คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 453

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และผลของการผิดสัญญา
การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก็มุ่งประสงค์ที่จะได้รับชำระค่าที่ดินตามสัญญา อันเป็นความประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้โดยถูกต้องตรงตามวัตถุที่ประสงค์แห่งหนี้ ทั้งการจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 320 ก็บัญญัติว่า หาอาจจะบังคับได้ไม่ ที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดไว้ว่า ถ้าผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อตกลงนี้ ผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้จะขายในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดสัญญา ข้อสัญญาดังกล่าวหาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้ให้ตรงตามวัตถุที่ประสงค์แห่งหนี้หรือหามีผลเป็นการบังคับให้โจทก์ริบได้เฉพาะเงินมัดจำเท่านั้นไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาที่ดินพิพาทและรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้มีข้อตกลงริบมัดจำ
การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1ก็มุ่งประสงค์ที่จะได้รับชำระค่าที่ดินตามสัญญา อันเป็นความประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้โดยถูกต้องตรงตามวัตถุทีประสงค์แห่งหนี้ ทั้งการจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 320 ก็บัญญัติว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่ ที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดไว้ว่าถ้าผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อตกลงนี้ ผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้จะขายในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดสัญญาข้อสัญญาดังกล่าวหาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้ให้ตรงตามวัตถุที่ประสงค์แห่งหนี้หรือหามีผลเป็นการบังคับให้โจทก์ริบได้เฉพาะเงินมัดจำเท่านั้นไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาที่ดินพิพาทและรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมโดยผู้เยาว์กับผู้แทนไม่อาจใช้สัตยาบันได้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่มีการชำระราคาครบถ้วน จำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้
โจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะไปทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะมีอุปสรรค เนื่องจากที่พิพาทติดจำนอง และโจทก์ไม่ยอมไปไถ่ถอนจำนองให้ก่อนตามที่ได้ตกลงกันไว้ ถือว่าสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้สัญญาจะซื้อขายจะมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องรับผิดเป็นสำคัญ แต่จำเลยก็ได้ชำระราคาค่าที่พิพาทให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งการชำระราคาครบถ้วนย่อมมีน้ำหนักดีกว่าการชำระราคาบางส่วนจึงถือได้ว่าการชำระหนี้ครบถ้วนเป็นการชำระหนี้บางส่วนได้โดยอนุโลมจำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งให้บังคับคดีแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน บุตรจำเลยไม่เป็นคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่สามารถโอนได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินของจำเลยและที่พิพาทแก่โจทก์โดยบุตรจำเลยที่ปรากฎชื่อว่าเป็นผู้จะขายที่พิพาทในสัญญาจะซื้อขายมิได้ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญากับโจทก์ จึงเป็นกรณีจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย แม้ขณะทำสัญญาจะซื้อขายจำเลยมิใช่เจ้าของที่พิพาทก็ไม่ทำให้สัญญาดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัยและตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยมีโอกาสขวนขวายเพื่อให้ได้ที่พิพาทมาโอนแก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันได้ ที่พิพาทเป็นของบุตรจำเลยซึ่งเป็นบุคคลนอกสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้ลงลายมือชื่อเข้าเป็นคู่สัญญากับโจทก์หรือมอบอำนาจให้nจำเลยกระทำการแทน และไม่รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทด้วย โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่โจทก์เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้ผู้ขายยังไม่เป็นเจ้าของ สัญญาไม่เป็นโมฆะ หากมีโอกาสหาที่ดินมาให้ได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินของจำเลยและที่พิพาทแก่โจทก์โดยบุตรจำเลยที่ปรากฏชื่อว่าเป็นผู้จะขายที่พิพาทในสัญญาจะซื้อขายมิได้ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญากับโจทก์ จึงเป็นกรณีจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทแก่โจทก์ด้วย แม้ขณะทำสัญญาจะซื้อขายจำเลยมิใช่เจ้าของที่พิพาท ก็ไม่ทำให้สัญญาดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัยและตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยมีโอกาสขวนขวายเพื่อให้ได้ที่พิพาทมาโอนแก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมที่เกิดจากใบมอบอำนาจปลอมเป็นโมฆะ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่ต้องผูกพัน
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทตบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส.การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361วรรคแรก แต่คดีนี้ ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และตย้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้น โจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย-จำนองที่ดินจากใบมอบอำนาจปลอม แม้เป็นกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส. การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก แต่คดีนี้ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และต้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้นโจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับจากสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาส่งผลต่อสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับรายวัน
จำเลยทำสัญญาขายรถยนต์บรรทุกให้โจทก์ตามสัญญาข้อ9กำหนดไว้ว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ8ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยับยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนฉะนั้นเมื่อจำเลยผู้ขายไม่ได้ส่งมอบสิ่งของที่ขายให้แก่โจทก์ผู้ซื้อโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันซึ่งธนาคารได้ชำระเงินให้แก่โจทก์แล้วอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ8โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญาข้อ9ได้อีก
of 71