พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน-การโอนที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย-อำนาจฟ้อง-บุพการี
ฎีกาจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นจำเลยที่1ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ฎีกาจำเลยทั้งสองว่าจำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตมีค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองการที่จำเลยที่1ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่1ก็ไม่ทำให้จำเลยที่1เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยที่1ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่2ได้แล้วจำเลยที่2ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่1แม้จำเลยที่2จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตามจำเลยที่2ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้นแม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นบุตรของจำเลยที่1แต่ก็ไม่ได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6144/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ: การสั่งทอผ้าและการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น การซื้อขาย ต่างจากการรับจ้างทำของตรงที่การซื้อขายมุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วนการรับจ้างทำของมุ่งถึงการงานที่ทำและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ซึ่งในเรื่องจ้างทำของนั้น ป.พ.พ. มาตรา 592 ได้กำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างไว้ว่าผู้รับจ้างต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลา และมาตรา 605 กำหนดสิทธิของผู้ว่าจ้างไว้ว่าถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญา คดีนี้ การติดต่อสั่งทอผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยในครั้งแรก ๆ ได้ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ ต่อมาจึงสั่งทอด้วยวาจาโดยจำเลยสั่งโจทก์ให้ทอผ้าตามลายที่จำเลยกำหนดโดยกำหนดจำนวนที่จำเลยต้องการแน่นอน ข้อตกลงในการส่งมอบผ้าและการชำระราคายังเป็นไปตามที่เคยกำหนดไว้ในสัญญาและในการทอผ้าตามที่จำเลยสั่ง โจทก์จะแจ้งให้ผู้อื่นเป็นผู้ทอให้ ในระหว่างที่มีการทอผ้าจำเลยไม่ได้เข้าไปควบคุมตรวจตราการทอและจะบอกยกเลิกการทอไม่ได้ ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ทอผ้าหลายครั้ง การสั่งทอผ้าครั้งใดที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท และไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำไว้หรือได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วโจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 สำหรับผ้าที่มีการสั่งทอในครั้งดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเวนคืนที่ดินเป็นโมฆะเมื่อทำหลังหมดอายุพระราชกฤษฎีกาและสถานะเจ้าหน้าที่
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร-ลาดพร้าว(บริเวณโรงซ่อมบำรุง)กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษฯนั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่1กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานครตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่พ.ศ.2530ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่953/2534สิ้นสุดลงไปด้วยและราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งจำเลยทั้งสองทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้วจึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา10วรรคหนึ่งย่อมไม่มีผลใช้บังคับการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2535มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน: สัญญาเป็นโมฆะเมื่อเจ้าหน้าที่สิ้นสภาพการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสาธร - ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน เป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนและจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่จะถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ.
ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ฯ นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่...พ.ศ.2530 ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 953/2534 สิ้นสุดลงไปด้วย และราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งจำเลยทั้งสองทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับ
ขณะทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ฯ นั้นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2530 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้ได้สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วเพราะหมดอายุ ฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับฐานะของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่...พ.ศ.2530 ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 953/2534 สิ้นสุดลงไปด้วย และราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่คณะกรรมการชุดนี้กำหนดย่อมสิ้นผลไปด้วยดังนั้นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งจำเลยทั้งสองทำในขณะไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว จึงเป็นการกระทำโดยผู้ปราศจากอำนาจและไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่มีผลใช้บังคับ การดำเนินการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงต้องดำเนินการใหม่เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อแม้ไม่ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้หากมีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
จำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากการเคหะแห่งชาติแก่โจทก์โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ผ่อนส่งเงินในกำหนดระยะเวลาหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วจำนวน62,000บาทข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือแม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไปก็ตามแต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือแต่ก็ได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายนี้กันบ้างแล้วอันมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามข้อตกลงดังกล่าว (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่3/2539)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อที่ดิน แม้ไม่ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้ หากมีการชำระหนี้บางส่วน
จำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากการเคหะแห่งชาติแก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ผ่อนส่งเงินในกำหนดระยะเวลาหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วจำนวน 62,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการตกงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไปก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิ โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่ก็ได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายนี้กันบ้างแล้ว อันมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ศาลสั่งให้โอนสิทธิได้ หากโจทก์ชำระเงินคงเหลือและค่าเช่ารายเดือน
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารกับการเคหะแห่งชาติ ต่อมาจำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไป แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโดยโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายกันบ้างแล้ว ย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดในละเมิดการใช้ไฟฟ้า จำเลยต้องพิสูจน์การกระทำของโจทก์หรือผู้ที่โจทก์ยินยอม
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่โจทก์ผู้ซื้อทำกับจำเลยที่1ผู้ขายระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาด้วยความสุจริตจะไม่กระทำการใดๆหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้าการละเมิดการใช้ไฟฟ้าหมายถึงการทำลายหรือการดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆตลอดจนเครื่องหมายหรือตราต่างๆทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อนหรือเป็นผลให้ผู้ขายต้องสูญเสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้หรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือต่อไฟตรงโดยไม่ผ่านมาตรวัดไฟฟ้าเห็นได้ว่าการที่จำเลยที่1จะเรียกให้โจทก์ชดใช้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าได้จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์กระทำการใดๆหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้าแต่พยานหลักฐานของจำเลยที่1ฟังไม่ได้ว่าการละเมิดการใช้ไฟฟ้าเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือโจทก์ยอมให้ผู้อื่นกระทำกลับปรากฏว่ามิเตอร์และอุปกรณ์ประกอบตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะนอกโรงงานโจทก์และห่างหน้าโรงงานประมาณ150เมตรเป็นที่เปลี่ยวไม่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงคนทั่วไปเข้าถึงได้ตลอดเวลาทั้งก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ขอความร่วมมือประสานงานการจดหน่วยทุกๆวันจึงไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะทำการละเมิดการใช้ไฟฟ้าทั้งๆที่รู้ว่าจำเลยที่1กำลังระมัดระวังอยู่โจทก์ไม่จำต้องรับผิดในการละเมิดการใช้ไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสูงเกินส่วนในสัญญาซื้อขายและการค้ำประกัน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
การทำสัญญาซื้อขายเตียงผ่าตัดพร้อมอุปกรณ์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์ต้องการจะให้จำเลยที่ 1 มีหลักประกันมาวางเพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันได้ถ้าจำเลยที่ 1ผิดสัญญา แต่หลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมาวางนี้เป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3ซึ่งจำเลยที่ 3 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์รับรองที่จะชำระเงินให้โจทก์ทันทีถ้าจำเลยที่ 1ผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกัน จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะผูกพันกันว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งของสัญญาซื้อขายเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิริบหลักประกันแล้ว จำเลยที่ 3 รับรองที่จะใช้เงินให้แก่โจทก์ทันที สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้ แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นความรับผิดที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์ ค่าปรับดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงมีลักษณะเช่นเดียวกันกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 เมื่อเป็นเบี้ยปรับและจำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันนั้นสูงเกินส่วน ศาลฎีกาย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: เจตนาซื้อฝ่ายเดียวยังไม่ผูกพันคู่สัญญา
ตามสัญญาข้อ 15 ระบุว่า ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะซื้อที่ดินส่วนอื่นข้างเคียงทั้งหมดของผู้จะขายในราคาไร่ละ 1,200,000 บาท ภายในกำหนด 1 ปีนับจากวันโอน มีเงื่อนไขและวิธีการชำระเงินตามสัญญาฉบับนี้ หากผู้จะซื้อไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวข้างต้น ผู้จะซื้อหรือผู้รับโอนยินยอมให้ผู้จะขายจดทะเบียนเป็นภารยทรัพย์เป็นทางกว้างอย่างน้อย 8 เมตร ตรงตามขนาดและสภาพของถนนที่เป็นอยู่เดิม โดยต้องจดทะเบียนภาระจำยอม ณ หอทะเบียนกรมที่ดินภายในกำหนด1 เดือน นับแต่ผู้จะซื้อปฏิเสธการซื้อที่ดินดังกล่าว หรือ 1 ปี นับจากวันที่ 18 เมษายน2532 และมีข้อความในวงเล็บว่า สำหรับที่ดินข้างเคียงที่ยังไม่มีการซื้อขายนี้ ปรากฏตามผังหมึกสีเขียวท้ายสัญญานี้ ดังนี้ ตามสัญญาข้อดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินข้างเคียงที่ดินจำนวน 8 โฉนดที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วในข้อ 1 ถึงข้อ 14 โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยยอมตกลงจะขายที่ดินให้แก่โจทก์แต่อย่างใด คงมีแต่ข้อความว่าโจทก์ผู้จะซื้อสัญญาว่าจะซื้อที่ดินส่วนอื่นข้างเคียงทั้งหมดของผู้จะขายโดยมีเงื่อนไขว่าจะซื้อภายใน1 ปี นับจากวันโอนที่ดินจำนวน 8 โฉนด ที่จะซื้อจะขายกันโดยมีเงื่อนไขและวิธีการชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายหมาย จ.1 ข้อความในสัญญาข้อ 15 จึงเป็นเพียงคำมั่นของโจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่แสดงความประสงค์ขอซื้อที่ดินจากจำเลยเท่านั้นต่อเมื่อจำเลยได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป และคำบอกกล่าวนั้นได้ไปถึงโจทก์ผู้ให้คำมั่นแล้ว จึงจะมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงความจำนงจะทำการขายที่ดินให้โจทก์ สัญญาข้อ 15 ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 จึงยังไม่เกิดผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์จะบังคับให้จำเลยขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลย