พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำรับสารภาพและรายงานการสืบเสาะพินิจในคดีอาญา การคัดค้านรายงาน และอำนาจศาลในการพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำอนาจารแก่เด็กหญิง ก. ผู้เสียหาย อายุ 12 ปีเศษ โดยใช้กำลังประทุษร้ายเข้ากอดปล้ำและพยายามถอดกางเกงของผู้เสียหายเพื่อกระทำชำเรา จำเลยให้การรับสารภาพ การที่ศาลมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยเนื่องจากศาลรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยแล้วว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำฟ้อง แต่ต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษจำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควรและเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยเท่านั้น และศาลมีอำนาจที่จะรับฟังรายงานและความเห็นของพนักงานคุมประพฤตินั้นได้ เพียงแต่ถ้าจะใช้รายงานและความเห็นนั้นเป็นผลร้ายแก่จำเลย ศาลต้องแจ้งข้อความนั้นให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยคัดค้าน พนักงานคุมประพฤติมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบประกอบรายงานความเห็นก่อนและจำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างได้ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 13 การที่จำเลยแถลงว่ารายงานการสืบเสาะและพินิจในส่วนที่ว่าจำเลยใช้มือฉุดดึงร่างกาย ดึงกางเกงขาสั้นและกางเกงชั้นในของผู้เสียหายลงมาบริเวณหัวเข่านั้นไม่เป็นความจริง เท่ากับจำเลยคัดค้านรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจำเลยเห็นว่าเป็นผลร้ายแก่จำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่มิได้หมายความว่าจำเลยให้การปฏิเสธ เมื่อไม่ปรากฏว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และมิใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่สืบพยานโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวการร่วมและการยกฟ้องตามประเด็นนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันก่อสร้างอาคารชุดและนำห้องชุดออกขาย โจทก์ซื้อห้องชุดจากจำเลยทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญามิได้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า มิได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารชุดและนำห้องชุดออกขาย จำเลยที่ 1 ขายโครงการให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการร่วมหรือไม่ ไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุเป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 หรือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามมาตรา 350 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายและผลของการรับชำระค่างวดเกินกำหนด แม้มีข้อตกลงยกเลิกสัญญาได้ทันที
ตามข้อกำหนดแห่งสัญญากำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่างวดตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญายกเลิกทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว แต่จำเลยชำระค่างวดรวม 24 งวด เกินกำหนดระยะเวลาและเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญาเกือบทุกงวด โจทก์ก็รับไว้ทุกงวด ไม่เคยปฏิเสธการชำระค่างวดทุกงวดที่เกินกำหนดแม้โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยภายหลังที่จำเลยชำระค่างวดไป 22 งวด แล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยนำเงินค่างวดงวดที่ 23 และ 24 ไปชำระให้แก่โจทก์ หลังจากโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยเพียง 1 สัปดาห์ โจทก์ก็รับไว้โดยไม่อิดเอื้อน ย่อมแสดงว่า ในทางปฏิบัติต่อกันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงจะนำเหตุแห่งข้อกำหนดในสัญญามาเป็นข้ออ้างสัญญาเลิกต่อกันทันทีเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามิได้ กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 โดยหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาโจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรและบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่างวดสุดท้ายภายในระยะเวลานั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติโดยไม่มีเหตุที่จะยกขึ้นปฏิเสธ โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงทั้งหมดมาเป็นเหตุยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ หาเป็นการพิจารณาหรือพิพากษานอกประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การโดยไม่ชอบไม่
ศาลมีอำนาจที่จะรับฟังข้อเท็จจริงทั้งหมดมาเป็นเหตุยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ หาเป็นการพิจารณาหรือพิพากษานอกประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การโดยไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: พาคนต่างด้าวเข้าเมือง และ ซ่อนเร้นคนต่างด้าว
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันช่วยซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าวเพื่อให้พ้นจากการจับกุมย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง สามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบยาเสพติดเพื่อเสพร่วมกัน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจำหน่าย
จำเลยมอบเมทแอมเฟตามีนให้ ส. เพื่อให้ ส. เตรียมเมทแอมเฟตามีนให้อยู่ในสภาพพร้อมเสพ แล้วจำเลยและ ส. เสพด้วยกันในเวลาต่อเนื่องกับที่ ส. ได้รับเมทแอมเฟตามีนมา แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะเสพเมทแอมเฟตามีน แต่เนื่องจาก ส. มีอุปกรณ์การเสพแล้วจึงมีเจตนาเสพเมทแอมเฟตามีนด้วยกันในภายหลัง จำเลยจึงให้ ส. ช่วยดำเนินการให้เท่านั้น เป็นการมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้กระทำความผิดด้วยกัน มิใช่เรื่องที่จำเลยมีเจตนาแจกจ่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ส. การกระทำของจำเลยจึงหาได้อยู่ในความหมายของคำว่า "จำหน่าย" ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงหางานต่างประเทศและได้ทรัพย์สิน ถือเป็นความผิดแม้ไม่มีการส่งคนไปทำงานจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี เมื่อผู้กระทำมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดแล้วไม่จำต้องมีการส่งคนหางานไปทำงานยังต่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกเจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีช่วยเหลือคนต่างด้าวและรับเข้าทำงาน
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยได้ให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวโดยให้เข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. อันเป็นการช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม และบรรยายฟ้องข้อ ข. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน โดยรับเข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย โดยโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการรับคนต่างด้าวนั้นให้เข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยเพียงประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่ตามฟ้องข้อ ก. กลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ช่วยคนต่างด้าวด้วยประการอื่น ๆ อีก นอกจากการรับเข้าทำงานโดยให้คนต่างด้าวนั้นเข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้ที่ดิน: เหตุประพฤติเนรคุณจากการด่าทอ จำเลยไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทร้ายแรง
เหตุเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างกันทำให้จำเลยมีโทสะด่าว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ กับจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคายว่า "อีพวกดอกทองไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู พวกมึงก็ดอกทองเหมือนกัน" ซึ่งโดยวิสัยของบุคคลระดับชาวบ้านเช่นนี้ใช่ด่าว่ากัน แม้ถ้อยคำจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จำเลยจะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้าอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้าเสียทีเดียว โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนการให้โดยเสน่หาจากกรณีการประพฤติเนรคุณจากการใช้ถ้อยคำด่าทอ แม้ไม่สุภาพ แต่ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติห่าง ๆ ของโจทก์ทั้งห้า ได้รับการยกให้ที่ดินตามฟ้องจากโจทก์ทั้งห้าโดยเสน่หา ต่อมาโจทก์ทั้งห้าได้ไปต่อว่าจำเลยในเรื่องที่โจทก์ที่ 2 ถูกจำเลยกล่าวหาว่าย้ายหลักหมุดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย ทำให้จำเลยมีโทสะ ด่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ว่า "อีพวกดอกทอง ไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู มึงออกไป ออกไปจากบ้านกู" นั้น เป็นถ้อยคำซึ่งโดยวิสัยชาวบ้านที่ใช้ด่ากัน ดังนี้ แม้ถ้อยคำเช่นนั้นจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้าอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน