พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่งผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
คำให้การจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่แก้ไขข้อบกพร่องของคำคู่ความดังกล่าวให้บริบูรณ์เสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยที่ยังมิได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง โดยให้จำเลยลงลายมือชื่อในคำให้การเสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง: การพิจารณาคำคู่ความและการมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลย และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า อุทธรณ์จำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้จำเลยแก้ไขอุทธรณ์มาใหม่ แต่จำเลยไม่ได้แก้ไขอุทธรณ์ กลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้คืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ภายในกำหนด จึงเป็นคำสั่งในกรณีที่ศาลชั้นต้นตรวจคำคู่ความที่ยื่นต่อศาล แล้วมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปทำมาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มิใช่เป็นการตรวจอุทธรณ์ แล้วมีคำสั่งว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์เสียก่อน ผู้อุทธรณ์จึงอาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ แห่ง ป.วิ.อ. เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำคู่ความให้ทำมาใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามอุทธรณ์ไว้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้จำเลยที่อุทธรณ์ฟัง โดยไม่ต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6514/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณาอำนาจศาลปกครองหรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลจังหวัดนนทบุรีที่สั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากศาลจังหวัดนนทบุรีเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งแม้โจทก์จะอุทธรณ์กล่าวอ้างว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับแล้วในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ แต่ขณะยื่นฟ้องศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมคือศาลจังหวัดนนทบุรีอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งแปดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ดังนี้ ย่อมมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีหรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมด้วยกันเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ อันเป็นกรณีที่จะต้องเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และต่อมาประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9168/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อ และประเด็นฎีกาไม่เป็นสาระ/ต้องห้ามฎีกา คดีซื้อขายห้องชุด
ห้องชุดย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 466 ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่ามาตรา 466 ที่ศาลล่างทั้งสองยกขึ้นมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงในคดีควรเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินซึ่งสามารถดำเนินการรังวัดสอบเขตได้โดยชัดเจน และสามารถคำนวณหาพื้นที่ได้อย่างสะดวก จะนำมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงในการจะซื้อจะขายห้องชุดไม่ได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องฎีกาจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา จึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) แต่เมื่อฎีกาจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และฎีกาของจำเลยข้ออื่นต้องห้ามฎีกา คดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อผู้ฎีกาให้ถูกต้องต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาแก่จำเลย
คำฟ้องฎีกาจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา จึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) แต่เมื่อฎีกาจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และฎีกาของจำเลยข้ออื่นต้องห้ามฎีกา คดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อผู้ฎีกาให้ถูกต้องต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7967/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขได้ & สิทธิผ่านที่ดินที่ถูกล้อมรอบต้องพิจารณาช่วงเวลาแบ่งแยก
แม้คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และทนายความไม่ได้ลงชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสองก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายโจทก์ที่ 1 ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเป็นทนายโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วย อนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าของที่ดินถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดที่ 1003 ไปก่อนแล้ว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามในเวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยที่ที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1
เจ้าของที่ดินถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดที่ 1003 ไปก่อนแล้ว ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามในเวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยที่ที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขได้ ศาลพิจารณาได้หากโจทก์แสดงเจตนาฟ้องจริง
คำฟ้องที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อโจทก์ คงมีแต่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงเป็นที่ชัดแจ้งว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้จริง การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปถือว่าได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอุทธรณ์ไม่สมบูรณ์ต้องแก้ไขก่อนพิจารณา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อกลับไปแก้ไขฟ้อง
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์เป็นฟ้องที่ ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อในฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แล้วให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ ดังนั้นเอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยมีสิทธิเด็ดขาดในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้แนบมาท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่ในคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าวจึงต้องฟังดัง ที่โจทก์ฟ้อง จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจทำการแทนจำเลยในเหตุแห่งคดีนี้ โดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป. ตัวแทนจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะ การเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 49 ดังนั้นโจทก์สามารถส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป. ตัวแทนของจำเลย ณ ภูมิลำเนาของ ป.ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) หาใช่กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(3)ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย การที่ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์ก็เนื่องจากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตน ต่อศาลได้ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 17 วรรคแรกประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55.