คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 453

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากมีข้อห้ามโอน ผู้ขายต้องคืนเงิน
ขณะโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ทราบว่ามีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินพิพาท นิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ดินที่เหลือแก่จำเลยที่ 1 อีก การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพราะต้องการที่ดินพิพาทโดยไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินพิพาทอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่กำหนดข้อห้ามโอนไว้ กรณีดังกล่าวไม่ใช่โจทก์กระทำการตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระหรือกระทำการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินที่ค่าที่ดินที่ได้ชำระมาแล้วให้แก่โจทก์
โจทก์อ้างหนังสือสัญญาซื้อขายเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันสัญญาซื้อขาย การต่อเติมอาคารขัดเงื่อนไขสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาเบื้องต้น การทำสัญญาซื้อขายต่อมาภายหลังก็เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ในสัญญาจะซื้อจะขายให้มีผลสมบูรณ์ เว้นแต่สัญญาซื้อขายจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขาย ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย มีผลผูกพันคู่สัญญาดังเช่นสัญญาซื้อขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2493/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: การผิดเงื่อนไขเนื้อที่ดินเป็นโมฆียะ ไม่ใช่โมฆะ หากไม่บอกล้างภายในอายุความ
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดระบุว่า โครงการคิดถึง คอนโดมิเนียม เป็นอาคารชุดตั้งอยู่บนที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ 380 ตารางวา แต่ความจริงโฉนดที่ดินมีเนื้อที่เพียง 200 ตารางวา จึงเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขในสัญญา ส่วนที่จอดรถของอาคารชุดไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดว่าจะมีที่จอดรถได้กี่คันและตามแผ่นพิมพ์โฆษณาอาคารชุดก็ไม่ได้ระบุจำนวนรถยนต์ที่จะจอดได้ไว้เช่นเดียวกัน ที่จอดรถจำนวน 17 คัน คงปรากฏอยู่ในคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นต่อเทศบาลตำบลแสนสุขเท่านั้น ความจริงอาคารชุดมีที่จอดรถได้เพียง 6 คัน จึงเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ขออนุญาตไว้ต่อเทศบาลตำบลแสนสุข ซึ่งทางเทศบาลตำบลแสนสุขได้ดำเนินคดีในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นหรือโฆษณาที่ให้ไว้แก่ผู้จะซื้อ อีกทั้งอาคารชุดของจำเลยที่ 1 ไม่อยู่ในบังคับของการจัดบริเวณที่จอดรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) จะถือว่าโจทก์และ ด. สำคัญผิดในข้อนี้ไม่ได้
การผิดเงื่อนไขในเนื้อที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุดซึ่งไม่ได้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดมิใช่เป็นสาระสำคัญแห่งการทำสัญญาจะซื้อจะขายอันจะเป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดมิใช่ที่ดิน ห้องชุดจึงเป็นทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขาย การผิดเงื่อนไขในจำนวนเนื้อที่ดินจึงเป็นเพียงการสำคัญผิดในคุณสมบัติของอาคารชุดอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ซึ่งจะต้องบอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือภายในเวลา 10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 สัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายสินค้า (ป.พ.พ. มาตรา 193/34) และอำนาจฟ้อง-สถานที่ฟ้องคดี
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทสหกรณ์การธนกิจ มีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งในการจัดหาวัสดุการเกษตรและเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นมาจำหน่ายแก่สมาชิก การที่จำเลยซื้อปุ๋ยทั้งสองรายการไปจากโจทก์ก็เพื่อที่จะนำไปจำหน่ายแก่สมาชิกอีกทอดหนึ่งจึงมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการฝ่ายลูกหนี้หรือจำเลยนั้นเอง เมื่อจำเลยมิได้ซื้อปุ๋ยไปจากโจทก์เพื่อใช้เอง แต่ได้ใช้ประกอบกิจการของจำเลยเพื่อแสวงหาประโยชน์ต่อไปอีกทอดหนึ่ง จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้มีอายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5) ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยที่ศาลจังหวัดนครนายกซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยนั้น เป็นการให้ความสะดวกแก่จำเลยและพยานจำเลยในการที่จะมาเบิกความต่อศาล แต่เมื่อถึงวันนัดสืบพยานประเด็นจำเลย ทนายจำเลยกลับแถลงว่าพยานจำเลยปาก ส. และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นพยานนำไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ส่วนพยานอีก 2 ปากคือ ช. และ พ. ซึ่งเป็นพยานหมายไม่มาศาลโดยไม่ทราบผลการส่งหมาย และแถลงรับว่าไม่ได้เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบในวันดังกล่าว ขอเลื่อนคดี หากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและส่งประเด็นคืนก็จะเตรียมพยานจำเลยไปสืบที่ศาลเดิม ศาลจังหวัดนครนายกมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้ส่งประเด็นคืนศาลเดิม ในวันนัดฟังประเด็นกลับทนายจำเลยขอสืบพยานจำเลยทั้งสี่ปากโดยจะนำพยานสืบเองและขอเลื่อนอีก กรณีดังกล่าวมิใช่เหตุจำเป็นที่จะต้องขอเลื่อนการนั่งพิจารณาต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยให้งดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8632/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินที่ได้ใบจองตามประมวลกฎหมายที่ดิน การโอนสิทธิโดยไม่ชอบตามกฎหมาย
สิทธิในใบจองเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มีชื่อในใบจองเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่าโอนที่บัญญัติในกฎหมายไม่ว่าจะใน ป.ที่ดิน มาตรา 31 (1) หรือใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง เป็นคำสามัญที่หมายถึงการโอนทุกกรณี กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ ณ ที่ใดว่า ให้หมายถึงการโอนทางทะเบียน นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างผู้มีชื่อในใบจองกับบุคคลอื่นหรือระหว่างบุคคลต่อจากนั้นจึงขัดต่อกฎหมายไม่มีผลบังคับแม้จะไม่มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า, การปรับปรุงค่าไฟฟ้าตามสัญญา, การพิสูจน์ความคลาดเคลื่อนของมิเตอร์, ผู้ค้ำประกัน
มาตรวัดไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 อ่านค่าการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 คลาดเคลื่อนน้อยกว่าความเป็นจริงเพราะจุดต่อสายของหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงหลวม เป็นเหตุให้มาตรวัดไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 หมุนช้ากว่าปกติดทำให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ใช้ไปน้อยกว่าความเป็นจริง เมื่อโจทก์ตรวจสอบพบจุดบกพร่องจึงทำการแก้ไขแล้วเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่ากระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
เหตุที่นอตหลวมเกิดจากการที่พนักงานของโจทก์ขันนอตไม่แน่น เป็นเหตุให้มาตรวัดไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 เดินคลาดเคลื่อนช้ากว่าปกติ ทำให้อ่านค่าการใช้กระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 น้อยกว่าที่ใช้ไปจริง โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แต่การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่ชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ตามที่ใช้ไปจริง จำเลยที่ 1 จึงยังต้องรับผิดชำระค่าไฟฟ้าที่ขาดบกพร่องตามที่ใช้ไปจริงให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8304/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างขนส่งต่อความเสียหายจากพฤติกรรมทุจริตของคนขับรถ
โจทก์ซื้อขายเหล็กจากบริษัท ร. โจทก์จึงเป็นเจ้าของเหล็กเมื่อ ส. ได้แสดงตนว่าเป็นพนักงานของจำเลยและไปรับเหล็กดังกล่าวซึ่งโจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งแล้วแต่ไม่นำเหล็กไปส่งให้โจทก์ตามที่ได้ว่าจ้างกันไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ส. เป็นพนักงานขับรถยนต์บรรทุกเหล็กซึ่งเป็นรถที่แล่นร่วมกับบริษัทจำเลยกระทำการยักยอกเหล็กของโจทก์ไป จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า สิทธิครอบครอง และผลของการส่งมอบการครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ไม่มีผลที่จะเป็นข้อยกเว้นหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้
ในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นอกจากจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งแล้ว ยังเป็นข้อเท็จจริงที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้มีผลเกี่ยวข้องไปถึงจำเลยที่ 2 อีกด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในประเด็นข้อนี้
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 แม้ขณะซื้อที่ดินพิพาทจะมีข้อตกลงกันไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโอนให้แก่โจทก์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปได้ทุกเมื่อก็ตาม ก็คงมีความหมายเพียงว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินที่พิพาทให้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะไปดำเนินการให้เท่านั้น หาใช่ว่าเป็นการบังคับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะมีความประสงค์เช่นนั้นหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เงื่อนไขในสัญญาซื้อขายอันจะมีผลทำให้สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกลายเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไปไม่ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจ้างทำของ: พิจารณาจากสัญญาเกิดที่ไหน และเรียกค่าเสียหายหรือค่าจ้าง
แม้จำเลยจะสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยใช้ใบสั่งซื้อ แต่โจทก์ก็ต้องใช้แม่พิมพ์ของจำเลยในการผลิตสินค้า หาใช่โจทก์ผลิตสินค้าเพื่อขายให้จำเลยโดยตรงไม่ จึงเป็นการจ้างทำของไม่ใช่ซื้อขาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่โจทก์ผลิตแล้วส่วนหนึ่ง กับค่าเสียหายในส่วนสินค้าที่ยังไม่ได้ผลิตอีกส่วนหนึ่ง แต่สินค้าในส่วนแรกจำเลยยังไม่ได้รับมอบไปจากโจทก์ จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระสินจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ในส่วนนี้จึงถือเป็นการเรียกค่าเสียหายเท่ากับราคาสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยทำใบสั่งซื้ออันเป็นคำเสนอให้โจทก์ผลิตสินค้าไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ผลิตสินค้าตามคำเสนอเท่ากับโจทก์สนองรับโดยปริยาย สัญญาจ้างทำของจึงเกิดขึ้น ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสมุทรปราการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ดัดแปลง ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเพื่อให้ผู้ซื้อจดทะเบียนได้
จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และมีที่นั่ง 7 ที่นั่ง ซึ่งเป็นรถยนต์ดัดแปลงอันจะต้องเสียภาษีสรรสามิตด้วย โดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการดัดแปลง จึงมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าจากการดัดแปลงตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 144 เบญจ และต้องชำระภาษีดังกล่าวเมื่อการดัดแปลงสิ้นสุดลงตามมาตรา 144 จัตวา แม้หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ระบุให้เป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะดำเนินการใด ๆ ในการยื่นคำร้องขอโอนทะเบียนและเปลี่ยนแปลงชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนของทางราชการเอง ก็มิได้มีข้อตกลงว่าโจทก์จะเป็นผู้ชำระภาษีสรรพสามิตเอง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระภาษีดังกล่าว แต่เป็นหน้าที่ของจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้โจทก์สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถเป็นชื่อโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์มาเป็นชื่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์สามารถใช้รถยนต์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาซื้อขาย มิใช่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเพราะความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
of 71