พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญา ยักยอกทรัพย์
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย แม้การขอให้คืนหรือใช้เงินจะเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีข้อตกลงกับโจทก์ว่าในระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดและยอมเสียค่าปรับให้โจทก์อีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่โดยยักยอกเงินของโจทก์ด้วยวิธีการต่างๆ หลายครั้งรวมเป็นเงิน 1,222,095 บาท อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวและค่าปรับตามสัญญาให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกพร้อมค่าปรับ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งของคดีอาญาคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแพ่งจากสัญญาจ้างแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาเรื่องยักยอกเงิน แม้มีคำขอให้คืนเงินเหมือนกัน
คดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อันเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงิน เก็บรักษาเงิน อนุมัติและเบิกจ่ายเงิน ตกลงว่าระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดพร้อมค่าปรับอีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหาย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินโจทก์ไปหลายครั้ง อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้เงินที่ยักยอกและค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ซึ่งเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีมูลจากสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน มิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาเรื่องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ไม่คัดค้านเอกสาร แต่ศาลยังต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานอื่นประกอบ
แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งจะมิได้คัดค้านการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความอีกฝ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ก็เพียงแต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความแท้จริงของเอกสารนั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารนั้น เพราะข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ศาลต้องพิจารณาและมีอำนาจรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงอีกชั้นหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รังวัดพื้นที่ไม่ตรงตามสัญญา ไม่ถือเป็นเหตุเลิกสัญญา หากสัญญาระบุให้คิดราคาตามพื้นที่รังวัดจริง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยระบุจำนวนเนื้อที่ไว้หากผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยกว่าหรือมากกว่าเกินร้อยละห้าของจำนวนเนื่อที่ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายหรือรับเอาไว้โดยชำระราคาตามส่วนก็ได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท แม้ตอนแรกจะระบุเนื้อที่ดินที่จะซื้อจะขายกันมีเนื้อที่แน่นอน แต่ได้มีการบันทึกเพิ่มเติมในหมายเหตุว่า ผู้จะขายจะต้องทำการรังวัดสอบเขตใหม่ ได้เนื้อที่จริงเท่าใดให้คิดกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้ใหม่ ถ้าได้เนื้อที่มากหรือน้อยกว่าในโฉนดที่คิดในราคาไร่ละ 350,000 บาท ซึ่งเป็นการจะซื้อจะขายที่ดินคิดตามราคาเนื้อที่ที่รังวัดได้จริง มิใช่การจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 แม้รังวัดที่ดินพิพาทแล้วจะมีเนื้อที่น้อยกว่าเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ดินในโฉนดก็ไม่อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาตามมาตราดังกล่าวได้ อีกทั้งไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาให้สิทธิผู้จะซื้อที่จะบอกเลิกสัญญาในกรณีรังวัดที่ดินแล้วได้เนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่โฉนดมาก โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายในกรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรังวัดที่ดินใหม่, เนื้อที่ต่างกัน, สิทธิเลิกสัญญา, ฝ่ายผิดสัญญา
แม้สัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.8 จะระบุเนื้อที่ดินที่จะซื้อจะขายกันจำนวน 31 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา แต่ได้มีการบันทึกเพิ่มเติมในหมายเหตุว่า ผู้จะขายจะต้องทำการรังวัดสอบเขตใหม่ ได้เนื้อที่จริงเท่าใดให้คิดกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้ใหม่ ถ้าได้เนื้อที่มากหรือน้อยกว่าในโฉนดให้คิดในราคาไร่ละ 350,000 บาท ซึ่งเป็นการจะซื้อจะขายที่ดินคิดราคาตามเนื้อที่ที่รังวัดได้จริง มิใช่การจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 แม้รังวัดที่ดินพิพาทจะมีเนื้อที่น้อยกว่าเกินร้อยละห้าของเนื้อที่ดินในโฉนด ก็ไม่อาจใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 466
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกงแม้พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหายักยอก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการยักยอก โจทก์มีสิทธิปรับบทฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกความผิดฐานรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน และช่วยเหลือซ่อนเร้น เป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ 2 ข้อ ข้อ ก. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และข้อ ข. ว่า ภายหลังการกระทำความผิดข้อ ก. จำเลยให้ที่พำนัก ช่วยซ่อนเร้น และช่วยเหลือด้วยประการใดๆ แก่คนต่างด้าวโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็นสองกรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองและรับเข้าทำงาน ศาลพิจารณาเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยรับคนต่างด้าวเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง และนอกจากการรับเข้าทำงานแล้วจำเลยยังช่วยด้วยประการอื่น ๆ อีก โดยให้ที่พำนักและพักอาศัย ช่วยซ่อนเร้น และช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวดังกล่าวเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมและไม่ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันจากการทำสุราเถื่อนและการจำหน่าย โดยแยกพิจารณาบทบัญญัติและอัตราโทษที่ถูกต้อง
สุรากลั่นของกลางคดีนี้จะเป็นจำนวนเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าในความผิดแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน และสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ และ พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 5, 30, 32 บัญญัติความผิดและบทลงโทษฐานทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายไว้คนละมาตรากัน ดังนั้น การที่จำเลยทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุรากลั่นนั้น จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91
สำหรับความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือการทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทเพิ่มโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้น ที่จำเลยขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
ศาลล่างทั้งสองลงโทษเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
สำหรับความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือการทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทเพิ่มโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้น ที่จำเลยขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
ศาลล่างทั้งสองลงโทษเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225