พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลูกจ้างมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างโดยสมบูรณ์ในการจ้างคนงาน ไม่ว่าเป็นตัวคนที่ว่างงาน ค่าแรง ตลอดจนกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจ้างนั้น จึงเป็นกรณีที่ระบุตามข้อ 36 (1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา หาต้องพิจารณาว่าในการทำงานของลูกจ้าง ลูกจ้างจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของนายจ้างหรือผู้แทนของนายจ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานจำกัดหลังมีคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องโต้แย้งความไม่ชอบด้วยกฎหมายชัดเจน
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งวรรคท้ายของมาตรานี้ ซึ่งบัญญัติไว้ว่าจะดำเนินการในศาลแรงงานได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้แล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรก ได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลยพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐาน หรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรก ได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลยพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐาน หรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลเป็นที่สุด นายจ้างนำคดีต่อศาลแรงงานไม่ได้ หากมิได้อ้างเหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งวรรคท้ายของมาตรานี้ซึ่งบัญญัติไว้ว่าจะดำเนินการในศาลแรงงานได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้แล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรกได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐานหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรกได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐานหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติไม่ไว้วางใจชอบด้วยระเบียบ หากมีส่วนรู้เห็นการกระทำผิด
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุที่โจทก์มีส่วนร่วมรู้เห็นในการลักทรัพย์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์นั้น เป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยระเบียบของโจทก์ว่าด้วยระเบียบวินัย การลงโทษ และการให้ออกจากงานของลูกจ้าง ซึ่งระบุว่า เมื่อลูกจ้างผู้ใดมีความประพฤติไม่เป็นที่ไว้วางใจที่สมควรจะให้คงทำงานต่อไป เมื่อผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร สั่งให้ลูกจ้างผู้ใดออกจากงานก็ให้กระทำได้ จำเลยจึงมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) เป็นบทบัญญัติที่บังคับใช้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องเพราะการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้าง แต่กรณีนี้ ไม่ปรากฏว่ามีการเรียกร้องอะไรในคดีเลย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ดังกล่าวมาปรับใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิลูกจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีมาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักงาน/ไล่ออกที่ไม่เป็นธรรม และการฟ้องละเมิดนอกเหนือจากช่องทาง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์และสั่งไล่โจทก์ออกจากงานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในลักษณะละเมิด มิได้ดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และขณะที่เกิดกรณีอันเป็นมูลเหตุแห่งคดีนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ซึ่งมี มาตรา 49 ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานตามเดิมได้ โจทก์จึงสมควรได้แต่ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นรายเดือนไปจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานตามเดิมซึ่งไม่อาจบังคับได้ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: การไล่ออกที่ไม่ต้องสอบสวน และการไม่ผูกพันตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อบังคับของจำเลยข้อ 19 กำหนดว่า การลงโทษไล่ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในข้อนี้ โดยใน (4) ได้ระบุการกระทำความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไว้ด้วยข้อ 20 กำหนดว่าการลงโทษไล่ออกนั้นถ้ามิใช่เป็นกรณีความผิดปรากฏชัดแจ้งให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 3 นายเพื่อทำการสอบสวนก่อนและข้อ 21 กำหนดว่า การลงโทษปลดออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงกับจะต้องไล่ออกหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนในกรณีนี้ให้นำความในข้อ 19 และ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา อาจจะถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แล้วแต่ความร้ายแรงของการกระทำหาใช่จะต้องลงโทษไล่ออกหรือปลดออกเท่านั้นไม่หากผู้มีอำนาจสั่งลงโทษอย่างอื่นซึ่งมิใช่โทษไล่ออกหรือปลดออกแล้วก็ไม่ต้องทำการสอบสวนก่อน ฉะนั้น การที่ผู้อำนวยการของจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานแม้มิได้มีการสอบสวนก่อนก็เป็นการชอบแล้ว
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอด กรณีสินค้าสูญหาย - มาตรา 618
จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 1 มารับตู้ลำเลียงอันบรรจุสินค้าแล้ว ณ ท่าเรือสัตหีบแต่องค์การ ร.ส.พ. จำเลยที่ 2 เป็นผู้ผูกขาดการขนส่งสินค้าเข้าไปในบริเวณท่าเรือตลอดจนการให้บริการด้านการท่าเรือ จำเลยที่ 1 จึงจ้างจำเลยที่ 2 ให้จัดรถทำการลากจูงตู้ลำเลียงของจำเลยที่ 1 ไปบรรทุกสินค้าและลากจูงไปยังท่าเรือสัตหีบแต่การตกลงรับขนส่งของทั้งในช่วงทางบกและทางทะเลจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับติดต่อและตกลงกับเจ้าของสินค้าผู้ส่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากกรุงเทพมหานครผ่านท่าเรือสัตหีบไปให้แก่บริษัท ท. ที่ท่าเรือฮ่องกงดังนี้ จำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งในช่วงทางบกด้วย
การรับขนส่งสินค้าซึ่งแบ่งการขนส่งออกได้เป็นทอด ๆ การจ้างให้ผู้อื่นทำการขนส่งแทนในทอดใดทอดหนึ่งโดยให้ผู้นั้นไปรับค่าจ้างจากผู้จ้างได้โดยตรงนั้นไม่ทำให้ผู้รับขนพ้นความรับผิดสำหรับการขนส่งทอดนั้น ๆ ไปได้ตาม มาตรา 617 และ มาตรา 618
แม้จะฟังว่าสินค้าถูกคนร้ายลักไปในระหว่างที่พนักงานของจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจ้างขนส่งก็ยังต้องรับผิดในการที่สินค้าสูญหายตามมาตรา 617 และ มาตรา 618 อยู่นั่นเอง
การควบคุมดูแลรักษาสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในตู้ลำเลียงไม่จำเป็นต้องมีกุญแจหรือเครื่องมืออื่นใดในเมื่อจำเลยที่ 2 วางใจว่าการปิดประตูตู้แล้วผนึกด้วยตราของจำเลยที่ 1 และตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้นเป็นการเพียงพอจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งคนหนึ่งด้วยในการขนส่งสินค้ารายนี้
ตาม มาตรา 618 นั้น มิได้บัญญัติว่าต้องเป็นการร่วมกันทำการขนส่งดังนั้นการที่จะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงไม่เป็นปัญหา
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนสินค้ารายพิพาทจากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบแล้วขนส่งโดยทางเรือทะเลไปให้ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือฮ่องกงได้จ้างจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงซึ่งบรรจุสินค้าแล้ว จากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบ ต่อแต่นั้นจำเลยที่ 1 จึงใช้เรือเดินทะเลของตนขนส่งตู้ลำเลียงดังกล่าวไปยังท่าเรือปลายทางอีกทอดหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามความใน มาตรา 618 แล้ว
แม้ไม่ได้ความชัดว่าสินค้าหายไปในระหว่างที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 กันแน่นั้น ก็ไม่เป็นข้อขัดข้องที่จะบังคับตามมาตรา 618
ใบกำกับของและใบตราส่งนั้น ตามกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำให้แก่กัน จำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ที่จำเลยที่ 1 จ้างให้ทำการขนส่งทอดหนึ่งในการขนส่งหลายทอดอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำเอกสารดังกล่าวให้แก่กันไว้ก็ได้
การรับขนส่งสินค้าซึ่งแบ่งการขนส่งออกได้เป็นทอด ๆ การจ้างให้ผู้อื่นทำการขนส่งแทนในทอดใดทอดหนึ่งโดยให้ผู้นั้นไปรับค่าจ้างจากผู้จ้างได้โดยตรงนั้นไม่ทำให้ผู้รับขนพ้นความรับผิดสำหรับการขนส่งทอดนั้น ๆ ไปได้ตาม มาตรา 617 และ มาตรา 618
แม้จะฟังว่าสินค้าถูกคนร้ายลักไปในระหว่างที่พนักงานของจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจ้างขนส่งก็ยังต้องรับผิดในการที่สินค้าสูญหายตามมาตรา 617 และ มาตรา 618 อยู่นั่นเอง
การควบคุมดูแลรักษาสินค้าซึ่งบรรจุอยู่ในตู้ลำเลียงไม่จำเป็นต้องมีกุญแจหรือเครื่องมืออื่นใดในเมื่อจำเลยที่ 2 วางใจว่าการปิดประตูตู้แล้วผนึกด้วยตราของจำเลยที่ 1 และตราของเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้นเป็นการเพียงพอจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งคนหนึ่งด้วยในการขนส่งสินค้ารายนี้
ตาม มาตรา 618 นั้น มิได้บัญญัติว่าต้องเป็นการร่วมกันทำการขนส่งดังนั้นการที่จะถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงไม่เป็นปัญหา
จำเลยที่ 1 รับจ้างขนสินค้ารายพิพาทจากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบแล้วขนส่งโดยทางเรือทะเลไปให้ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือฮ่องกงได้จ้างจำเลยที่ 2 ลากจูงตู้ลำเลียงซึ่งบรรจุสินค้าแล้ว จากคลังสินค้าของผู้ส่งไปยังท่าเรือสัตหีบ ต่อแต่นั้นจำเลยที่ 1 จึงใช้เรือเดินทะเลของตนขนส่งตู้ลำเลียงดังกล่าวไปยังท่าเรือปลายทางอีกทอดหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามความใน มาตรา 618 แล้ว
แม้ไม่ได้ความชัดว่าสินค้าหายไปในระหว่างที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 กันแน่นั้น ก็ไม่เป็นข้อขัดข้องที่จะบังคับตามมาตรา 618
ใบกำกับของและใบตราส่งนั้น ตามกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำให้แก่กัน จำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ที่จำเลยที่ 1 จ้างให้ทำการขนส่งทอดหนึ่งในการขนส่งหลายทอดอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำเอกสารดังกล่าวให้แก่กันไว้ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การด่าว่า-ทำร้ายร่างกายจากความหึงหวงไม่ร้ายแรงพอเป็นเหตุหย่าได้
การที่สามีไปได้ภริยาน้อยจนกระทั่งมีบุตรด้วยกันภริยาหลวงย่อมจะต้องมีความหึงหวงเป็นธรรมดา ภริยาด่าสามีด้วยอารมณ์หึงหวงอันเกิดจากความรักความหวงแหนหาเป็นการร้ายแรงที่จะอ้างมาเป็นเหตุหย่าได้ไม่ และการทำร้ายร่างกายด้วยสาเหตุดังกล่าวเมื่อไม่ปรากฏว่าสามีได้รับอันตรายร้ายแรงจากบาดแผลนั้นแต่อย่างใด ก็ไม่เข้าลักษณะของการทำร้ายอันเป็นการร้ายแรงที่จะถือเป็นเหตุหย่าได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: การทะเลาะด่าว่าและทำร้ายร่างกายจากความหึงหวง ไม่ถือเป็นเหตุร้ายแรงเพียงพอต่อการหย่า
การที่สามีไปได้ภริยาน้อยจนกระทั่งมีบุตรด้วยกัน ภริยาหลวงย่อมจะต้องมีความหึงหวงเป็นธรรมดา ภริยาด่าสามีด้วยอารมณ์หึงหวงอันเกิดจากความรักความหวงแหนหาเป็นการร้ายแรงที่จะอ้างมาเป็นเหตุหย่าได้ไม่ และการทำร้ายร่างกายด้วยสาเหตุดังกล่าวเมื่อไม่ปรากฏว่าสามีได้รับอันตรายร้ายแรงจากบาดแผลนั้นแต่อย่างใด ก็ไม่เข้าลักษณะของการทำร้ายอันเป็นการร้ายแรงที่จะถือเป็นเหตุหย่าได้เช่นกัน