คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ พิพัทธ์ปราโมทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างนำพยานหลักฐานเหตุอื่นมาต่อสู้ได้ หากเหตุนั้นเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติลูกจ้าง
ข้อห้ามไม่ให้นายจ้างอ้างเหตุที่ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ในภายหลังตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม นั้น จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในเรื่องการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ดังนั้น แม้จำเลยจะระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างว่า โจทก์ไม่สามารถขายสินค้าให้ได้ยอดตามเป้าหมายที่จำเลยกำหนดไว้จำเลยก็สามารถต่อสู้ว่า เพราะโจทก์ไปทะเลาะกับลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อให้เห็นว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ และการที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงานนั้น ย่อมหมายความว่าโจทก์ไม่มีคุณสมบัติพอที่จำเลยจะให้เป็นพนักงานขายต่อไป ซึ่งรวมถึงความสามารถในการขายสินค้า ความอดกลั้นและการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า จำเลยจึงสามารถนำสืบว่าระหว่างไปทวงหนี้ โจทก์ไปทะเลาะกับลูกค้าเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ขาดความอดกลั้นและไม่มีมนุษยสัมพันธ์ในการเป็นพนักงานขายที่ดี ซึ่งอยู่ในประเด็นคำให้การของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสหลังกระทำความผิดทางเพศกับเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี: ผลกระทบต่อการลงโทษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 1 สมรสกัน ดังนั้น ความผิดในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 วรรคท้าย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงาน แม้ตกลงในใบสมัครงานขัดกฎหมาย
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันไว้ในใบสมัครงานว่าลูกจ้าง ไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ข้อตกลงจึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และใช้บังคับไม่ได้ ลูกจ้าง ย่อมมีสิทธิได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์
จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ การลดค่าจ้างหรือการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 65 (1) ที่จะทำให้ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามมาตรา 66 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดดังกล่าวตามมาตรา 62

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือแจ้งเบาะแสยาเสพติด ลดโทษจำเลยฐานครอบครองเพื่อจำหน่าย
การที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 ทั้งยังให้ความร่วมมือช่วยเหลือเจ้าพนักงานตำรวจในการจับกุมจำเลยที่ 2 อีก โดยโทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 2 ทำทีสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนและให้จำเลยที่ 2 นำมาส่งที่ร้านของจำเลยที่ 1 เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ได้รออยู่จับกุม เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนของกลาง นับเป็นการได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อตำรวจตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกรอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับคดีใหม่ และการแก้ไขคำพิพากษาที่มิชอบตามกฎหมาย
ก่อนคดีนี้ จำเลยที่ 4 เคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ในความผิดฐานกระทำอนาจารและภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 4 กระทำความผิดในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนดังกล่าว มาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้บวกโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ด้วย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องนั้น เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจำกัดเฉพาะตำแหน่งเดิม หากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งโดยมิได้รับความยินยอม จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ อ. ตามสัญญาข้อ 1 ระบุว่า ตามที่โจทก์ตกลงรับ อ. เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานขาย หาก อ. ได้ก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นแก่โจทก์หรือกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยยินยอมรับผิดชอบชดใช้หนี้สินและค่าเสียหายทั้งหมดที่ อ. ได้ก่อขึ้นโดยจะไม่อ้างเหตุผลใด ๆ มาปัดความรับผิดชอบเป็นอันขาด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความจำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งพนักงานขายและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยค้ำประกันการทำงานของ อ. ในตำแหน่งพนักงานขายเท่านั้น เมื่อโจทก์เลื่อนตำแหน่งให้ อ. เป็นผู้จัดการสาขาอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยมากขึ้นโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในความเสียหายที่ อ. ได้กระทำขึ้นในขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5261/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีพรากผู้เยาว์ – ข่มขืนกระทำชำเรา ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุด
ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80 เป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 80, 279 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 279 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปรับคลื่นวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามจำนวนเครื่อง
การที่จำเลยลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแล้วนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนนั้น แม้จำเลยจะกระทำในวันเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำที่สามารถแยกจากกันเป็นราย ๆ ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นและนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนได้
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 3 เครื่อง มาปรับแต่งคลื่นความถี่ให้ใช้ได้กับคลื่นความถี่ของ ย. ซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เช่าใช้บริการแต่ผู้เดียว จำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 3 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาค้ำประกันและจำนอง: ต้องรอจนกว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ก่อน จึงมีสิทธิเรียกร้อง
สัญญากู้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นสัญญาที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์ทั้งสี่เนื่องจากการที่โจทก์ทั้งสี่จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการที่ ม. กับ บ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคาร หากโจทก์ทั้งสี่ต้องชำระหนี้แก่ธนาคารแล้ว จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามสัญญากู้ ดังนั้น ในขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามภาระการค้ำประกันแก่ธนาคารอันเนื่องมาจากมูลหนี้ของ ม. กับ บ. ผู้กู้ จำเลยจึงยังไม่มีความรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยตกลงว่าจำเลยจะไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าวแล้วคืนโฉนดนั้นแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจำเลยก็จะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนอง ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว และเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาค้ำประกัน - สัญญาไม่เป็นลายลักษณ์อักษร - ไถ่ถอนจำนอง - ข้อตกลงไม่มีผลผูกพัน
สัญญากู้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ เป็นสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ทั้งสี่ เนื่องจากการที่โจทก์ทั้งสี่ได้ทำสัญญาค้ำประกันและจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ที่ ม. กับ บ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคาร หากโจทก์ทั้งสี่ต้องชำระหนี้แก่ธนาคารแล้วจำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามสัญญา โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยที่ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามภาระการค้ำประกันแก่ธนาคารอันเนื่องจากมูลหนี้ของ ม. กับ บ. จำเลยยังไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่โจทก์ทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยตกลงจะไถ่ถอนจำนองที่ดินแล้วคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเงินจำนวน 500,000 บาท มอบแก่โจทก์ทั้งสี่เพื่อนำไปไถ่ถอนจำนองนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะให้ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 โจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าว
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
of 36