พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุไม้สน, คุณภาพตามสัญญา, การขัดขวางการตัดไม้ และผลกระทบต่อภาระหน้าที่ชำระหนี้
หลักวิชาการเป็นเพียงทฤษฎีโดยทั่วไปเท่านั้นการเจริญเติบโตของต้นไม้ชนิดต่างๆรวมทั้งไม้สนพิพาทจะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการเช่นความสมบูรณ์ของพื้นดินที่ปลูกการให้ปุ๋ยน้ำภูมิอากาศฯลฯดังนี้เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการที่โจทก์อ้างอิงจึงไม่ใช่พยานหลักฐานที่บ่งบอกได้โดยแน่นอนว่าไม้สนพิพาทของจำเลยที่1มีอายุไม่ถึง6ปีเมื่อจำเลยที่1และที่3มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสืบแสดงได้ว่าจำเลยที่1ปลูกไม้สนพิพาทในที่ดินมาตั้งแต่ปี2522นับถึงวันที่จำเลยที่3ขายไม้สนดังกล่าวให้แก่โจทก์ไม้สนพิพาทมีอายุเกิน6ปีแล้วพยานหลักฐานของจำเลยที่1และที่3มีน้ำหนักรับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ส่วนข้อตำหนิที่ว่าไม้สนที่โจทก์ซื้อและตัดจากที่ดินของจำเลยที่1มีขนาดเล็กกว่าปกตินั้นก็คงเนื่องมาจากพื้นดินที่ปลูกเป็นดินเปรี้ยวและแม้โจทก์จะนำสืบโต้เถียงว่าไม้สนพิพาทในที่ดินของจำเลยที่1ยังโตไม่ได้ขนาดที่โจทก์ต้องการจะซื้อแต่โจทก์รับว่าโจทก์ได้ตัดไม้สนในที่ดินแปลงนั้นหมดทั้งแปลงและขนไปลงเรือส่งไปขายยังต่างประเทศแล้วแสดงว่านอกจากอายุของไม้สนที่จะต้องถึง6ปีแล้วโจทก์มิได้ถือเอาขนาดของไม้สนที่ต้องการจะซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญาฉะนั้นแม้ไม้สนพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่3ซึ่งตัดจากที่ดินของจำเลยที่1จะมีขนาดของลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง6นิ้วแต่เป็นต้นไม้สนที่มีอายุ6ปีแล้วไม้สนพิพาทจึงเป็นไม้สนที่มีคุณภาพตรงตามสัญญาจำเลยที่1และที่3หาได้ประพฤติผิดสัญญาด้วยการขายไม้สนที่มีอายุไม่ถึง6ปีให้แก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีอากร กรณีการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยมีประเด็นเรื่องรายได้จากการประกอบการค้าและรายได้จากการจ้างทำของ
แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์จะได้ลงนามในสัญญาซึ่งทำไว้แต่เพียงฉบับเดียวและในสัญญาจะระบุจำนวนเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องชำระแก่โจทก์ไว้เพียงจำนวนเดียวก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ้างโจทก์ทำของคือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์โดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดสัมภาระไม่เพราะนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานั้นเกิดขึ้นได้จากการกระทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำเสนออีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำสนองรับที่ถูกต้องตรงกันดังนั้นหากคู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกันแม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้ไม่มีกฎหมายห้ามคดีนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เจตนาทำสัญญากับโจทก์2ลักษณะเอกเทศสัญญาคือสัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์กับสัญญาจ้างทำของก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ดังที่มีข้อความระบุไว้ในManagementProposalSection1Contract2AgreementforSale,InstallationandConstruction(สัญญาซื้อขายติดตั้งและก่อสร้าง)ตามเอกสารหมายจ.6หน้า120ว่า"บันทึกและตกลงข้อเสนอของเบลส์(โจทก์)ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการติดตั้งจะเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันในสัญญาระหว่างTOT(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) กับเบลส์นอกจากนี้ในRecordofNegotiationนั้นSummaryofCostตามเอกสารหมายจ.2หน้า209ยังได้แบ่งมูลค่าของสัญญาออกเป็นMainStemsและOptionalStemsโดยแยกรายละเอียดลงไว้เป็นแต่ละรายการด้วยว่าค่าอะไรจำนวนเท่าใดต้องจ่ายด้วยเงินตราสกุลใดไว้ด้วยเอกสารหมายจ.2และจ.6นี้เป็นเอกสารที่ระบุไว้ในสัญญาเอกสารหมายจ.10ข้อโอและข้อไอซึ่งข้อ1ของสัญญาเอกสารหมายจ.10ระบุว่าเป็นเอกสารประกอบสัญญาที่ก่อให้เกิดและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉะนั้นจะต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาจากถ้อยคำสำนวนที่ได้เขียนลงไว้ในเอกสารประกอบสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้วให้เป็นผลบังคับได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขายคือขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์กับสัญญาจ้างทำของคือก่อสร้างติดตั้งเครือข่ายชุมทางโทรศัพท์แยกต่างหากจากกันเป็น2ลักษณะเอกเทศสัญญาและแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้างหาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของคือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า6เดือนจึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อง5.2(ซ)แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้นความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่ากรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ5.1แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า6เดือนก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่ากับหาได้มีความหมายว่าสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ไปด้วยไม่ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคาซี.ไอ.เอฟ.ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขายณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเองอันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของจึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยโจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยมตามบังคับข้อ7.1แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่18)พ.