พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย-จ้างทำของ: การตีความเจตนาของคู่สัญญาและการชำระภาษี
การตีความในสัญญาจะต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาประกอบกับถ้อยคำสำนวนในสัญญาด้วย แม้ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์พร้อมทั้งการติดตั้ง แต่ในตัวสัญญามิได้ระบุค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง และให้ถือว่าภาคผนวกแนบท้ายสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและได้กำหนดรายละเอียดราคาไว้ในภาคผนวกแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟท์แวร์เป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพย์สิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์ หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟท์แวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจน แสดงว่าเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบ กับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์แยกต่างหากจากกันเป็นสองลักษณะสัญญาในฉบับเดียวกันเมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าในส่วนของสัญญาจ้างทำของ จำเลยจึงไม่มีอำนาจแจ้งให้โจทก์เสียภาษีการค้าอีก ตามประมวลรัษฎากร ฯ มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ แม้กฎหมายจะบัญญัติให้คู่สัญญาตกลงกันให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรได้ แต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญาจำเลยก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายและจ้างติดตั้ง: การประเมินภาษีถูกต้องตามประเภทสัญญา
ในการตีความในสัญญานั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา ประกอบกับถ้อยคำสำนวนในสัญญาด้วย
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง
ตามสัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบพร้อมทั้งการติดตั้ง แม้ว่าในตัวสัญญาจะมิได้ระบุราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบแยกออกต่างหากจากราคาค่าแรงงานติดตั้ง แต่ตามภาคผนวกแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ระบุราคาของเครื่องชุมสายโทรศัพท์ทั้งแปดชุมสายว่าแต่ละชุมสายมีราคาเท่าใด อุปกรณ์ประกอบมีราคาเท่าใด ค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมคิดเป็นจำนวนเท่าใด โดยแยกออกจากกันชัดเจน และการขอรับเงินค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์กับค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรม ก็จะต้องกระทำแยกออกต่างหากจากกัน แสดงว่าคู่สัญญาซื้อขายมีเจตนาที่จะแยกค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออก ต่างหากจากค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมตั้งแต่การกำหนดราคาและการชำระราคา
ตามข้อสัญญาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ซื้อขายกันนี้มีการประกอบแล้วเสร็จและทำการทดสอบได้ตั้งแต่อยู่ที่โรงงานของผู้ขายในต่างประเทศก่อนส่งมาประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้แยกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อขนส่งมายังประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย โจทก์ได้ประกอบเข้าเป็นตู้แล้วนำอุปกรณ์เครื่องชุมสายโทรศัพท์เข้าสอดใส่แล้วปิดฝาพร้อมทั้งต่อสายเชื่อมระหว่างตู้ชุมสายแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงทดลองใช้ระบบโทรศัพท์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำการผลิตหรือทำวัตถุสิ่งใดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นการติดตั้งให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์ ที่กองทัพเรือซื้อจากโจทก์สามารถใช้งานได้เท่านั้น แม้ว่าในการประกอบติดตั้งระบบชุมสายโทรศัพท์ต้องใช้ เทคนิคเฉพาะ โจทก์เท่านั้นที่สามารถติดตั้งได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องทางเทคนิคซึ่งผู้ขายมีความรู้ในระบบของตนเองดีกว่า ผู้อื่นและต้องการเก็บรักษาเทคนิคของระบบเครื่องชุมสายโทรศัพท์ของตนเองไว้มิให้ล่วงรู้ไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ดังจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดการรักษาความลับและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในสัญญาว่า บรรดาสิทธิใน ปัญญาสมบัติ (Intellectual Property Right) ทั้งหมดในซอฟแวร์ซึ่งผู้ขายได้จัดหาให้แก่ผู้ซื้อภายใต้สัญญานี้ ยังคงเป็นทรัพย์สินของผู้ขายตลอดเวลา ก็มิได้หมายความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินเพื่อตอบแทนการชำระราคา เพราะสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับซอฟแวร์นั้นเป็นคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ใน เครื่องชุมสายโทรศัพท์ กรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์เป็นทรัพยสิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ ส่วนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาวัตถุแห่งสิทธิเป็นสิทธิเด็ดขาดของผู้สร้างสรรค์ที่จะหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้สิทธิที่เจ้าของงานสร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์กับซอฟแวร์ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องชุมสายโทรศัพท์เพื่อให้เครื่องชุมสายโทรศัพท์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อาจเป็นคนละคนกันก็ได้ การที่ผู้ขายขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์ให้แก่ผู้ซื้อโดยมีข้อยกเว้นไม่โอนสิทธิใน ซอฟแวร์ให้แก่ผู้ซื้อนั้น ไม่อาจตีความว่าคู่สัญญามิได้มุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องชุมสายโทรศัพท์แต่อย่างใด การที่คู่สัญญาได้แยกราคาค่าเครื่องชุมสายโทรศัพท์ออกจากราคาค่าแรงงานติดตั้งและค่าฝึกอบรมอย่างชัดเจนประกอบกับเหตุผลอื่น ๆ ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และกองทัพเรือเจตนาทำสัญญาซื้อขายเครื่องชุมสายโทรศัพท์และอุปกรณ์ประกอบกับสัญญาจ้างทำของคือติดตั้งเครื่องชุมสายโทรศัพท์รวม 8 ชุมสาย แยกต่างหากจากกันเป็น สองลักษณะสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกัน หาใช่คู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างทำของโดยตกลงให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสัมภาระไม่
