พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนเมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมีสิทธิก่อนและอาจทำให้สับสน
คดีนี้โจทก์ฟ้องใจความว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าภาพลูกศรอยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส และเครื่องหมายการค้าภาพสมอเรือ ลูกศร อยู่ระหว่างอักษร N และ M กับคำว่า นิวมอส โดยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนแล้วกับสินค้าจำพวกที่ 25 และจำพวกที่ 16 ต่อมาจำเลยนำคำว่า มอส ประกอบภาพสมอเรือไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าประเภทชุดเครื่องแบบนักเรียน เสื้อ เสื้อกีฬา กางเกง และกางเกงกีฬา เช่นเดียวกับโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งต่อมาจำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้ง 3 เครื่องหมายทำให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสามดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเพราะเหตุว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนโดยไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดที่ต้องร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย มีลักษณะตัวอักษรของคำว่า มอส ที่ใช้ในเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยเป็นตัวอักษรหนาขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีเครื่องหมายการค้าใช้คำว่า ตรามอส ประกอบอยู่ด้วยในลักษณะเป็นการบ่งบอกยี่ห้อของสินค้า และเมื่อพิจารณาสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสามของจำเลยแล้ว พบว่าเป็นสินค้าจำพวกที่ 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง กระโปรง รองเท้า รองเท้าบู๊ท รองเท้าแตะ อันเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสามของโจทก์ดังกล่าวใช้คำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญเช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส เป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเหมือนกัน ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ส่วนประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยได้สิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว จำเลยรับว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า มอส เป็นคำประกอบในเครื่องหมายการค้าของเสื้อผ้าชุดนักเรียนของโจทก์ที่โจทก์เป็นผู้ผลิตและจัดส่งให้แก่จำเลยเพื่อนำไปจำหน่าย โดยโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ก่อนที่จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนี้ โจทก์จึงได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า มอส ที่ใช้กับสินค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า มอส ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า และการฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มิได้ฟ้องจำเลยร่วมตั้งแต่แรก
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนับระยะเวลาไว้เป็นพิเศษ การนับระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 เรื่องระยะเวลา อันเป็นบทบัญญัติทั่วไป ซึ่งตามมาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในงานนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวันที่ 5 สิงหาคม 2553 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง โดยการนับระยะเวลานั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นคือวันที่ 5 สิงหาคม 2553 รวมเข้าด้วยกัน จึงต้องเริ่มนับระยะเวลา 90 วัน โดยนับวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เป็นวันแรก ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว
เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลยร่วม โจทก์ต้องฟ้องจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ด้วยตั้งแต่ต้น เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในกรณีที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทคือจำเลยร่วมหาใช่จำเลยไม่ แม้จำเลยร่วมยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยภายหลังก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลยร่วม โจทก์ต้องฟ้องจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ด้วยตั้งแต่ต้น เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในกรณีที่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทคือจำเลยร่วมหาใช่จำเลยไม่ แม้จำเลยร่วมยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยภายหลังก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า - การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์แล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้า ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ประกอบด้วยรูปสุนัขพันธุ์บูลด็อก และคำว่า "BULLDOG" ที่ด้านล่างของรูปสุนัข ส่วนเครื่องหมายการค้า ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของก็เป็นรูปสุนัขพันธุ์บูลด็อก เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงต่างมีรูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกเป็นสาระสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมาย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในส่วนรูปสุนัขของทั้งสองเครื่องหมายเห็นได้ว่าเป็นรูปร่างลักษณะของสุนัขพันธุ์เดียวกันคือพันธุ์บูลด็อก ยืนหันหน้าในท่าเดียวกัน ขาทั้งสี่ข้างล้วนอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน และมีรายละเอียดต่าง ๆ ตรงกันจนไม่อาจสังเกตเห็นความแตกต่างของรูปสุนัขของทั้งสองเครื่องหมายได้อย่างชัดเจน และมีลักษณะคล้ายกับการลอกเลียนกันมา คงมีข้อแตกต่างกันเพียงแต่ในรายละเอียดอื่นที่ไม่ใช่รูปสุนัข โดยในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้มีเส้นตรงในแนวนอนลากผ่านด้านหลังขาทั้งสี่ช่วงล่างซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าสุนัขยืนอยู่บนพื้นราบ แต่รูปสุนัขในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของไม่มีเส้นตรงเช่นนั้นประกอบอยู่ด้วยเท่านั้น ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดีก็จะไม่พบความแตกต่างนี้ และแม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนไว้จะมีคำว่า "BULLDOG" ประกอบอยู่ด้วยโดยที่เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขที่โจทก์กล่าวอ้างถึงไม่มีคำดังกล่าวประกอบหรือในบางครั้งก็มีคำว่า "MIRKA" ประกอบอยู่ด้วยอันเป็นความแตกต่างอีกข้อหนึ่ง แต่เป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าภาคส่วนรูปสุนัขในเครื่องหมายการค้าเป็นสาระสำคัญและมีลักษณะโดดเด่นยิ่งกว่าคำประกอบเหล่านั้น การที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีรูปลักษณะของรูปสุนัขซึ่งปรากฏชัดเจนว่าเป็นสุนัขพันธุ์เดียวกันคือพันธุ์บูลด็อกในลักษณะที่คล้ายกับลอกเลียนกันมาดังกล่าว ย่อมทำให้สาธารณชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเช่นเดียวกันว่า "ตราสุนัข" หรือ "ตราหมา" หรือ "ตราหมาบูลด็อก" ได้ ด้วยความคล้ายกันอย่างมากโดยคล้ายกับลอกเลียนกันมาของรูปสุนัขดังกล่าว ประกอบกับความเป็นสาระสำคัญและลักษณะเด่นของรูปสุนัขในเครื่องหมายการค้าทั้งสองเช่นนี้ แม้จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของจำเลยไว้สำหรับใช้กับสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าที่โจทก์ส่งมาขายในประเทศไทยก็ตาม แต่สินค้าของโจทก์และของจำเลยต่างก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง ย่อมอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกันหรือมีแหล่งกำเนิดของสินค้ามาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน เครื่องหมายการค้า ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค227964 จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของและใช้กับสินค้าเครื่องมือที่ใช้ในการขัดถู ผ้าทรายและกระดาษทรายจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
โจทก์มีหลักฐานสำเนาหนังสือโต้ตอบ สำเนาใบสั่งซื้อสินค้า และสำเนาสัญญาตัวแทนจำหน่ายมาแสดงให้เห็นว่ามีการใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกกับสินค้าจำพวกกระดาษทราย ผ้าทราย และวัสดุที่ใช้ในการขัดถูในประเทศไทยผ่านทางตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2532 ในขณะที่จำเลยนอกจากจะไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์ผ่านตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ยังปรากฏว่าบริษัทที่จำเลยเคยเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการได้สั่งซื้อสินค้ากระดาษทรายของโจทก์มาจำหน่าย การที่โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้ากระดาษทรายและเครื่องมือเครื่องใช้ในการขัดถูโดยใช้เครื่องหมายการค้า มาตั้งแต่ปี 2486 การได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกในประเทศต่าง ๆ สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 และที่ 7 รวมทั้งจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งในเรื่องความเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกและการที่จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ดังกล่าว และจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า มาก่อนที่โจทก์จะส่งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่าย คงนำสืบเพียงว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. ซึ่งจดทะเบียนก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2527 โดยประกอบกิจการขายปลีกเครื่องมือช่างและเครื่องมือเกษตร รวมทั้งไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้อง กระดาษทราย และผ้าทราย แต่หลักฐานที่จำเลยอ้างว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่มีลักษณะเป็นเอกสารที่พิมพ์จากหน้าเว็บไซต์โฆษณาสินค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุวันเวลาลงโฆษณา ส่วนพยานหลักฐานอื่นก็เป็นหลักฐานการสั่งซื้อสินค้าอันเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์ในประเทศไทยแล้วทั้งสิ้น โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปพันธุ์สุนัขบูลด็อกก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปพันธุ์สุนัขบูลด็อก ทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค227964 แม้โจทก์จะยังไม่เคยนำสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยแต่สินค้าที่โจทก์นำมาจำหน่ายในประเทศไทยและสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องต่างก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง จึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกกับสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าโจทก์เป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเป็นแหล่งเดียว กับสินค้าของโจทก์ นอกจากนี้ เมื่อจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่จำเลยเริ่มยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ทะเบียนเลขที่ ค4208 อีกทั้งยังปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนดังกล่าวและที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค227964 คล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อก ที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ ประกอบกับจำเลยอยู่ในวงการค้าขายสินค้าเครื่องมือช่างก่อสร้างจำพวกกระดาษทราย ผ้าทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้อง จำเลยย่อมรู้จักเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครั้งแรกในปี 2535 กรณีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยจงใจนำเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค227964 ที่พิพาทในคดีนี้ดีกว่าจำเลย กรณีมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค227964 ของจำเลย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้ผู้มีส่วนได้เสียฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง และเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาห้าปีตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต้องนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 มิใช่นับแต่วันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน เมื่อจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 มีการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าววันที่ 