คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ พิพัทธ์ปราโมทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: 'เงินเดือน' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) ไม่ครอบคลุมค่าจ้างลูกจ้างทั่วไป
คำว่า "เงินเดือน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) หมายถึง เงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตาม พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งฯ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2538 ถึงเดือนธันวาคม 2541 เป็นเงินรวม 434,544 บาท ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) อันมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: ค่าจ้างลูกจ้างมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้าง ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) อันมีอายุความ 2 ปี มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 เพราะคำว่า "เงินเดือน" ตามบทมาตราดังกล่าวหมายถึงเงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันดอกเบี้ยเกินอัตรา: สัญญาเป็นโมฆะ, จำเลยไม่ต้องรับผิด
พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ในการจดทะเบียนจำนองตามสัญญาจำนองโจทก์ได้ให้เงินจำนวน 920,000 บาท แก่จำเลย สัญญาจำนองจึงเป็นเพียงการทำประกันจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามสัญญาจำนองครั้งแรกซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ข้อกำหนดเรียกดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ จำเลยหาต้องรับผิดตามสัญญาจำนองต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหง: การยิงเพื่อป้องกันตนเองหลังถูกทำร้ายและคุกคาม
โจทก์ร่วมทั้งสองไปที่ร้านอาหารของ ว. เพราะต้องการหาตัวคนที่ด่าโจทก์ร่วมที่ 2 เกี่ยวกับการขับรถ แต่ ว. และจำเลยบอกโจทก์ร่วมทั้งสองว่าไม่มีคนด่าให้กลับไปเสีย โจทก์ร่วมทั้งสองก็ยังไม่ยอมกลับ แต่พยายามหาตัวคนด่าให้ได้ พฤติการณ์ที่โจทก์ร่วมทั้งสองเข้าไปหาจำเลยหลังจากที่โจทก์ร่วมทั้งสองถูกด่าย่อมไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ การที่โจทก์ร่วมทั้งสองเข้าไปก่อเหตุวิวาทกับจำเลยโดยเข้าใจว่าจำเลยด่าตน ทั้งที่จำเลยและ ว. บอกโจทก์ร่วมทั้งสองว่าจำเลยไม่ได้ด่า โจทก์ร่วมทั้งสองก็ยังหาเรื่องกับจำเลยอยู่อีก ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 39 ปี โจทก์ร่วมที่ 1 อายุ 25 ปี และโจทก์ร่วมที่ 2 อายุ 21 ปี จำเลยย่อมเกิดความรู้สึกโกรธที่โจทก์ร่วมทั้งสองอายุน้อยกว่ามากมาหาเรื่อง ทั้งยังผลักอกจำเลยอันเป็นการแสดงว่าจะทำร้ายจำเลยอีกด้วย การกระทำของโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นการข่มเหง่จำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมทั้งสองในทันที จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้แท้งลูก ไม่จำต้องมีเจตนาพิเศษ
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำ โดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลถึงอันตรายสาหัสนั้น ดังนั้น แม้จำเลยจะทำร้ายผู้เสียหายโดยหามีเจตนาทำให้แท้งลูกก็ตาม เมื่อผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้เสียหายต้องแท้งลูกแล้ว จำเลยก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำร้ายร่างกายไม่สำคัญ หากผลของการกระทำทำให้เกิดอันตรายสาหัส จำเลยต้องรับผิดตามมาตรา 297
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำ โดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลถึงอันตรายสาหัสนั้น ดังนั้น แม้จำเลยจะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยไม่มีเจตนาทำให้แท้งลูกก็ตาม เมื่อผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้เสียหายต้องแท้งลูกแล้ว จำเลยต้องมีความผิดตามมาตรา 297 (5) ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้แท้งลูก แม้ไม่มีเจตนา ก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลถึงอันตรายสาหัสนั้น ดังนั้นแม้จำเลยจะทำร้ายผู้เสียหายโดยมิได้มีเจตนาทำให้แท้งลูก เมื่อผลจากการทำร้ายนั้นทำให้ผู้เสียหายต้องแท้งลูกแล้ว จำเลยก็ต้องมีความผิดตามมาตรา 297(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะผู้เสียหายนั่งอยู่บนแคร่จำเลยเดินเข้าไปตบผู้เสียหายจนตกจากแคร่ แล้วจิกผมให้ศีรษะผู้เสียหายกระแทกกับเสา เมื่อมีผู้เข้าห้าม จำเลยก็ถีบที่ท้องของผู้เสียหาย อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายสมัครใจทะเลาะวิวาทกับจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบการทำงานร้ายแรง กรณีการกระจายหนี้และทำสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการทำงานเรื่องโจทก์กระจายหนี้ให้ลูกหนี้แต่ละรายใช้วงเงินสินเชื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์แทนการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ และยอมให้ลูกหนี้เงินกู้ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งกันและกัน ทำให้ธนาคารจำเลยไม่สามารถควบคุมการปล่อยสินเชื่อได้ เป็นเหตุให้เกิดหนี้เสีย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อความเชื่อถือของประชาชน จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (3) และจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินและการออกเช็คเป็นหลักประกัน การตีความเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
โจทก์เป็นผู้จัดหาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาด้วยตนเอง และเป็นผู้กรอกข้อความเอง ซึ่งปรากฏว่าโจทก์มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี หากเห็นว่าข้อความในหนังสือสัญญาไม่สัมพันธ์หรือใช้ไม่ได้กับการออกเช็คพิพาทในข้อสาระสำคัญ โจทก์ย่อมทราบดีและน่าจะทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับมีข้อความตรงกันในข้อ 4 ว่า เพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน จำเลยผู้กู้นำเช็คพิพาทแต่ละฉบับมอบให้ไว้แก่โจทก์ผู้ให้กู้เพื่อยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การฎีกาโดยไม่แสดงเหตุผลความไม่ถูกต้องของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่าจำเลยยังไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาพิพากษาอีกชั้นหนึ่ง โดยมีข้อความเพียงว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เนื่องจากพยานโจทก์ที่นำสืบเป็นพยานบอกเล่าไม่ควรรับฟัง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุกจำเลย 12 ปี เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีความเห็นไม่ตรงกันเช่นนี้ สมควรที่คดีนี้จะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุด เพื่อได้โปรดพิจารณาพิพากษาชี้ขาดเป็นที่สุด จำเลยก็พร้อมจะยอมรับตามคำพิพากษาของศาลฎีกาทุกประการ ฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เพื่อให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 36