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะ 4 ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนด แม้ว่าตาม ป. รัษฎากร มาตรา 107 วรรคหนึ่ง ผู้มีหน้าที่เสียอากรสามารถตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่มีหน้าที่เสียอากรให้เสียอากรแทนตนได้ และตามสัญญาพอแปลความได้ว่า ผู้ซื้อคือกองทัพเรือรับภาระที่จะเสียอากรแทนผู้ขายคือโจทก์ก็ตามแต่ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับที่จะเสียอากรตามสัญญาไม่ยอมเสียอากรโดยปิดแสตมป์ในตราสารหรือในสัญญา กรมสรรพากรก็ยังคงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บ ค่าอากรและค่าเพิ่มอากรจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรตาม ป. รัษฎากรอยู่นั่นเอง ส่วนข้อตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ผู้เสียอากรเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3763/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแม้ผู้ขายไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ก็ผูกพันตามสัญญาได้ หากเจตนาซื้อขายจริง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยอมตกลงทำสัญญาขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปให้ ส. เช่าซื้ออีกต่อหนึ่งนั้น เป็นวิธีการทำธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยที่ 1 และโจทก์เคยปฏิบัติต่อกันมาหลายครั้งแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์พิพาทขณะทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามสัญญาที่ได้แสดงเจตนาออกมานั้นจะอ้างว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับโจทก์เพื่อลวงหรือหลอกให้ผู้อื่นหลงผิดไม่ได้ เพราะผู้ขายไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะทำสัญญาซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิ และความแตกต่างระหว่างภาษีการค้ากับภาษีเงินได้นิติบุคคล
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกัน โดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่าย ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิ สำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศ การที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิด ปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัดเลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 453, 458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการรับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,350,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาท หากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาท หักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้ว ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12บาท การที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ตามหลักเกณฑ์สิทธิในภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีส่งออกสินค้าและวันในเอกสารไม่ตรงกัน
มาตรา 78 เบญจ และมาตรา 79 ทวิ(2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ เป็นบทบัญญัติในหมวดภาษีการค้าที่บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ แก่การจัดเก็บและชำระภาษีการค้าเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้ ในกรณีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะได้ เพราะหลักการเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันโดยภาษีการค้าเรียกเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่ายส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณจากรายได้ของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และในมาตรา 65 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิว่าให้ใช้หลักเกณฑ์สิทธิสำหรับยอดขายสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าไปต่างประเทศการที่โจทก์ออกใบกำกับสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของชนิดปริมาณ และราคาสินค้า แสดงว่า โจทก์ได้กำหนด คัด เลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขาย เป็นการแน่นอนแล้ว และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ463 ทั้งกรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453,458 และ 460 ดังนั้น การที่โจทก์ลงบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าหรือบันทึกยอดขายสินค้าพิพาท ในวันที่ 31 มีนาคม 2533ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับใบกำกับสินค้าและใบตราส่ง ถือได้ว่าเป็นการ รับรู้รายได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิแล้ว ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้รวมยอดซื้อวัตถุดิบซ้ำเข้าเป็นรายได้ในรอบระยะเวลา บัญชีที่พิพาทแล้ว และปรับปรุงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ จาก 22,250,261 บาท เป็น 20,349,534.81 บาทหากนำยอดขายสินค้าพิพาทจำนวน 3,571,152.31 บาทหักออกจากยอดที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงแล้วผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จะเป็นจำนวน 23,920,687.12 บาทการที่ศาลภาษีอากรมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปรับปรุงบัญชียอดซื้อวัตถุดิบซ้ำและให้คงยอดผลขาดทุนสุทธิของโจทก์ไว้เท่ากับ 22,350,261 บาท ตามที่โจทก์ขอ จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5711/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันชำระค่าไฟฟ้าค้างชำระจากเครื่องวัดชำรุด และอายุความของการเรียกร้องหนี้ค่าสาธารณูปโภค
ส. เป็นผู้ขอใช้ไฟฟ้าระบุสถานที่ใช้ไฟฟ้าคือบ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท พ.จำเลยที่2เมื่อส. ถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า จาก ส. มาเป็นชื่อจำเลยที่ 1 เมื่อบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นทั้งที่อยู่ของจำเลยที่ 1 และที่ทำการของจำเลยที่ 2 จึงต้อง ถือว่าจำเลยทั้งสองใช้ไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าดังกล่าวร่วมกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าไฟฟ้าแก่โจทก์ เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าอยู่นอกอาคารของจำเลยที่ 2 และ การที่เครื่องวัดหน่วยคลาดเคลื่อนมิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสอง ทั้งเครื่องวัดที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยไฟฟ้าก็ไม่สามารถแสดงค่าจำนวนหน่วยคลาดเคลื่อนว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด การที่โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าย้อนหลังโดยดูจากประวัติการใช้กระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ในเดือน มกราคม 2531 ซึ่งเป็นเดือนที่มียอดต่ำสุดมาเป็นเกณฑ์คาดคะเน ว่าเครื่องวัดหน่วยคลาดเคลื่อนตั้งแต่เดือนนั้นเป็นต้นไปเป็น หลักการคาดคะเนที่ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่าเครื่องวัด หน่วยคลาดเคลื่อนตั้งแต่เดือนดังกล่าว แต่เมื่อวันที่22 ตุลาคม 2531 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ตั้งไว้สายควบคุมเส้นสีแดงต่อเข้าหม้อแปลงหลวงไฟฟ้าลัดวงจร จึงถือว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุดตั้งแต่วันที่ไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2531 เป็นต้นไป กิจการของโจทก์เป็นกิจการสาธารณูปโภค และการฟ้องเรียก ค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยทั้งสองเป็นการเรียกหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า เพราะเหตุเครื่องวันหน่วยไฟฟ้าคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าขาดตกบกพร่อง ไป เมื่อคำนวณใหม่ให้ถูกต้องแล้วเรียกค่าใช้กระแสไฟฟ้า เพิ่มเติมในส่วนที่ขาด อายุความส่วนนี้มิได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงให้ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งเป็นกฎหมาย สารบัญญัติที่ใช้ขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายเช็ค-ใบเสร็จผูกพันนายจ้าง: ความรับผิดร่วมกันกรณีพนักงานยักยอกเงิน
จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์ตราไปรษณียากรที่ระลึกเพื่อการสะสมออกจำหน่ายโดยมีจำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1มีหน้าที่จำหน่ายและรับสั่งจองจากผู้ซื้อ โจทก์ติดต่อสั่งจองซื้อจากจำเลยที่ 2 และมอบเช็คเงินสดให้จำเลยที่ 2แม้โจทก์สั่งจ่ายเช็คเงินสดให้แก่ผู้ถือแทนที่จะสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จะผิดระเบียบ แต่ถ้าผู้รับสั่งจองคือจำเลยที่ 2 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ก็จะจัดส่งตราไปรษณียากรที่ระลึกให้โจทก์ ปัญหาจึงเกิดจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงิน จึงปฎิเสธการกระทำของจำเลยที่ 2หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินก็จะไม่ปฎิเสธโดยอ้างว่าเป็นใบเสร็จรับเงินปลอมหรือจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนืออำนาจเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบระเบียบแล้วจงใจฝ่าฝืน โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการสั่งซื้อ เหตุเกิดจากจำเลยที่ 1มิได้ควบคุมดูแลการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเช็คที่รับไว้ไปเรียกเก็บเงินและนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการผิดระเบียบหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 รับสั่งจองซื้อและรับเช็คเงินสดจากโจทก์จึงเป็นการปฎิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 โดยชอบมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7727/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโกโก้ผง: สิทธิบอกปัดสินค้าไม่ตรงตามสัญญา, อายุความ, และการส่งมอบตามคุณภาพ ไม่ใช่ตามตัวอย่าง
โจทก์เรียกค่าสินค้าคืนจากจำเลย พร้อมให้ชำระเบี้ยปรับและค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่มีการส่งมอบสินค้าถูกต้องตามสัญญาแล้วเกิดความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังโดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ตามสัญญาข้อ 9ดังนี้ โจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งเตือน ให้จำเลยส่งมอบสินค้าใหม่ก่อนยื่นคำฟ้อง ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวนขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้นแม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขาย กันตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีกแสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7727/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกปัดสินค้าไม่ตรงตามสัญญาซื้อขาย และหน้าที่คืนเงินค่าสินค้า
โจทก์เรียกค่าสินค้าคืนจากจำเลย พร้อมให้ชำระเบี้ยปรับและค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่มีการส่งมอบสินค้าถูกต้องตามสัญญาแล้วเกิดความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังโดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ตามสัญญาข้อ 9 ดังนี้ โจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบสินค้าใหม่ก่อนยื่นคำฟ้อง
ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวน ขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น แม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา
ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขายกันตามตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์ และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีก แสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวน ขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น แม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา
ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขายกันตามตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์ และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีก แสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนและกรรมการผู้มีอำนาจในหนี้จากการสั่งซื้อน้ำมันของบริษัท
แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และเป็นมารดาของ ก. จะได้ทำหนังสือรับใช้หนี้ให้แก่โจทก์แทน ก. โดยระบุไว้ในหนังสือฉบับดังกล่าวทำนองว่า เป็นการรับชดใช้หนี้ที่ ก. มีต่อโจทก์ ก็ตาม แต่โดยที่ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากโจทก์ และเป็นผู้เดียวซึ่งรับผิดชอบดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเช่นนี้ หนี้ตามหนังสือรับใช้หนี้แทนซึ่งจำเลยที่ 2 ทำไว้ย่อมหมายความถึงหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจำเลยที่ 1โดย ก. สั่งซื้อมาจากโจทก์แล้วยังมิได้ชำระราคา ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่โจทก์