15 มิถุนายน 2548 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 จึงไม่เกินกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 40 ส่วนระยะเวลาที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์เป็นกรณีของการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2535 ซึ่งจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ไม่ใช่การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นคดีนี้ อีกทั้งจำเลยขาดต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกและรายการเดิม แต่ก็ปรากฏว่ายังไม่ได้รับการจดทะเบียน กรณีดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับการนับระยะเวลาฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่พิพาทในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค227964 ภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67
เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกดีกว่าจำเลย การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับการใช้สินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องของจำเลย และนำสินค้านั้นออกขาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขของโจทก์กับสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องและสินค้าอื่นของจำเลย
รูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกและคำว่า "BULLDOG" ไม่ใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าเครื่องมือที่ใช้ในการขัดถู ผ้าทราย กระดาทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้อง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 เพราะสินค้าดังกล่าวมิใช่สินค้าสุนัขพันธุ์บูลด็อก แต่รูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกเป็นรูปที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (6) ส่วนคำว่า "BULLDOG" ก็ไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าเครื่องมือที่ใช้ในการขัดถู ผ้าทราย กระดาษทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องโดยตรง จึงเป็นคำที่มิได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรงอันมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) รูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกและคำว่า "BULLDOG" ย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าเครื่องมือที่ใช้ในการขัดถู ผ้าทราย กระดาษทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1)
โจทก์มีหลักฐานสำเนาหนังสือโต้ตอบ สำเนาใบสั่งซื้อสินค้า และสำเนาสัญญาตัวแทนจำหน่ายมาแสดงให้เห็นว่ามีการใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกกับสินค้าจำพวกกระดาษทราย ผ้าทราย และวัสดุที่ใช้ในการขัดถูในประเทศไทยผ่านทางตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ตั้งแต่ปี 2532 ในขณะที่จำเลยนอกจากจะไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์ผ่านตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ยังปรากฏว่าบริษัทที่จำเลยเคยเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการได้สั่งซื้อสินค้ากระดาษทรายของโจทก์มาจำหน่าย การที่โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้ากระดาษทรายและเครื่องมือเครื่องใช้ในการขัดถูโดยใช้เครื่องหมายการค้า มาตั้งแต่ปี 2486 การได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกในประเทศต่าง ๆ สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 และที่ 7 รวมทั้งจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งในเรื่องความเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกและการที่จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ดังกล่าว และจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า มาก่อนที่โจทก์จะส่งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่าย คงนำสืบเพียงว่าจำเลยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. ซึ่งจดทะเบียนก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2527 โดยประกอบกิจการขายปลีกเครื่องมือช่างและเครื่องมือเกษตร รวมทั้งไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้อง กระดาษทราย และผ้าทราย แต่หลักฐานที่จำเลยอ้างว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่มีลักษณะเป็นเอกสารที่พิมพ์จากหน้าเว็บไซต์โฆษณาสินค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุวันเวลาลงโฆษณา ส่วนพยานหลักฐานอื่นก็เป็นหลักฐานการสั่งซื้อสินค้าอันเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์ในประเทศไทยแล้วทั้งสิ้น โจทก์จึงเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปพันธุ์สุนัขบูลด็อกก่อนที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปพันธุ์สุนัขบูลด็อก ทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค227964 แม้โจทก์จะยังไม่เคยนำสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยแต่สินค้าที่โจทก์นำมาจำหน่ายในประเทศไทยและสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องต่างก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง จึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกกับสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าโจทก์เป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเป็นแหล่งเดียว กับสินค้าของโจทก์ นอกจากนี้ เมื่อจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่จำเลยเริ่มยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ทะเบียนเลขที่ ค4208 อีกทั้งยังปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนดังกล่าวและที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค227964 คล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อก ที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ ประกอบกับจำเลยอยู่ในวงการค้าขายสินค้าเครื่องมือช่างก่อสร้างจำพวกกระดาษทราย ผ้าทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้อง จำเลยย่อมรู้จักเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครั้งแรกในปี 2535 กรณีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยจงใจนำเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกของโจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค227964 ที่พิพาทในคดีนี้ดีกว่าจำเลย กรณีมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค227964 ของจำเลย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้ผู้มีส่วนได้เสียฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง และเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาห้าปีตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต้องนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 มิใช่นับแต่วันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน เมื่อจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 มีการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าววันที่ 15 มิถุนายน 2548 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 จึงไม่เกินกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 40 ส่วนระยะเวลาที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์เป็นกรณีของการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2535 ซึ่งจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ไม่ใช่การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นคดีนี้ อีกทั้งจำเลยขาดต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกและรายการเดิม แต่ก็ปรากฏว่ายังไม่ได้รับการจดทะเบียน กรณีดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับการนับระยะเวลาฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่พิพาทในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค227964 ภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67
เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกดีกว่าจำเลย การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับการใช้สินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องของจำเลย และนำสินค้านั้นออกขาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยไม่ชอบ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้ห้ามจำเลยมิให้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขของโจทก์กับสินค้าไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องและสินค้าอื่นของจำเลย
รูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกและคำว่า "BULLDOG" ไม่ใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าเครื่องมือที่ใช้ในการขัดถู ผ้าทราย กระดาทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้อง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 เพราะสินค้าดังกล่าวมิใช่สินค้าสุนัขพันธุ์บูลด็อก แต่รูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกเป็นรูปที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (6) ส่วนคำว่า "BULLDOG" ก็ไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าเครื่องมือที่ใช้ในการขัดถู ผ้าทราย กระดาษทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องโดยตรง จึงเป็นคำที่มิได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรงอันมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) รูปสุนัขพันธุ์บูลด็อกและคำว่า "BULLDOG" ย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าเครื่องมือที่ใช้ในการขัดถู ผ้าทราย กระดาษทราย และไฟเบอร์ตัดโลหะและกระเบื้องได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11233/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการขัดขวางการใช้เครื่องหมาย การฟ้องร้องต้องอาศัยเหตุแห่งการละเมิดที่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ระหว่างจำเลยทั้งสองและถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ขอให้จำเลยที่ 2 ถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ของจำเลยที่ 2 และขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดข้อตกลงตามสัญญาให้ใช้สิทธิ โดยมิได้อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ดีกว่าจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยทั้งสองมิได้ฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์หรือไม่
การที่จำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ให้โจทก์และผู้เกี่ยวข้องระงับการใช้ แสดง จำหน่าย สั่งเข้า มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากเพิกเฉยจะดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ใช้ ผู้ละเมิดสิทธิ ผู้เลียน ผู้ปลอม ผู้ลวงขายสินค้าดังกล่าวโดยมิชอบจนถึงที่สุด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ หรือโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในขณะฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่อาจขอบังคับให้ห้ามกระทำการใดที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
การที่จำเลยที่ 1 คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่อาจถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือขัดขวางหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE"
การที่จำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ให้โจทก์และผู้เกี่ยวข้องระงับการใช้ แสดง จำหน่าย สั่งเข้า มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากเพิกเฉยจะดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ใช้ ผู้ละเมิดสิทธิ ผู้เลียน ผู้ปลอม ผู้ลวงขายสินค้าดังกล่าวโดยมิชอบจนถึงที่สุด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ หรือโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในขณะฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่อาจขอบังคับให้ห้ามกระทำการใดที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
การที่จำเลยที่ 1 คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่อาจถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือขัดขวางหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916-5917/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: สัญญาและผลผูกพัน, การคัดค้านการจดทะเบียน, ศาลแก้ไขคำพิพากษา
ที่ผู้ร้องสอดโต้แย้งโจทก์เกี่ยวกับสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีมีปัญหาตีความข้อความในสัญญา และตามอุทธรณ์ของผู้ร้องสอดก็ไม่ปรากฏว่ามีความจำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องนำสืบพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงใด เมื่อข้อความในสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยตีความข้อสัญญาได้ ย่อมไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไป ส่วนในปัญหาว่าเครื่องหมายบริการคำว่า "METALEX" ของโจทก์กับเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการหรือไม่ ตามรูปคดีและลักษณะของเครื่องหมายบริการดังกล่าวก็สามารถวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความคล้ายกันหรือไม่ได้แล้วโดยไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอีกต่อไปเช่นกัน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้โดยชอบตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และ 104 วรรคหนึ่ง
ข้อความในสัญญายุติข้อพิพาท ข้อ 2 (b) ไม่มีข้อความเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และในส่วนข้อความเกี่ยวกับการใช้คำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดที่ตกลงกันเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นที่คล้ายกับคำว่า "METALEX" น้อยลง ล้วนเป็นข้อตกลงในเรื่องการกระทำหรืองดเว้นกระทำการซึ่งแตกต่างจากการแสดงเจตนาสละประเด็นข้อพิพาท จึงไม่อาจแปลข้อความสัญญายุติข้อพิพาทถึงขนาดว่าโจทก์และผู้ร้องสอดตกลงสละประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ ของโจทก์และเครื่องหมายบริการ "METALTECH" ของผู้ร้องสอดมีการใช้คำในส่วนภาคสำคัญคล้ายกัน ประกอบกับโจทก์ยังเป็นผู้มีสิทธิห้ามผู้ร้องสอดใช้เครื่องหมายบริการตามสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความ และการที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่ใช้คำว่า METALTECH ก็เพื่อให้เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายบริการนี้สำหรับบริการประเภทเดียวกับโจทก์ตามที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ซึ่งการใช้เครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด จึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 และแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยในคดีนี้โดยตรง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีผลให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าและมีสิทธิห้ามผู้ร้องสอด ทั้งมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดด้วย และเมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนให้แล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอด จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดโดยสมัครใจเองเพื่อยังให้ผู้ร้องสอดได้รับความรับรองและคุ้มครองอันมีผลให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ถือเสมือนหนึ่งว่าคดีในส่วนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพื่อร้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดได้
ในชั้นพิจารณาคำคัดค้านของโจทก์โดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิดีกว่า ซึ่งย่อมต้องนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในการที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่า มิใช่จะถือเพียงว่าสัญญาดังกล่าวรวมทั้งคำพิพากษาตามยอมนั้นไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของผู้ร้องสอดไม่ถูกต้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ข้อความในสัญญายุติข้อพิพาท ข้อ 2 (b) ไม่มีข้อความเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และในส่วนข้อความเกี่ยวกับการใช้คำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดที่ตกลงกันเปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นที่คล้ายกับคำว่า "METALEX" น้อยลง ล้วนเป็นข้อตกลงในเรื่องการกระทำหรืองดเว้นกระทำการซึ่งแตกต่างจากการแสดงเจตนาสละประเด็นข้อพิพาท จึงไม่อาจแปลข้อความสัญญายุติข้อพิพาทถึงขนาดว่าโจทก์และผู้ร้องสอดตกลงสละประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทในการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายบริการ ของโจทก์และเครื่องหมายบริการ "METALTECH" ของผู้ร้องสอดมีการใช้คำในส่วนภาคสำคัญคล้ายกัน ประกอบกับโจทก์ยังเป็นผู้มีสิทธิห้ามผู้ร้องสอดใช้เครื่องหมายบริการตามสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความ และการที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่ใช้คำว่า METALTECH ก็เพื่อให้เป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายบริการนี้สำหรับบริการประเภทเดียวกับโจทก์ตามที่ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 ซึ่งการใช้เครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH เช่นนี้ย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด จึงมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 และแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยในคดีนี้โดยตรง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีผลให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าและมีสิทธิห้ามผู้ร้องสอด ทั้งมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดด้วย และเมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความโดยอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการคำว่า METALTECH ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับจดทะเบียนให้แล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอด จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดขอเข้าเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดโดยสมัครใจเองเพื่อยังให้ผู้ร้องสอดได้รับความรับรองและคุ้มครองอันมีผลให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ถือเสมือนหนึ่งว่าคดีในส่วนระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเพื่อร้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของผู้ร้องสอดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายบริการดีกว่าผู้ร้องสอด ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "METALTECH" ของผู้ร้องสอดได้
ในชั้นพิจารณาคำคัดค้านของโจทก์โดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิดีกว่า ซึ่งย่อมต้องนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในการที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทำสัญญายุติข้อพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้นมาใช้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่า มิใช่จะถือเพียงว่าสัญญาดังกล่าวรวมทั้งคำพิพากษาตามยอมนั้นไม่มีผลผูกพันนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของผู้ร้องสอดไม่ถูกต้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22312/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายบริการ: การใช้ชื่อทางการค้า 'Hôtel Plaza Athénée' ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ และไม่มีความสับสนในทางการค้า
โจทก์กล่าวอ้างว่าผลของสัญญาซื้อขายหุ้นทำขึ้นโดยคู่สัญญาที่มิได้มีสัญชาติไทยและมิได้ทำขึ้นในประเทศไทยจึงต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ โจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยบังคับ
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6113/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนใหม่ที่คล้ายคลึงกัน การกระทำที่ไม่สุจริต
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลที่จะพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้โดยไม่ต้องบังคับต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีเช่นนี้ ในขั้นตอนภายหลังจากที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสั่งให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้จดทะเบียนไว้แล้วได้เป็นอีกกรณีหนึ่ง ต่างหากจากกรณีที่จะใช้สิทธิคัดค้านในระหว่างการพิจารณาคำขอจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยไม่มีบทบัญญัติจำกัดว่าการใช้สิทธิตามมาตรา 67 นี้จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ใช้สิทธินั้นได้คัดค้านในชั้นพิจารณาคำขอจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วแต่อย่างใด
การแจ้งและการรับแจ้งลงในบัญชีแสดงการรับแจ้งเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติบังคับให้เจ้าของเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปต้องแจ้งและมีการลงบัญชีเช่นว่านี้ โดยหากไม่แจ้งไว้ให้ถือว่าไม่เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปแต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่ใช้คำว่า "Watson's" และ "Watsons" เป็นสาระสำคัญโดยการเห็นคำดังกล่าวและเรียกขานคำดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการสังเกตจดจำว่าเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่จดทะเบียนไว้ก็มีคำว่า "Watson" เป็นสาระสำคัญแม้จะมีอักษรโรมันว่า "WS" ในเส้นวงรีประกอบก็มีลักษณะเป็นอักษรย่อของคำว่า "Watson" นั่นเอง และมีลักษณะเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนสำคัญในการสังเกตและเรียกขานที่คำว่า "Watson" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าว จึงย่อมมีเหตุที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเดียวกันได้ ทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 662878 แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังไม่มีคำสั่งให้จดทะเบียน จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้เสียเองจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยที่ 1 การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนนี้ของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้เพื่อมิให้เสียหายแก่โจทก์ต่อไป โดยหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งอัตราค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้แก่ผู้ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องไม่เกิน 3,000 บาท ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เป็นเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้องแม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เมื่อเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
การแจ้งและการรับแจ้งลงในบัญชีแสดงการรับแจ้งเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติบังคับให้เจ้าของเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปต้องแจ้งและมีการลงบัญชีเช่นว่านี้ โดยหากไม่แจ้งไว้ให้ถือว่าไม่เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปแต่อย่างใด
เมื่อเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่ใช้คำว่า "Watson's" และ "Watsons" เป็นสาระสำคัญโดยการเห็นคำดังกล่าวและเรียกขานคำดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการสังเกตจดจำว่าเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่จดทะเบียนไว้ก็มีคำว่า "Watson" เป็นสาระสำคัญแม้จะมีอักษรโรมันว่า "WS" ในเส้นวงรีประกอบก็มีลักษณะเป็นอักษรย่อของคำว่า "Watson" นั่นเอง และมีลักษณะเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนสำคัญในการสังเกตและเรียกขานที่คำว่า "Watson" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าว จึงย่อมมีเหตุที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเดียวกันได้ ทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 คล้ายกับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 662878 แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังไม่มีคำสั่งให้จดทะเบียน จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้เสียเองจึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยที่ 1 การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนนี้ของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ได้เพื่อมิให้เสียหายแก่โจทก์ต่อไป โดยหากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติก็ชอบที่จะใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งอัตราค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้แก่ผู้ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องไม่เกิน 3,000 บาท ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เป็นเงิน 40,000 บาท จึงไม่ถูกต้องแม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เมื่อเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7203/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้ก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยรูปสุนัข และคำว่า "BULLDOG" ที่ด้านล่างของรูปสุนัข ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมก็เป็นรูปสุนัข เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงต่างมีรูปสุนัขเป็นสาระสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมาย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบก็เห็นได้ว่าเป็นรูปสุนัขยืนหันหน้าในท่าเดียวกัน รูปร่างลักษณะของสุนัขเป็นสุนัขพันธ์เดียวกันและคล้ายกันมากจนอาจเรียกได้ว่าเกือบเหมือนกัน ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดีก็จะไม่พบความแตกต่าง แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีคำว่า "BULLDOG" ประกอบอยู่ด้วย ก็เห็นได้ชัดว่ารูปสุนัขเป็นสาระสำคัญและมีลักษณะโดดเด่นยิ่งกว่าคำประกอบ ทั้งรูปสุนัขก็ชัดเจนว่าเป็นสุนัขพันธุ์บูลด็อก สาธารณชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยร่วมเช่นเดียวกันว่า "ตราสุนัข" หรือ "ตราหมา" หรือ "ตราหมาบูลด็อก" เมื่อนำมาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดได้ว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกันหรือมีแหล่งกำเนิดของสินค้าจากแหล่งเดียวกัน เมื่อได้ความว่าจำเลยร่วมเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของต่างประเทศ เป็นผู้เชี่ยวชาญประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงขัดหรือผงทรายแบบยืดหยุ่น โดยใช้รูปสุนัขที่ผู้ก่อตั้งบริษัทจำเลยร่วมได้คิดประดิษฐ์เป็นเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าของจำเลยร่วมมาตลอด และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลกตั้งแต่ปี 2529 ในปี 2532 จำเลยร่วมได้นำสินค้าของจำเลยร่วมเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ผ่านบริษัทในประเทศไทยเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยในขณะนั้นมีโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่โจทก์จะนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในปี 2535 แสดงว่าจำเลยร่วมได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปสุนัขบูลด็อกในประเทศไทยมาก่อนโจทก์ ทั้งการที่โจทก์เคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยร่วม โจทก์ย่อมรู้จักเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมมาก่อนที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เชื่อว่าโจทก์จงใจนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมมาขอจดทะเบียน เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้โจทก์จะเคยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแต่ขาดต่ออายุก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยร่วม จึงไม่มีเหตุสมควรที่โจทก์จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามคำขอได้ กรณีไม่ถือว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะขัดต่อรัฐประศาสโนบาย อันต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (9) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ เพราะการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดขัดต่อรัฐประศาสโนบายตามบทบัญญัติมาตรานี้ต้องพิจารณาจากลักษณะที่ปรากฏอยู่ในตัวเครื่องหมายซึ่งเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุนั้นเอง ที่ทำให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเห็นได้อย่างชัดเจนว่าขัดต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าวในอนุมาตราหนึ่งมาตราใดหรือไม่ มิใช่เป็นกรณีของการนำเครื่องหมายการค้ามาขอจดทะบียนโดยไม่ชอบหรือโดยไม่สุจริตเพราะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่อาจเห็นจากลักษณะของตัวเครื่องหมายที่นำมาขอจดทะเบียนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ซึ่งเคยส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยอันเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 และการที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเป็นการใช้สิทธิตามปกติ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อนึ่ง บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยไปดำเนินการเพิกถอนคำขอจดทะเบียนหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาบังคับให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ตามคำขอเลขที่ 575049 ทะเบียนเลขที่ ค 267771 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
อนึ่ง บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยไปดำเนินการเพิกถอนคำขอจดทะเบียนหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาบังคับให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ตามคำขอเลขที่ 575049 ทะเบียนเลขที่ ค 267771 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด
คำว่า "เทวารัณย์" เป็นคำที่มีความหมายตามพจนานุกรมว่าสวนสวรรค์ จึงเป็นคำที่มีอยู่แล้วและใช้กันได้เป็นการทั่วไป ดังนี้ย่อมไม่มีเหตุอันควรที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือสิทธิในการใช้คำนี้แต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาด บุคคลอื่นย่อมยังสามารถใช้คำคำนี้ได้ เพียงแต่ต้องกระทำโดยสุจริตโดยไม่ทำให้เกิดความสับสนหลงผิดหรือเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ได้ใช้คำคำนี้เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือชื่อทางการค้ามาก่อน
ก่อนที่จำเลยจะใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" กับโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรของจำเลย ในเดือนมกราคม 2547 นั้น แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการโดยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" แต่ก็เป็นการจดทะเบียนไว้สำหรับบริการประเภทอื่นคนละประเภทกับกิจการของจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการสำหรับสินค้าและบริการที่จดทะเบียนไว้นั้นเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 จึงยังไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ในกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยได้
โจทก์ใช้คำ "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" ประกอบกับคำว่า "สปา" และ "SPA" ซึ่งช่วยสื่อความหมายถึงกิจการให้บริการด้านสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติอันเป็นกิจการหลักของโจทก์ที่ดำเนินการอยู่ ส่วนจำเลยใช้คำว่า "บ้าน" และ "Baan" ประกอบกับคำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ซึ่งก็สื่อความหมายถึงการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยที่เป็นกิจการคนละประเภทกับโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่ประชาชนที่สนใจใช้บริการของโจทก์หรือบริการของจำเลยจะสับสนหลงผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์แต่อย่างใด
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของโจทก์ บริษัทโจทก์มีทุนจดทะเบียน 8,000,000 บาท ส่วนตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของจำเลย จำเลยมีทุนจดทะเบียนมากถึง 90,000,000 บาท ลักษณะกิจการของจำเลยที่ปรากฏในเอกสารการโฆษณาที่จัดสรรที่ดินและบ้านขายในราคาสูงมาก แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงและเป็นกิจการขนาดใหญ่ ขณะที่กิจการของโจทก์กลับไม่ปรากฏพยานหลักฐานให้เห็นว่าเป็นกิจการขนาดใหญ่ดังเช่นกิจการของจำเลย ย่อมไม่มีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จำเลยประกอบกิจการที่ใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านของจำเลยโดยมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงที่มีอยู่ในชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การที่จำเลยใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์และไม่เป็นการทำให้เสียหายต่อการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์
เมื่อการใช้คำว่า "เทวารัณย์ สปา" และ "DEVARANA SPA" ของโจทก์กับการใช้คำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" ของจำเลยไม่ว่าจะใช้เป็นชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการในกิจการค้าของโจทก์และจำเลยแตกต่างกันและลักษณะคำที่ใช้ประกอบกันเป็นคำรวมดังกล่าวของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกัน จึงเชื่อได้ว่าการใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการของแต่ละฝ่ายไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการของผู้ให้บริการแต่ละฝ่าย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีสิทธิในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ดีกว่าโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67
ก่อนที่จำเลยจะใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" กับโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรของจำเลย ในเดือนมกราคม 2547 นั้น แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการโดยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" แต่ก็เป็นการจดทะเบียนไว้สำหรับบริการประเภทอื่นคนละประเภทกับกิจการของจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการสำหรับสินค้าและบริการที่จดทะเบียนไว้นั้นเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 จึงยังไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ในกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยได้
โจทก์ใช้คำ "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" ประกอบกับคำว่า "สปา" และ "SPA" ซึ่งช่วยสื่อความหมายถึงกิจการให้บริการด้านสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติอันเป็นกิจการหลักของโจทก์ที่ดำเนินการอยู่ ส่วนจำเลยใช้คำว่า "บ้าน" และ "Baan" ประกอบกับคำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ซึ่งก็สื่อความหมายถึงการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยที่เป็นกิจการคนละประเภทกับโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่ประชาชนที่สนใจใช้บริการของโจทก์หรือบริการของจำเลยจะสับสนหลงผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์แต่อย่างใด
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของโจทก์ บริษัทโจทก์มีทุนจดทะเบียน 8,000,000 บาท ส่วนตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของจำเลย จำเลยมีทุนจดทะเบียนมากถึง 90,000,000 บาท ลักษณะกิจการของจำเลยที่ปรากฏในเอกสารการโฆษณาที่จัดสรรที่ดินและบ้านขายในราคาสูงมาก แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงและเป็นกิจการขนาดใหญ่ ขณะที่กิจการของโจทก์กลับไม่ปรากฏพยานหลักฐานให้เห็นว่าเป็นกิจการขนาดใหญ่ดังเช่นกิจการของจำเลย ย่อมไม่มีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จำเลยประกอบกิจการที่ใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านของจำเลยโดยมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงที่มีอยู่ในชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การที่จำเลยใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์และไม่เป็นการทำให้เสียหายต่อการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์
เมื่อการใช้คำว่า "เทวารัณย์ สปา" และ "DEVARANA SPA" ของโจทก์กับการใช้คำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" ของจำเลยไม่ว่าจะใช้เป็นชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการในกิจการค้าของโจทก์และจำเลยแตกต่างกันและลักษณะคำที่ใช้ประกอบกันเป็นคำรวมดังกล่าวของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกัน จึงเชื่อได้ว่าการใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการของแต่ละฝ่ายไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการของผู้ให้บริการแต่ละฝ่าย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีสิทธิในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ดีกว่าโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67