม่สามารถบังคับให้จำเลยคืนนามบัตรที่ถูกต้องให้แก่โจทก์ หากศาลพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ จำเลยก็ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ การที่ศาลแรงงานกลางไม่พิพากษาบังคับให้จำเลยคืนนามบัตรประมาณ 2,000 แผ่น ให้แก่โจทก์นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลอันสมควร กรณีละเลยหน้าที่จนเกิดความเสียหายต่อธนาคาร
โจทก์เป็นหัวหน้าสินเชื่อมีหน้าที่ในการพิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบ ควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้ถูกต้องเป็นไปตามระเบียบ แบบแผน คำสั่ง และวิธีปฏิบัติของธนาคารจำเลยอย่างเคร่งครัด แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยให้มีการปล่อยสินเชื่อไปอย่างเร่งรีบ ไม่ตรวจสอบการวิเคราะห์สินเชื่อและผ่านงานเสนอขออนุมัติสินเชื่อไปโดยไม่พิจารณากลั่นกรองตรวจสอบให้รอบคอบ การปล่อยสินเชื่อโครงการมีการตีราคาประเมินสูงกว่าความเป็นจริง งดเว้น ละเลย ไม่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องตรงตามระเบียบของธนาคารจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จนทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเกิดหนี้ค้างชำระเป็นจำนวนมาก แม้จะไม่มีพฤติการณ์ว่าโจทก์ตั้งใจหรือเจตนาเอื้อประโยชน์ให้บุคคลเป็นพิเศษ แต่การทำงานที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่และทำงานผิดพลาดของโจทก์เช่นนี้ ย่อมมีเหตุที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายหรือรับโจทก์กลับเข้าทำงานกับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง: ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง vs. ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง
การยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิ พ.ศ. 2541 นั้น มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งผู้สมัครผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของตนได้ตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง และกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว แต่ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใด ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้นได้ตามมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พ. มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่ดำเนินการสืบสวนสอบสวนและยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งของ พ. ตามที่ผู้ร้องขอให้ตรวจสอบ เป็นคำร้องที่ไม่ต้องด้วยมาตรา 34 วรรคหนึ่ง และมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ผู้ร้อง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง: ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง vs. ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง
การยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มีได้ 2 กรณีคือ (1) กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของตนได้ตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง และ (2) กรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว แต่ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขาดคุณสมบัตรหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้นได้ตามมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินจิฉัยว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและการดำเนินการของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคำร้องที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12578/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดฐานรับของโจร: ผู้รับจ้างขนส่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการถูกลักทรัพย์
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับจ้างขนส่งกระเบื้องจากบริษัท ค. ผู้ว่าจ้างไปส่งให้แก่ร้านค้าจึงเป็นผู้ครอบครองดูแลและจะต้องรับผิดชำระค่ากระเบื้องที่สูญหายไปในระหว่างขนส่งให้แก่ผู้ว่าจ้าง โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงในการที่กระเบื้องดังกล่าวสูญหายไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12460/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติชมเจ้าพนักงานด้วยความเป็นธรรมและการแสดงเจตนาสุจริตในการร้องเรียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เวลาเช้าตรู่ของวันเกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่หลายคนแต่งกายนอกเครื่องแบบไปขอค้นบ้านจำเลยเพื่อพบและจับน้องชายของจำเลยในคดีเช็ค ส่วนโจทก์ไม่ใช่เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ แต่ได้แต่งเครื่องแบบเจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านของจำเลยด้วยในฐานะที่เป็นบิดาของผู้เสียหายในคดีเช็คที่น้องชายของจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้ แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค เมื่อคำนึงถึงเหตุการณ์และพฤติการณ์เกี่ยวกับการทวงหนี้ของโจทก์ที่แต่งเครื่องแบบไปขอค้นบ้านของจำเลยซึ่งเป็นผู้หญิงและมีบุตรผู้เยาว์ 2 คน จนจำเลยเกิดความเกรงกลัวต่อโจทก์จนต้องยอมใช้หนี้แทนน้องชายให้แก่โจทก์ จำเลยมีสิทธิที่จะเข้าใจได้โดยสุจริตว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประพฤติตนของโจทก์และมีสิทธิที่จะร้องเรียนโดยสุจริตได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประพฤติตนไม่เหมาะสม ดังนั้น การที่จำเลยส่งโทรสารไปลงหนังสือพิมพ์โดยมีใจความเป็นการแสดงความเสียใจ น้อยใจของจำเลยและเกรงกลัวจากการกระทำของโจทก์จนต้องชำระหนี้แทนน้องชายให้แก่โจทก์ไป เป็นทำนองขอให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสอดส่องตักเตือนเจ้าพนักงานตำรวจให้เป็นมิตรกับประชาชน จึงเป็นการติชมโจทก์ด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนเยี่ยงจำเลยที่ต้องประสบเหตุการณ์เช่นนั้นพึงกระทำได้ และการที่จำเลยระบุชื่อนามสกุลจริงของโจทก์และจำเลย ตลอดจนที่อยู่ของจำเลยไว้แจ้งชัดในโทรสารด้วยย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเขียนข้อความในโทรสารนั้นด้วยเจตนาสุจริตตามเรื่องที่เกิดขึ้นแก่จำเลย กรณีต้องด้วย ป.อ. มาตรา 329 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12088/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้น หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อประกาศของจำเลยได้ประกาศจ่ายค่าเที่ยวแก่ลูกจ้างผู้ขับรถบรรทุกหัวลากแต่ฝ่ายเดียว แล้วมีการถือปฏิบัติจ่ายค่าเที่ยวเรื่อยมาจนกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย ก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง ดังนั้น จำเลยจึงสามารถทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ โดยตกลงยกเว้นสิทธิประโยชน์บางส่วนตามประกาศได้ ไม่ขัดต่อ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12088/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง vs. ประกาศฝ่ายเดียว: ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 จะใช้คำว่า ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมิได้บัญญัติว่าต้องเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้อง แต่บทบัญญัติมาตรา 20 ดังกล่าว บัญญัติต่อเนื่องจากมาตรา 13 ถึง 19 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วมีการเจรจาต่อรองจนตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างนำไปจดทะเบียนอันมีผลบังคับทั้งสองฝ่ายแล้วต่อด้วยมาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 จึงหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อประกาศของจำเลย จำเลยได้ประกาศจ่ายค่าเที่ยวแก่ลูกจ้างรถบรรทุกหัวลากแต่ฝ่ายเดียว แล้วมีการถือปฏิบัติจ่ายค่าเที่ยวเรื่อยมาจนกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง จำเลยจึงสามารถทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่ทำงานใหม่โดยตกลงยกเว้นสิทธิประโยชน์บางส่วนตามประกาศของจำเลยได้ ไม่ขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11394-11547/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: เหตุผลอันสมควรล่าช้าการยื่นคำขอ
วันที่มีการคลอดบุตรหรือตายแล้วแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ยังมิได้จ่ายเงินสมทบให้แก่จำเลยครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เพราะอยู่ในระหว่างที่มีการโต้แย้งขององค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายเพียงใด ดังนั้น โจทก์จึงยังมิอาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายแล้วแต่กรณีตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า องค์การค้าของคุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ว่าจะต้องหักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพิ่มเติมในกรณีคลอดบุตรและกรณีตาย โดยจะหักย้อนหลังไปจนถึงเดือนเมษายน 2538 และองค์การค้าของคุรุสภาได้สำรองจ่ายแทนเงินสมทบส่วนของลูกจ้างส่งไปให้จำเลยเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2543 และหักเงินสมทบจากลูกจ้างทั้งหมดครบถ้วน เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2544 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน 2538 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายอันเป็นวันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น เป็นกรณีที่โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า โจทก์จึงยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้
of 36