คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตรวจสอบสภาพยานพาหนะ & เหตุสุดวิสัย
ผู้ที่นำยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลมาใช้ในทางมีหน้าที่ต้องตรวจสอบรักษาเปลี่ยนแก้ให้เครื่องจักรกลอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงใช้การได้โดยปลอดภัยเสมอ จำเลยไม่มีพยานแสดงว่าเหตุที่เรียกว่าเบรคแตกไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว จึงอ้างเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเกษียณอายุ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้เป็นการขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง มีความว่า "การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯลฯ" และวรรคสามมีความว่า "ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น หรือลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่า ให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันและยังอยู่ในระยะเวลานั้น" ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้ากฎหมายมีความประสงค์ที่จะไม่ให้ถือว่าการเลิกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเพราะเหตุอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์เป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว ก็ย่อมจะแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงมหาดไทยระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ได้ดังตัวอย่างในวรรคสาม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงานฯ ข้อ 2 คำว่า "ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่การจ่ยเงินบำเหน็จนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยนั้นมิได้มีลักษณะที่แสดงว่ามุ่งหมายจะจ่ายให้อย่างค่าชดเชย หากแต่เป็นเงินซึ่งจ่ายให้แก่ลูกจ้างในลักษณะที่เป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนการที่ได้ทำงานมาโดยไม่มีความผิดทางวินัยจนกระทั่งออกจากงาน หรือลาออกเอง หรือถึงแก่กรรมด้วย และหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินก็แตกต่างกับการจ่ายค่าชดเชย เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย จึงเป็นเงินประเภทอื่นที่กล่าวไว้ในบทนิยามคำว่า "ค่าชดเชย" จำเลยจะขอให้ถือการที่จำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์เป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุครบ 60 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46วรรคสอง มีความว่า 'การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่าการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดตามข้อ 47แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯลฯ'และวรรคสามมีความว่า 'ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นหรือลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่า ให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันและยังอยู่ในระยะเวลานั้น' ดังนี้ จะเห็นได้ว่าถ้ากฎหมายมีความประสงค์ที่จะไม่ให้ถือว่าการเลิกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเพราะเหตุอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์เป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว ก็ย่อมจะแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงมหาดไทยระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ได้ดังตัวอย่างในวรรคสาม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2คำว่า'ค่าชดเชย' หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยนั้นมิได้มีลักษณะที่แสดงว่ามุ่งหมายจะจ่ายให้อย่างค่าชดเชย หากแต่เป็นเงินซึ่งจ่ายให้แก่ลูกจ้างในลักษณะที่เป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนการที่ได้ทำงานมาโดยไม่มีความผิดทางวินัยจนกระทั่งออกจากงาน หรือลาออกเอง หรือถึงแก่กรรมด้วยและหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินก็แตกต่างกับการจ่ายค่าชดเชย เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย จึงเป็นเงินประเภทอื่นที่กล่าวไว้ในบทนิยามคำว่า'ค่าชดเชย'จำเลยจะขอให้ถือการที่จำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์เป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการมีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจำเลยและลูกจ้าง
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่าง ๆแม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจนำข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้าง โจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3063/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและลูกจ้าง แม้คำสั่งเลิกจ้างก่อนมี พ.ร.บ.แรงงานฯ
โรงงานกระสอบป่านเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปในกิจการของโรงงานกระสอบป่าน มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งคณะหรือรายบุคคล คณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อจำเลย จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งต่างๆ แม้แต่การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นไปตามความเห็นชอบของจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรงงานขึ้นก็เพื่อให้คณะกรรมการรับมอบหน้าที่ไปทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับโจทก์
การที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่อาจข้อกล่าวที่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและขอให้ยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์มาฟ้องยังศาลแรงงานนั้น เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มิได้รวมไปถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินเดือนและบำเหน็จซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้ตามมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยมีนิติสัมพันธ์อยู่กับโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานภายใต้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้
แม้ลูกจ้างจะมีสิทธินัดหยุดงานได้ เพราะเป็นวิธีเดียวที่ลูกจ้างสามารถใช้เป็นฐานอำนาจในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างแต่จะต้องอยู่ในกรอบบังคับของกฎหมาย มิใช่ว่าจะใช้สิทธิได้เสมอไป สิทธินัดหยุดงานจะเกิดขึ้นหรือมีขึ้นได้ เมื่อลูกจ้างได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ใน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน แล้วนายจ้างกับลูกจ้างไม่อาจตกลงกันได้โดยถือว่าข้อพิพาทแรงงานนั้นเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิ นัดหยุดงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967-2971/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานที่ผิดกฎหมายและการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การนัดหยุดงานนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ของการกระทำแล้วก็ย่อมเรียกได้ว่าลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานนั้นต่างได้ละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติให้แก่นายจ้างด้วยโจทก์นัดหยุดงานในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 34(6) และกระทำไปในระหว่างที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ข้อพิพาทแรงงานเข้าสู่การชี้ขาดและห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2519 ที่ห้ามลูกจ้างนัดหยุดงานโดยเด็ดขาด การนัดหยุดงานของโจทก์จึงเป็นความผิดอันมีโทษทางอาญาตามมาตรา 139 และ 141 ได้ และเมื่อการหยุดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัวและนัดหยุดงานกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงต้องถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรด้วย กรณีต้องด้วยมาตรา 31(4)ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อ 47(4) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967-2971/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของนายจ้างในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การนัดหยุดงานนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ของการกระทำแล้ว ก็ย่อมเรียกได้ว่าลูกจ้างแต่ละคนซึ่งร่วมในการนัดหยุดงานนั้นต่างได้ละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติให้แก่นายจ้างด้วย โจทก์นัดหยุดงานในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 34 (6) และกระทำไปในระหว่างที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ข้อพิพาทแรงงานเข้าสู่การชี้ขาดและห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2519 ที่ห้ามลูกจ้างนัดหยุดเวลาโดยเด็ดขาด การนัดหยุดงานของโจทก์จึงเป็นความผิดอันมีโทษทางอาญาตามมาตรา 139 และ 141 ได้ และเมื่อการหยุดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัวและนัดหยุดงานกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงต้องถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรด้วยกรณีต้องด้วยมาตรา 31 (4) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และข้อ 47 (4) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองงานฯ จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่จ่ายค่าชดเชย: การฝ่าฝืนระเบียบงานถือเป็นกรณีร้ายแรงได้ แม้ไม่เกิดความเสียหาย
การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดของนายจ้างจะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำนั้น ๆ มิใช่ว่าจะต้องให้ความเสียหายต่อนายจ้างปรากฏขึ้นด้วยเสมอไปจึงจะนับว่าการฝ่าฝืนนั้น ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรง
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์ก็พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า 'อาจเป็นผลให้'และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืน ข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนายจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างดำรงตำแหน่งในธุรกิจอื่น ฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้าง
การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดของนายจ้างจะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากลักษณะของการกระทำนั้นๆ มิใช่ว่าจะต้องให้ความเสียหายต่อนายจ้างปรากฏขึ้นด้วยเสมอไป จึงจะนับว่าการฝ่าฝืนนั้นๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรง
แม้ระเบียบของจำเลยจะมิได้ห้ามมิให้พนักงานดำรงตำแหน่งใดในธุรกิจอื่นโดยเด็ดขาด โดยยังมีข้อยกเว้นให้พนักงานสามารถกระทำได้ก็ตาม โจทก์พึงปฏิบัติตามข้อยกเว้นนั้น กรณีจึงจะไม่เป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเคยไม่ปลดหรือไล่พนักงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อนี้ออกจากงานนั้น หากจะเป็นจริงก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะใช้ดุลพินิจ เพราะตามระเบียบนี้ใช้คำว่า "อาจเป็นผลให้" และความร้ายแรงของการฝ่าฝืนของพนักงานอื่นอาจต่างกับกรณีของโจทก์มากก็ได้
ระเบียบทั่วไปว่าด้วยสภาพการจ้างสำหรับพนักงานของบริษัทจำเลยกล่าวไว้ว่าการฝ่าฝืนข้อ 87 อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น มีความหมายว่าในบางกรณีจำเลยอาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) แต่การฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันใดจะเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ว่ามีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ มิใช่ว่าเมื่อนางจ้างกำหนดไว้ในระเบียบว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วศาลจะต้องถือตามเสมอไป
of 59