ศ.2505มาตรา3เมื่อปรากฎว่ารายรับจำนวน41,026,412.58บาทที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525ในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)นั้นโจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์จำนวน32,473,226.58บาทที่องค์การโทรศํพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรงส่วนอีกจำนวน8,553,186บาทนั้นโจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้างค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้าแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลังเพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58บาทเป็นรายรับตามสัญญาซื้อขายเจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525ไม่ได้เพราะไม่ใช้กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆของเงินจำนวน8,553,186บาทอันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน427,659.30บาทเมื่อหักค่าภาษีหักณที่จ่ายจำนวน410,264.17บาทออกให้แล้วโจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน17,395.13บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2526และปี2527ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับจำนวน149,023,234.30บาทและ272,231,011.52บาทนั้นโจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วยจึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆในอัตราร้อยละ5ตามประมวลรัษฎากรมาตรา71(1)จึงชอบแล้ว ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2525นั้นเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้412,026,412.58บาทซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58บาทที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน8,553,186บาทเท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี2525เพียงจำนวน106,908.16บาทส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี2526และปี2527นั้นเนื่องจากไม่ปรากฎว่ายอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วยการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยม เข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม แล้วยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณที่จ่ายและนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม กรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หักณที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี2525สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน2525จำนวนเพียง8,553,186บาทแต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า2เท่าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(2)กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีจากการแยกสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ สัญญาต่างประเทศ สถานประกอบการถาวร
แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกับโจทก์จะได้ลงนามในสัญญาซึ่งทำไว้แต่เพียงฉบับเดียว และในสัญญาจะระบุจำนวนเงินที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต้องชำระแก่โจทก์ไว้เพียงจำนวนเดียว ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจ้างโจทก์ทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์โดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่ เพราะนิติกรรมสองฝ่ายหรือสัญญานั้นเกิดขึ้นได้จากการกระทำด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำเสนอ อีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาด้วยคำสนองรับที่ถูกต้องตรงกัน ดังนั้น หากคู่สัญญาแสดงเจตนาทำเอกเทศสัญญาสองลักษณะต่างกัน แม้จะทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ย่อมกระทำได้ ไม่มีกฎหมายห้าม คดีนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญากับโจทก์ 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา คือ สัญญาซื้อขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ ก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ ดังที่มีข้อความระบุไว้ใน ManagementProposal Section 1 Contract 2 Agreement for Sale,Installationand Construction (สัญญาซื้อขาย ติดตั้ง และก่อสร้าง) ตามเอกสารหมาย จ.6หน้า 120 ว่า " บันทึกและตกลงข้อเสนอของเบลส์ (โจทก์) ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการจัดหาเครื่องมือและวัตถุดิบและการบริการติดตั้งจะเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากกันในสัญญาระหว่าง TOT (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) กับเบลส์ นอกจากนี้ใน Record of Negotiation นั้น Summary of Cost ตามเอกสารหมายจ.2 หน้า 209 ยังได้แบ่งมูลค่าของสัญญาออกเป็น Main Stems และ OptionalStems โดยแยกรายละเอียดลงไว้เป็นแต่ละรายการด้วยว่าค่าอะไร จำนวนเท่าใดต้องจ่ายด้วยเงินตราสกุลใดไว้ด้วย เอกสารหมาย จ.2 และ จ.6 นี้ เป็นเอกสารที่ระบุไว้ในสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ข้อ โอ และข้อ ไอ ซึ่งข้อ 1 ของสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ระบุว่า เป็นเอกสารประกอบสัญญาที่ก่อให้เกิดและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ฉะนั้นจึงต้องตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาจากถ้อยคำสำนวนที่ได้เขียนลงไว้ในเอกสารประกอบสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว ให้เป็นผลบังคับได้ว่าโจทก์และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเจตนาทำสัญญาซื้อขาย คือขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กับสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้าง ติดตั้งเครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ แยกต่างหากจากกันเป็น 2 ลักษณะเอกเทศสัญญา และแยกราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายออกต่างหากจากสินจ้าง หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน จึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อ 5.2 (ซ) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้น ความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า กรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ 5.1 แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 6 เดือน ก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่านั้น หาได้มีความหมายว่า สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขาย เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ไปด้วยไม่ ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ. ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขาย ณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเอง อันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของ จึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยม ตามบังคับข้อ 7.1 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยม เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่า รายรับจำนวน 41,026,412.58 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 32,473,226.58 บาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรง ส่วนอีกจำนวน 8,553,186 บาท นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้าง ค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้า แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลัง เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58 บาท เป็นรายรับตามสัญญาซื้อขาย เจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของเงินจำนวน 8,553,186 บาท อันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น คำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน 427,659.30 บาท เมื่อหักค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 410,264.17 บาทออกให้แล้ว โจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน 17,395.13 บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับ จำนวน 149,023,234.30 บาทและ 272,231,011.52 บาท นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย จึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ตามป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) จึงชอบแล้ว
ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 นั้น เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้ 41,026,412.58 บาท ซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58 บาท ที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน 8,553,186 บาท เท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 เพียงจำนวน 106,908.16 บาท ส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527นั้น เนื่องจากไม่ปรากฏว่า ยอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมแล้ว ยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่าย และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีก สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมกรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ลูกจ้างไม่
โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2525 จำนวนเพียง8,553,186 บาท แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้ จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า 2 เท่า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (2) กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย
ขณะโจทก์ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนั้นโจทก์ยังไม่มีสถานธุรกิจประจำซึ่งโจทก์ใช้ประกอบธุรกิจการขายตั้งอยู่ในประเทศไทยจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยในขณะทำสัญญาขายเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าสัญญาจ้างทำของ คือก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายชุมทางโทรศัพท์ เป็นโครงการที่โจทก์ต้องเข้ามาดำเนินการมีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน จึงถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยตามข้อ 5.2 (ซ) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนนั้น ความตกลงในข้อดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า กรณีที่โจทก์ไม่มีสถานประกอบการถาวรตามความตกลงข้อ 5.1 แต่มีสถานที่ตั้งโครงการติดตั้งหรือโครงการประกอบดำรงอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 6 เดือน ก็ให้ถือว่าโจทก์มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยสำหรับธุรกิจตามสัญญาจ้างทำของนั้นเท่านั้น หาได้มีความหมายว่า สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยดังกล่าวเป็นสถานประกอบการถาวรของโจทก์สำหรับธุรกิจตามสัญญาซื้อขาย เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ไปด้วยไม่ ฉะนั้นกำไรจากธุรกิจการขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ผู้ขายอยู่ต่างประเทศซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ. ผู้ซื้อส่งเงินไปชำระแก่ผู้ขาย ณต่างประเทศและรับผิดชำระอากรขาเข้าเอง อันเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจ้างทำของ จึงถือไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โจทก์เป็นวิสาหกิจซึ่งดำเนินการโดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยมจึงอยู่ภายใต้อำนาจการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายของประเทศเบลเยี่ยม ตามบังคับข้อ 7.1 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยม เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่า รายรับจำนวน 41,026,412.58 บาท ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นรายรับค่าขายเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 32,473,226.58 บาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งไปชำระแก่โจทก์ที่สำนักงานใหญ่ประเทศเบลเยี่ยมโดยตรง ส่วนอีกจำนวน 8,553,186 บาท นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นค่าก่อสร้าง ค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้า แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เชื่อข้ออ้างของโจทก์เฉพาะเงินจำนวนหลัง เพราะโจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ ดังนี้จึงฟังได้ว่าเงินรายรับจำนวน32,473,226.58 บาท เป็นรายรับตามสัญญาซื้อขาย เจ้าพนักงานประเมินจึงนำมารวมเป็นฐานในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่กำไรจากกิจการที่โจทก์ได้รับผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 จากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของเงินจำนวน 8,553,186 บาท อันเป็นเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีค่าขนส่งและค่าอากรขาเข้ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น คำนวณแล้วเป็นค่าภาษีจำนวน 427,659.30 บาท เมื่อหักค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย จำนวน 410,264.17 บาทออกให้แล้ว โจทก์คงต้องรับผิดในค่าภาษีรายการนี้เพียงจำนวน 17,395.13 บาทส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับ จำนวน 149,023,234.30 บาทและ 272,231,011.52 บาท นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีรายรับของสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย จึงต้องฟังว่าเป็นรายรับของสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ตามป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) จึงชอบแล้ว
ภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 นั้น เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินจากฐานเงินได้ 41,026,412.58 บาท ซึ่งรวมเอารายรับตามสัญญาซื้อขายจำนวน32,473,226.58 บาท ที่ได้รับยกเว้นภาษีเข้าไปด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ต้องประเมินจากยอดรายรับตามสัญญาจ้างทำของจำนวน 8,553,186 บาท เท่านั้นคำนวณแล้วเป็นค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 เพียงจำนวน 106,908.16 บาท ส่วนภาษีเงินได้ที่โจทก์จำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 และปี 2527นั้น เนื่องจากไม่ปรากฏว่า ยอดรายรับในปีดังกล่าวมีรายรับตามสัญญาซื้อขายรวมอยู่ด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
การที่ลูกจ้างของโจทก์ที่เป็นชาวเบลเยี่ยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมแล้ว ยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่าย และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลยอีก สถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมกรณีจึงหาใช่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ลูกจ้างไม่
โจทก์ประกอบการค้ารับจ้างทำของโดยมีรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 สำหรับเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2525 จำนวนเพียง8,553,186 บาท แต่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการค้าไว้ จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับค่าภาษีการค้า 2 เท่า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (2) กับค่าปรับภาษีบำรุงเทศบาลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน: การแปลงหนี้ใหม่ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีสัญญาโดยตรงกับผู้ขาย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับอ. ข้อ2วรรคสองที่กำหนดไว้ว่า"ส่วนเงินที่เหลือจำนวน6,900,000บาทผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายครบถ้วนในวันที่ผู้ขายไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อหรือบุคคลอื่นที่ผู้ซื้อกำหนดเป็นผู้รับโอนแทนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานที่ดิน"นั้นมิได้มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยกับอ.ตกลงกันให้อ.โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใดได้เลยข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความต่อเนื่องจากวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการชำระราคาที่พิพาทว่าจะชำระกันอย่างไรเมื่อใดโดยระบุเป็นข้อตกลงไว้ว่าผู้รับโอนที่พิพาทอาจเป็นอ.ผู้ซื้อหรือหากไม่รับโอนด้วยตนเองก็จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับโอนแทนก็ได้คำว่า"บุคคลอื่น"จึงมีความหมายเพียงเป็นบุคคลผู้ที่จะมีชื่อในขณะที่รับโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อการซื้อขายนั้นสำเร็จสมบูรณ์แทนชื่อของผู้ซื้อที่แท้จริงเท่านั้นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทรายนี้ก็คือจำเลยกับอ. โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่าจำเลยยินยอมให้อ. โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349วรรคสามซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา306เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่าการโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับอ. ได้ทำเป็นหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา226ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับจ.และอ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไรก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองจำเลยมิได้รู้เห็นหรือรู้ด้วยแต่อย่างใดถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากอ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่อาจมีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขาย: การแปลงหนี้และการรับช่วงสิทธิ
