พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องการจดทะเบียนที่ดินต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
แม้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำร้อง ก็เป็นเพียงการรับรองสิทธิในที่ดินแก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดมาเป็นชื่อผู้ร้อง ตามที่ ป. ที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธการใช้สิทธิของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าผู้ร้องไม่ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป. ที่ดิน มาตรา 103 เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องพึงต้องนำคดีมาสู่ศาลในลักษณะของคดีมีข้อพิพาท การที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือเป็นการใช้สิทธิทางศาล ไม่มีกฎหมายรองรับให้กระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนแก้ชื่อกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินตามคำร้องขอ เป็นเพียงการวินิจฉัยรองรับสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินมาเป็นชื่อของผู้ร้องตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ แต่เมื่อการใช้สิทธิของผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธโดยอ้างเหตุผู้ร้องไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามมาตรา 103 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องโดยตรง ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องต้องนำคดีมาสู่ศาลเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานที่ดินมีเหตุตามกฎหมายในการไม่ยอมจดทะเบียนหรือไม่ ฉะนั้นการที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาล ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายรองรับให้กระทำได้จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพาทถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีประเด็นเดียวกันอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิม ช. ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 อันเป็นที่พิพาทคดีนี้ โดยโจทก์ให้การและนำสืบต่อสู้คดีว่า โจทก์และ พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้อง ซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าที่ดิน 1 ไร่เศษ เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทและเป็นของ ช. ห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำพิพากษาคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และโจทก์คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า เจ้าหน้าที่ได้ออก น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ซึ่งมีชื่อจำเลยทั้งสองในทะเบียนที่ดินทับที่ดินของโจทก์และ พ. โดยจำเลยทั้งสองดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจาก ช. ทำให้โจทก์และกองมรดกของ พ. ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และมรดกของ พ. กับขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 จาก ช. และ ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ในคดีเดิม ดังนี้ เมื่อคดีมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาคดีเดิมผูกพันคู่ความในคดีใหม่ หากมีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของพันตรี พ. ผู้วายชนม์ ให้การกับนำสืบต่อสู้ในคดีเดิมที่ถูก ช. ฟ้องขับไล่ว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) และพันตรี พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้องในคดีนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช. ตามที่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้ คำพิพากษาในคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และจำเลย (โจทก์คดีนี้) ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของพันตรี พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของจำเลยในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้จาก ช. และพันตำรวจตรี ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ ฉะนั้น เมื่อคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่าที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับดคีเดิมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลง หรือข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ประกอบธุรกิจประกันภัยไม่ใช่สถาบันการเงินที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีนำพาคนต่างด้าว และช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุม
การที่จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวพ้นจากการจับกุม ย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง แยกการกระทำต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยทั้งสี่ให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ มาตรา 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และมีอำนาจวินิจฉัยไปถึงจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลความสามารถและมาตรฐานการทำงานของลูกจ้าง
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ของมาตรฐานการทำงานไว้ และโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานตลอดมา ไม่มีช่วงใดเลยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้น แม้ประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์จะลดลงไปบ้าง แต่ต้องถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของจำเลย ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบจึงฟังไม่ขึ้น การที่จำเลยมีรายได้ลดลงตั้งแต่ปี 2543 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันทางธุรกิจของโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือ และบริการโทรทางไกลราคาประหยัดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่เสนอกลยุทธ์ในการตลาดเพื่อแข่งขันกับภายนอก และโจทก์ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแข่งขันกับธุรกิจภายนอกให้เป็นผลสำเร็จดังที่จำเลยอ้าง แต่โจทก์ก็ยังทำงานได้เกณฑ์ตามมาตรฐานของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง จำเลยไม่สามารถเสนองานในตำแหน่งที่เหมาะสมให้แก่โจทก์ได้ จึงยังไม่ใช่เหตุผลสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และหลักการไม่ส่งเรื่องให้วินิจฉัยซ้ำ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคท้าย บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลยุติธรรมย่อมยกขึ้นอ้างในคดีได้โดยไม่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยซ้ำอีก
ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่า พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 30, 32, 42 ทวิ, 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46, 50, 87 นั้น จำเลยทั้งสามมิได้ให้เหตุผลว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่ศาลฎีกาจะต้องส่งข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสามไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264
ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่า พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 30, 32, 42 ทวิ, 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46, 50, 87 นั้น จำเลยทั้งสามมิได้ให้เหตุผลว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่ศาลฎีกาจะต้องส่งข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสามไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยการเบิกเงินจากบัญชีอัตโนมัติถือเป็นการชำระหนี้ตามสัญญา แม้เจ้าหนี้อ้างว่าเป็นการลักทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การว่าสัญญากู้ปลอมและฟ้องแย้งว่าโจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปกดจากเครื่องของธนาคารและได้เงินไปโดยไม่มีสิทธิ ขอเรียกเงินคืน มีผลเท่ากับจำเลยปฏิเสธความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับทั้งหมด แม้ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าสัญญากู้ดังกล่าวไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้หรือไม่ยังมีอยู่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของจำเลยในประเด็นที่จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์เอาเงินของจำเลยไปโดยการเบิกเงินของจำเลยผ่านเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติของธนาคารเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยการเบิกเงินจากบัญชีของลูกหนี้ ถือเป็นการชำระหนี้เดิมได้ และระงับหนี้ตามสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ สัญญากู้เป็นสัญญาปลอม และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปกดจากเครื่องของธนาคารและได้เงินไปโดยไม่มีสิทธิ ขอเรียกเงินคืนนั้น มีผลเท่ากับเป็นการปฏิเสธความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับจากจำเลยทั้งหมด ถึงแม้ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ประเด็นที่ว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้หรือไม่ยังมีอยู่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้เอาเงินของจำเลยด้วยการเบิกเงินของจำเลยผ่านเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติของธนาคาร เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาไว้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินเท่ากับหนี้ที่ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย อันเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับ กรณีไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด