พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า การลวงขายสินค้า และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ++
++ ทดสอบตัดต่องานในเครื่องเท่านั้น ++
++ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่านั้น เป็นการฟ้องร้องตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเคยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง แต่หลังจากครบกำหนดอายุ 10 ปี จำเลยมิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยเพิ่งขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใหม่ และได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 จึงยังไม่เกิน 5 ปี คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยมิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำสามัญที่มีความหมายหรือคำแปลหรือเป็นคำที่ใช้โดยทั่วไป ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ การที่โจทก์อนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และอนุญาตให้ดัดแปลงเครื่องหมายการค้าและรูปแบบซองบรรจุสินค้าได้นั้น เป็นสิทธิที่โจทก์ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะทำได้ มิได้เป็นการแสดงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ++
++ เครื่องหมายการค้าชุดแรกของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีอักษรภาษรญี่ปุ่นเหมือนกัน คงมีแตกต่างกันคือ อักษรตัวแรกของเครื่องหมายการค้า โดยของโจทก์และโจทก์ร่วมตัวแรกมีขีดเฉียงด้านบน 1 เส้น ส่วนของจำเลยไม่มีขีด ส่วนคำอักษรโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมใช้คำว่า "cha" ของจำเลยใช้คำว่า "Na" ซึ่งอยู่ในวงกลมพื้นสีดำ ส่วนเครื่องหมายการค้าชุดหลังของจำเลยมีรูปภาพประกอบคือสตรีกำลังวาดรูปดอกไม้ ส่วนของโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นรูปสตรีกำลังวาดแบบเสื้อ เมื่อพิจารณาข้อความภาษาญี่ปุ่นกับการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก คงแตกต่างเฉพาะอักษรภาษาญี่ปุ่นตัวแรก ย่อมทำให้ประชาชนผู้พบเห็นหลงผิดได้ว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ทั้งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแล้ว ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม อาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดในความเป็นเจ้าของได้ ++
++ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อใช้กับสินค้าประเภทกระดาษและกระดาษลอกลายที่ประเทศญี่ปุ่น และได้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าดังกล่าวเรื่อยมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปี รวมทั้งได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่นจนแพร่หลาย คนทั่วไปรู้จักสินค้าของโจทก์ดี และในประเทศไทยก็มีผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายจนเป็นที่นิยม ต่อมาในปี 2512 โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมในสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนจำเลยแม้จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยเมื่อปี 2522 ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ จึงเป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าประเภทกระดาษลอกลาย
++ สินค้ากระดาษลอกลายของโจทก์มีผู้สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้นิยมใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว ส่วนจำเลยเริ่มใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในนามบริษัทของจำเลยเมื่อปี 2535 ลักษณะสีสันและเครื่องหมายการค้าที่พิมพ์อยู่บนซองบรรจุสินค้าก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์มาก ย่อมทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการลวงขายสินค้า ทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมเสียหาย แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย โจทก์และโจทก์ร่วมก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ และมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสอง ++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ++
++ ทดสอบตัดต่องานในเครื่องเท่านั้น ++
++ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่านั้น เป็นการฟ้องร้องตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเคยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง แต่หลังจากครบกำหนดอายุ 10 ปี จำเลยมิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยเพิ่งขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใหม่ และได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 จึงยังไม่เกิน 5 ปี คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยมิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำสามัญที่มีความหมายหรือคำแปลหรือเป็นคำที่ใช้โดยทั่วไป ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ การที่โจทก์อนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และอนุญาตให้ดัดแปลงเครื่องหมายการค้าและรูปแบบซองบรรจุสินค้าได้นั้น เป็นสิทธิที่โจทก์ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะทำได้ มิได้เป็นการแสดงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ++
++ เครื่องหมายการค้าชุดแรกของโจทก์และโจทก์ร่วมกับของจำเลยมีอักษรภาษรญี่ปุ่นเหมือนกัน คงมีแตกต่างกันคือ อักษรตัวแรกของเครื่องหมายการค้า โดยของโจทก์และโจทก์ร่วมตัวแรกมีขีดเฉียงด้านบน 1 เส้น ส่วนของจำเลยไม่มีขีด ส่วนคำอักษรโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมใช้คำว่า "cha" ของจำเลยใช้คำว่า "Na" ซึ่งอยู่ในวงกลมพื้นสีดำ ส่วนเครื่องหมายการค้าชุดหลังของจำเลยมีรูปภาพประกอบคือสตรีกำลังวาดรูปดอกไม้ ส่วนของโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นรูปสตรีกำลังวาดแบบเสื้อ เมื่อพิจารณาข้อความภาษาญี่ปุ่นกับการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก คงแตกต่างเฉพาะอักษรภาษาญี่ปุ่นตัวแรก ย่อมทำให้ประชาชนผู้พบเห็นหลงผิดได้ว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ทั้งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแล้ว ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม อาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดในความเป็นเจ้าของได้ ++
++ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อใช้กับสินค้าประเภทกระดาษและกระดาษลอกลายที่ประเทศญี่ปุ่น และได้ใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าดังกล่าวเรื่อยมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปี รวมทั้งได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่นจนแพร่หลาย คนทั่วไปรู้จักสินค้าของโจทก์ดี และในประเทศไทยก็มีผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายจนเป็นที่นิยม ต่อมาในปี 2512 โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วมในสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนจำเลยแม้จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยเมื่อปี 2522 ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ จึงเป็นการที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าประเภทกระดาษลอกลาย
++ สินค้ากระดาษลอกลายของโจทก์มีผู้สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้นิยมใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว ส่วนจำเลยเริ่มใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในนามบริษัทของจำเลยเมื่อปี 2535 ลักษณะสีสันและเครื่องหมายการค้าที่พิมพ์อยู่บนซองบรรจุสินค้าก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์มาก ย่อมทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการลวงขายสินค้า ทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมเสียหาย แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย โจทก์และโจทก์ร่วมก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ และมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสอง ++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นระยะเวลาฟ้อง และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้หากศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้หาใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งหากศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่8ตุลาคม2529ซึ่งมีพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวดังนี้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา41(1)ดังกล่าวอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทหาใช่บทบัญญัติมาตรา67แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้นปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดีกรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: บทบัญญัติที่ใช้บังคับและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกา
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ หากศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้ หาใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา225 ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 ซึ่งมี พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา 41 (1) ดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่บทบัญญัติมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้น ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2529 ซึ่งมี พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา 41 (1) ดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่บทบัญญัติมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้น ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้