คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 453

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญ + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ แม้ราคาทรัพย์สินไม่ใช่สาระสำคัญโดยตรง
การที่โจทก์ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ในราคา 4,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาทในราคา 52,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ก็ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีราคาท้องตลาดมากกว่า 36,000,000 บาท เป็นการทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดเพราะถูกนายหน้าขายที่ดินพิพาทหลอกลวง ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 กับพวกรู้ถึงการหลอกลวง การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเช่นนี้ แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เช่นเดียวกัน เมื่อนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมรายนี้เป็นโมฆะเพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาก่อน และพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยซื้อจากจำเลยแล้วจำเลยทำสัญญาเช่า แต่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจึงบอกเลิกการเช่า ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าและส่งมอบที่พิพาทคืน จำเลยให้การตอนแรกว่า ไม่เคยทำสัญญาขายหรือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ แต่จำเลยกลับให้การตอนหลังว่าถึงอย่างไรจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลานานแล้ว หรือหากฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทมาเกินกว่า 1 ปีแล้วซึ่งเท่ากับเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง และขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรก ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การของจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว จำเลยเช่าที่ดินพิพาทหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ และวินิจฉัยตามนั้น กับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปีหรือไม่ จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อขายที่ขัดแย้งกันระหว่างผู้ขายเดิมกับผู้ซื้อรายใหม่ ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน
คำเสนอขายรถยนต์พิพาทมี ส. ลงชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองแต่กรรมการของบริษัทมีเพียง ส. เท่านั้น ส. จึงมิได้เสนอขายเป็นส่วนตัว แม้จะมิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ในคำเสนอขายแต่การที่จำเลยที่ 1 เข้ารับประโยชน์โดยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ อ. ผู้เช่าซื้อ และเป็นผู้รับชำระราคาจากโจทก์ แสดงว่า ส. ทำคำเสนอขายรถยนต์พิพาทต่อโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ส. แล้ว การซื้อขายรถยนต์พิพาทจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ตกเป็นของโจทก์เมื่อได้ตกลงซื้อขายและชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ ก็หาทำให้การซื้อขายไม่สมบูรณ์ เพราะทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมของเจ้าพนักงานเท่านั้น
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทที่ขายให้โจทก์แล้วไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 อีกแม้จำเลยที่ 2 จะซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบก ระบุชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทไม่ เพราะกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์มิใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้แก่ผู้ใดได้อีกและการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 บัญญัติไว้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อกรมการขนส่งทางบกได้ แต่จะขอให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ได้เพราะจำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริต สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองบังคับคู่สัญญาได้ เพียงแต่ไม่อาจใช้ยันโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อขายซ้ำโดยผู้ไม่มีสิทธิ การเพิกถอนการจดทะเบียน
ตามคำเสนอขอเช่าซื้อที่ อ. ขอให้บริษัทโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาให้ อ. เช่าซื้อนั้นระบุชัดเจนว่า ให้โจทก์ซื้อจากบริษัทจำเลยที่ 1 หาได้ซื้อจาก ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวไม่ ทั้งการที่โจทก์ชำระราคารถยนต์ก็เป็นการชำระให้จำเลยที่ 1 โดยมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยที่ 1 ไว้ มิใช่ ส. เป็นผู้ออกหลักฐานการรับเงิน ดังนั้น แม้คำเสนอขายรถยนต์พิพาท ส. จะลงชื่อเป็นผู้เสนอขายโดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง แต่หนังสือรับรองก็ระบุกรมการของจำเลยที่ 1 ว่ามีเพียง ส. เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับประโยชน์ตามคำเสนอขายดังกล่าวโดยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ อ. ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์และเป็นผู้รับชำระราคารถยนต์จากโจทก์ แสดงให้เห็นว่า ส. ทำคำเสนอขายรถยนต์พิพาทต่อโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ส. แล้ว การซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทตกเป็นของโจทก์ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อของโจทก์ ก็หาทำให้การซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด เพราะการจดทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมของเจ้าพนักงานเท่านั้น การที่รถยนต์พิพาทหลุดไปจากการครอบครองของ อ. เพราะเกิดอุบัติเหตุ อ. จึงมอบรถยนต์ให้ ส. ที่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อซ่อม แต่ ส. ไม่คืนรถยนต์ดังกล่าวให้ แต่จำเลยที่ 1 กลับนำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่บริษัทจำเลยที่ 2 อีก แม้จำเลยที่ 2 จะซื้อโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน และนำรถยนต์ไปจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบก โดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทไม่ การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อกรมการขนส่งทางบกได้ แต่จะขอให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริต สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองบังคับคู่สัญญาได้ เพียงแต่ไม่อาจใช้ยันโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4446/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์: ตัวการต้องรับผิดต่อผู้ซื้อสุจริตแม้ยังไม่ได้รับเงินจากตัวแทน
การที่จำเลยที่ 2 ติดต่อขอซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1ส่งมอบรถยนต์ ณ สำนักงานของจำเลยที่ 2 หากมีลูกค้ามาติดต่อขอซื้อรถยนต์และจำเลยที่ 2 ขายได้แล้ว จำเลยที่ 2 จะส่งมอบเงินค่ารถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้แก่ลูกค้าผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ติดต่อขายรถยนต์ด้วยวิธีการดังกล่าวหลายครั้ง แสดงว่าขณะที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถยนต์พิพาทและเสนอขายให้แก่โจทก์นั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 ตลอดเวลาจนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้รับชำระเงินค่ารถยนต์พิพาทจากโจทก์และนำเงินดังกล่าวมาชำระราคาค่ารถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว พฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาท เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตมิให้ต้องเสื่อมเสียสิทธิอันเนื่องมาจากข้อตกลงของจำเลยทั้งสองเมื่อโจทก์ชำระราคาค่ารถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทให้แก่โจทก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความเสียหายจากรถยนต์: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่า ป. ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุในฐานะส่วนตัว มิได้ซื้อแทนห้างโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ ซึ่งย่อมเป็นสิทธิที่ ป. จะจัดการทรัพย์สินของตนเองได้ หาใช่ว่าหาก ป. ลงนามในนิติกรรมหรือสัญญาใด ๆ ทั้งที่มิได้ระบุว่าทำแทนโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์แล้วจะต้องถูกผูกพันว่าเป็นการกระทำการแทนโจทก์แต่อย่างใดไม่ และการที่ ป. นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปประกันวินาศภัยไว้กับบริษัท ส. หรือนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าแล่นในเส้นทางสายเชียงใหม่ - ขอนแก่นนั้น อาจเป็นวิธีจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของ ป. ก็เป็นได้ ประกอบกับคำบรรยายฟ้องโจทก์ยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาโดยตรง โดยมิได้บรรยายว่าโจทก์ซื้อรถดังกล่าวโดยให้ ป. เป็นคู่สัญญาแทนแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงจะสมบูรณ์ หากยังไม่ส่งมอบถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายระบุชื่อสัญญาว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายแต่เนื้อหาข้อตกลงในสัญญา ซึ่งตกลงกันว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขายแสดงว่าก่อนส่งมอบทรัพย์สินยังไม่มีการซื้อขาย ที่ดินที่ซื้อขายก็มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน การส่งมอบทรัพย์สินนอกจากจะส่งมอบตัวทรัพย์คือที่ดินแล้วยังต้องมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยและจำเลยจะชำระเงินส่วนที่เหลือในวันที่โจทก์ส่งมอบที่ดิน คู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง หามีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์โอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญาไม่ จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด: กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนทันทีหลังทำสัญญา แม้ยังไม่ได้ชำระเงินครบ
หนังสือสัญญาซื้อขายมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์ของกลางไปในราคา 90,000 บาท โดยผู้ซื้อจะทำการโอน ย้าย ต่อภาษี พระราชบัญญัติเองทุกอย่าง แสดงว่าหลังจากทำสัญญาแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์หมดภาระหน้าที่เกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์ของกลางอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ในสัญญาจะระบุว่า วันทำสัญญาผู้ซื้อวางมัดจำ 60,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปว่า หากไม่ชำระถือว่าผู้ซื้อผิดสัญญายอมให้ผู้ขายฟ้องร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวและยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญา แสดงว่าการชำระเงิน 2 งวดดังกล่าวเป็นเพียงการแบ่งชำระราคาซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเท่านั้น มิใช่เป็นการวางมัดจำ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการซื้อขายรถยนต์ของกลางระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางตกเป็นของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันทำสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดกับสิทธิในทรัพย์สินของบริษัท: ไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน/หนี้สินส่วนตัว
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1และเป็นบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 แม้ว่า ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์ และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใดในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลย หากโจทก์ชนะคดีเงินค่าสินค้าที่จำเลยชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์หามีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ เงินค่าสินค้าจึงไม่ใช่สินสมรสหรือเป็นมรดกของ ต. ผู้ร้องสอดทั้งสองมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้า จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะขอให้ศาลให้ความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดทั้งสองไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่โมฆียะ แม้จะถูกข่มขู่ หากการแจ้งหนี้และการงดจ่ายไฟเป็นสิทธิที่ทำได้ตามสัญญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใดๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่
of 71