พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์จ่ายโบนัส: สิทธิและขอบเขตตามกฎหมายและข้อบังคับ
ตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 กับข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์ แสดงว่าที่ประชุมใหญ่ของจำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์ในการ จ่ายเงินโบนัสได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น การที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติอนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยให้จ่ายโบนัสแก่พนักงานโดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องมีตัวอยู่กับจำเลยในวันที่ที่ประชุมอนุมัตินั้น จึงอยู่ในอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าล่วงเวลา: ลูกจ้างเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากนายจ้างมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(9) หากเป็นเงินจ้างที่ไม่แน่นอน
คำว่า 'หัตถกรรม' นั้น ประกอบคำว่า 'โรงงาน' เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้นไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า 'หัตถกรรม' หรือแม้กระทั่งคำว่า'โรงงานหัตถกรรม' หาได้ประกอบคำว่า 'คนงาน''ผู้ช่วยงาน' หรือ 'ลูกมือฝึกหัด' ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165(9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากันจึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165(9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากันจึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าล่วงเวลา: การตีความ 'คนงาน' ในมาตรา 165(9) และการพิจารณาจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน
คำว่า "หัตถกรรม" นั้น ประกอบคำว่า "โรงงาน" เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า "หัตถกรรม" หรือแม้กระทั่งคำว่า "โรงงานหัตถกรรม" หาได้ประกอบคำว่า "คนงาน" "ผู้ช่วยงาน" หรือ "ลูกมือฝึกหัด" ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691-2694/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันในหอพักโรงงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย: กรณีร้ายแรงและอำนาจการวินิจฉัยของหน่วยงาน
แม้ลูกจ้างจะได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานแรงงานจังหวัดต่ออธิบดีกรมแรงงาน และอธิบดีกรมแรงงานเห็นว่านายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง จึงมีหนังสือแจ้งให้นายจ้างนำเงินค่าชดเชยไปชำระให้ลูกจ้างก็ตาม การอุทธรณ์เช่นนี้มิใช่เป็นวิธีการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จำต้องปฏิบัติ การที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามความเห็นของอธิบดีกรมแรงงานจึงไม่ทำให้นายจ้างต้องรับผิดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะหนังสือของอธิบดีกรมแรงงานเป็นเพียงคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้อธิบดีกรมแรงงานจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างอิงในศาลชั้นต้นก็ยังมีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้าง การที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงาน และเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน และชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผูนั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้าง การที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงาน และเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน และชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผูนั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691-2694/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันในหอพักของโรงงานโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและอำนาจของอธิบดีกรมแรงงาน
แม้ลูกจ้างจะได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานแรงงานจังหวัดต่ออธิบดีกรมแรงงาน และอธิบดีกรมแรงงานเห็นว่านายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง จึงมีหนังสือแจ้งให้นายจ้างนำเงินค่าชดเชยไปชำระให้ลูกจ้างก็ตามการอุทธรณ์เช่นนี้มิใช่เป็นวิธีการซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จำต้องปฏิบัติ การที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามความเห็นของอธิบดีกรมแรงงานจึงไม่ทำให้นายจ้างต้องรับผิดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะหนังสือของอธิบดีกรมแรงงานเป็นเพียงคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น และปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้อธิบดีกรมแรงงานจำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างอิงในศาลชั้นต้นก็ยังมีสิทธิยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้างการที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงานและเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกันและชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
เมื่อการเล่นการพนันเป็นการต้องห้ามตามระเบียบของนายจ้างการที่ลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานในหอพักซึ่งนายจ้างจัดให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนงานภายในบริเวณโรงงานและเป็นการพนันไฮโลว์ตามบัญชี ก. ท้ายพระราชบัญญัติการพนันฯ ย่อมจะเป็นชนวนวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกันและชักนำให้ประกอบอาชญากรรมอย่างอื่นได้ มีผลกระทบกระเทือนถึงการผลิตและชื่อเสียงของโรงงานนายจ้าง จึงถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นได้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อตกลงไม่ขัดกฎหมาย แต่มีหลักเกณฑ์ต่างกัน
แม้ตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งแก้ไขโดยประกาศฯ ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2521 จะมิได้ระบุ งานจ้างบางลักษณะที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย อันเป็นข้อยกเว้น ดังที่เคยมีอยู่ก็ตาม ก็มิได้หมายความว่านายจ้างและลูกจ้างจะทำ สัญญาต่อกันเกี่ยวกับเงินค่าชดเชยไม่ได้เสียเลย ประกอบทั้งนายจ้าง ยังให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างเพราะจ่ายให้มากกว่าเงินค่าชดเชยตาม กฎหมายเสียอีก ดังนี้ ข้อตกลงและระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จ พนักงานดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: จำเป็นต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ให้ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม ก่อนออกจากงานมีสาเหตุโต้เถียงกับจำเลยและโจทก์แถลงว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีสาเหตุว่าโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลงว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุ มิใช่เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อดังจำเลยต่อสู้ การกระทำของจำเลยก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างอยู่ในตัวยังไม่ชอบที่จะงดสืบพยานต้องฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์สาเหตุเลิกจ้างที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ให้ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม ก่อนออกจากงานมีสาเหตุโต้เถียงกับจำเลยและโจทก์แถลงว่า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้รับการบอกล่วงหน้า เป็นค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีสาเหตุว่าโจทก์สมควบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลงว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุ มิใช่เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อพังจำเลยต่อสู้ การกระทำของจำเลยก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างอยู่ในตัวอย่างไม่ชอบที่จะงดสืบพยาน ต้องฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: จำเลยต้องแสดงเหตุผลการเลิกจ้าง หากไม่มีเหตุผล ย่อมถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งให้โจทก์ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม และแถลงตอบคำถามของศาลแรงงานกลางว่า โจทก์ได้รับค่าชดเชยค่าที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับการบอกกล่าวจากจำเลยครบถ้วนแล้ว ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงเรียกค่าเสียหายฐานถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยแถลงต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์สมคบกับพวกขโมยแบบแปลนการสร้างวงล้อ ดังนี้ หากฟังข้อเท็จจริงได้ดังที่โจทก์ฟ้องและแถลง ก็ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49เพราะการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุย่อมไม่เป็นธรรมอยู่ในตัว จึงยังไม่ชอบที่จะงดสืบพยาน แต่ควรฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลูกจ้างมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างโดยสมบูรณ์ในการจ้างคนงาน ไม่ว่าเป็นตัวคนที่ว่างงาน ค่าแรง ตลอดจนกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจ้างนั้น จึงเป็นกรณีที่ระบุตามข้อ 36 (1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา หาต้องพิจารณาว่าในการทำงานของลูกจ้าง ลูกจ้างจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของนายจ้างหรือผู้แทนของนายจ้างหรือไม่