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับ อ. ข้อ 2 วรรคสองที่กำหนดไว้ว่า "ส่วนเงินที่เหลือจำนวน 6,900,000 บาท ผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายครบถ้วนในวันที่ผู้ขายไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ หรือบุคคลอื่นที่ผู้ซื้อกำหนดเป็นผู้รับโอนแทน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน" นั้น มิได้มีข้อความใดที่แสดงว่า จำเลยกับ อ.ตกลงกันให้ อ.โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใดได้เลย ข้อความดังกล่าว เป็นเพียงข้อความต่อเนื่องจากวรรคหนึ่ง เกี่ยวกับการชำระราคาที่พิพาทว่าจะชำระกันอย่างไร เมื่อใด โดยระบุเป็นข้อตกลงไว้ว่า ผู้รับโอนที่พิพาทอาจเป็น อ.ผู้ซื้อ หรือหากไม่รับโอนด้วยตนเองก็จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับโอนแทนก็ได้ คำว่า "บุคคลอื่น" จึงมีความหมายเพียงเป็นบุคคลผู้ที่จะมีชื่อในขณะที่รับโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อการซื้อขายนั้นสำเร็จสมบูรณ์แทนชื่อของผู้ซื้อที่แท้จริงเท่านั้น คู่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทรายนี้ก็คือ จำเลยกับ อ.
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยยินยอมให้ อ.โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 306 เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่า การโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับ อ.ได้ทำเป็นหนังสือ การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้ และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 226 ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับ จ.และ อ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไร ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเอง จำเลยมิได้รู้เห็นหรือรับรู้ด้วยแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจาก อ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยยินยอมให้ อ.โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 306 เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่า การโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับ อ.ได้ทำเป็นหนังสือ การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้ และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 226 ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับ จ.และ อ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไร ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเอง จำเลยมิได้รู้เห็นหรือรับรู้ด้วยแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจาก อ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9349/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าในนามร้านค้าบุคคลธรรมดา ผู้ดำเนินกิจการมีอำนาจสั่งซื้อและผูกพันทางสัญญา
การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงทรัพย์ที่ซื้อขายกันว่าเป็นเสาคอนกรีตอัดแรงพร้อมทั้งระบุราคามาด้วย นับว่าได้แสดงให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ได้พอสมควรแล้ว และโจทก์ยังบรรยายถึงรายละเอียดขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงมาในคำฟ้อง รวมทั้งแนบสำเนาใบส่งของชั่วคราว 2 ฉบับ มาเป็นเอกสารท้ายฟ้องแล้วยังระบุวันที่ส่งของกับลายมือชื่อผู้ส่งและผู้รับของ อันทำให้ทราบได้ว่าสินค้าตามที่บรรยายฟ้องคือสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ยิ่งทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบยิ่งขึ้น ส่วนที่ข้อความเกี่ยวกับขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวมีตัวอักษรที่ไม่ใช่อักษรภาษาไทยแตกต่างจากคำว่า "ดี" ในส่วนที่บรรยายฟ้องไว้เพียงตัวเดียว ก็น่าจะพอเข้าใจได้ว่าในการบรรยายฟ้องโจทก์ได้พยายามจะแปลความหมายของตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาไทยดังกล่าวนั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป.ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป.ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ.ก็หมายถึงร้าน ป.ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป.ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป.ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป.ค้าไม้ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้านป.ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป.ค้าไม้หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป.ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้าน จึงล้วนเป็นข้อที่ส่อแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป.ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท.เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป.ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่าท.ก็มีอายุเกือบ 70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท.จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป.ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป.ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป.ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ.ก็หมายถึงร้าน ป.ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป.ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป.ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป.ค้าไม้ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้านป.ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป.ค้าไม้หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป.ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้าน จึงล้วนเป็นข้อที่ส่อแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป.ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท.เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป.ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่าท.ก็มีอายุเกือบ 70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท.จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป.ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9349/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อสินค้าและการรับผิดชอบหนี้ของเจ้าของร้านกับผู้ดำเนินกิจการจริง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงทรัพย์ที่ซื้อขายกันว่าเป็นเสาคอนกรีตอัดแรงพร้อมทั้งระบุราคามาด้วย นับว่าได้แสดงให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ได้พอสมควรแล้วและโจทก์ยังบรรยายถึงรายละเอียดขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงมาในคำฟ้อง รวมทั้งแนบสำเนาใบส่งของชั่วคราว 2 ฉบับ มาเป็นเอกสารท้ายฟ้องแล้วยังระบุวันที่ส่งของกับลายมือชื่อผู้ส่งและผู้รับของ อันทำให้ทราบได้ว่าสินค้าตามที่บรรยายฟ้องคือสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ยิ่งทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบยิ่งขึ้น ส่วนที่ข้อความเกี่ยวกับขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว มีตัวอักษรที่ไม่ใช่อักษรภาษาไทยแตกต่างจากคำว่า "ดี" ในส่วนที่บรรยายฟ้องไว้เพียงตัวเดียว ก็น่าจะพอเข้าใจได้ว่าในการบรรยายฟ้องโจทก์ได้พยายามจะแปลความหมายของตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาไทยดังกล่าวนั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป. ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป. ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ. ก็หมายถึงร้าน ป. ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป. ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป. ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป. ค้าไม้ ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้าน ป. ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป. ค้าไม้ หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป. ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้านจึงล้วนเป็นข้อที่ส่งแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป. ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท. เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป. ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท. จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่า ท. ก็มีอายุเกือบ70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท. จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป. ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป. ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป. ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ. ก็หมายถึงร้าน ป. ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป. ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป. ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป. ค้าไม้ ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้าน ป. ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป. ค้าไม้ หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป. ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้านจึงล้วนเป็นข้อที่ส่งแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป. ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท. เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป. ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท. จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่า ท. ก็มีอายุเกือบ70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท. จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป. ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่เป็นส่วนควบของที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมรวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย
ขณะทำสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์และ ม.ได้มีบ้านปลูกอยู่บนที่ดินเรียบร้อยแล้ว การที่โจทก์และ ม.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่เฉพาะที่ดินเพราะตามสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับเดิมที่ทำกันระหว่าง พ.กับโจทก์และ ส.ได้ระบุว่า มีการซื้อขายเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย แต่เมื่อบ้านเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อ ม.จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปแล้ว ม.ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 144วรรคสอง มิใช่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้รับโอนที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างด้วย
ขณะทำสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์และม.ได้มีบ้านปลูกอยู่บนที่ดินเรียบร้อยแล้วการที่โจทก์และม.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่เฉพาะที่ดินเพราะตามสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับเดิมที่ทำกันระหว่างพ.กับโจทก์และส.ได้ระบุว่ามีการซื้อขายเฉพาะที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วยแต่เมื่อบ้านเป็นส่วนควบของที่ดินเมื่อม.จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปแล้วม.ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา144วรรคสองมิใช่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน สิทธิของผู้รับโอน และข้อยกเว้นการฟ้องบุพการี
ฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตมีค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
ป.พ.พ. มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด ดังนั้น แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตมีค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
ป.พ.พ. มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด ดังนั้น แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว