คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัทโดยได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้างโดยชอบตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหา ไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียดดังเช่นคำฟ้องเป็นหนังสือ เมื่อพิจารณาคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ซึ่งโจทก์ส่งศาลและศาลนำมาแนบท้ายคำฟ้องไว้ ถือว่ามีรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ครบถ้วนเป็นรายการแห่งข้อกฎหมายบัญญัติไว้แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ เต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง หากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้ว นายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ ตามมาตรา 123 (3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานเล่นการพนันในที่ทำงานและเวลาทำงาน มิพักต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เล่นการพนันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงซึ่งจำเลยมีอำนาจลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดได้การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยเลิกจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชย จึงกระทำได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการดำเนินการตามกฎหมาย โดยศาลไม่ต้องไต่สวนคำร้องเพิ่มเติมหากจงใจขาดนัด
จำเลยยังคงมีสำนักงานทำการค้าขายอยู่ที่ตึกแถวพิพาทการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องก็ส่งให้จำเลย ณ ตึกแถวพิพาททั้งก็เป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองมิได้บังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนเมื่อจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว จึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยอีก ไม่ขัดกับกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการดำเนินการตามกฎหมาย แม้ไม่ไต่สวนคำร้องก็ไม่ขัดต่อกระบวนการ
จำเลยยังคงมีสำนักงานทำการค้าขายอยู่ที่ตึกแถวพิพาท การส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องก็ส่งให้จำเลย ณ ตึกแถวพิพาททั้งก็เป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง มิได้บังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อน เมื่อจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว จึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยอีก ไม่ขัดกับกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบร่วมจากก่อสร้างก่อนขออนุญาต และความเสียหายจากแบบแปลนที่ไม่ตรงกัน
โจทก์จ้างจำเลยก่อสร้างอาคารโดยให้จำเลยลงมือก่อสร้างไปก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากเทศบาล ต่อมาแบบแปลนที่เทศบาลอนุญาตนั้น มีรายการผิดไปจากที่ได้ลงมือก่อสร้างไปแล้ว โจทก์จำเลยต้องร่วมกันเฉลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการก่อสร้างผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดซ้ำเกี่ยวกับกัญชาหลัง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ มีผลเพิ่มโทษจำเลยได้
จำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซ้ำกันถึง 2 ครั้ง ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษคดีก่อนแม้ว่าโทษครั้งก่อนจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกัญชาแต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชาทั้งฉบับแล้วนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษโดยให้ถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และผู้ที่มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดฉะนั้น การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งในคดีก่อนและคดีหลังจึงต้องถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษด้วยกันจึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย: การแจ้งเรื่องถูกจับกุม, การประพฤติไม่เหมาะสม, และค่าครองชีพ
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้แจ้งเรื่องนี้แล้ว จึงเป็น อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 54
แม้โจทก์ขาดงานเพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมาโจทก์ก็ชอบที่จะแจ้งเรื่องที่ถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบ การที่โจทก์ไม่แจ้ง ถือว่าเป็นการประพฤติไม่เหมาะสมตามระเบียบว่าด้วยการจ้างและเลิกจ้างคนงานฯ ของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาในคำฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์ไปทำงานไม่ได้เพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมา ถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ การไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือไม่ขอลางาน หาทำให้เป็นการละทิ้งหน้าที่ขึ้นไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(4) อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เกี่ยวข้องกับภาวะค่าครองชีพโดยเฉพาะอย่างไร การที่จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือนค่าครองชีพ ที่โจทก์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทน การทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างถูกจับกุมและแจ้งเหตุล่าช้า รวมถึงการคำนวณค่าจ้าง
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้แจ้งเรื่องนี้แล้ว จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54
แม้โจทก์ขาดงานเพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมา โจทก์ก็ชอบที่จะแจ้งเรื่องที่ถูกจับให้ผู้บังคับบัญชาทราบ การที่โจทก์ไม่แจ้ง ถือว่าเป็นการประพฤติไม่เหมาะสมตามระเบียบว่าด้วยการจ้างและเลิกจ้างคนงานฯ ของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาในคำฟ้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์ไปทำงานไม่ได้เพราะถูกจับและถูกควบคุมตัวตลอดมา ถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ การไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือไม่ขอลางานหาทำให้เป็นการละทิ้งหน้าที่ขึ้นไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 (4) อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เกี่ยวข้องกับภาวะค่าครองชีพโดยเฉพาะอย่างไร การที่จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมาคำนวณค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานที่อาศัยเหตุไม่มีอำนาจฟ้อง ถือเป็นการพิพากษาคดี ต้องมีองค์คณะครบถ้วน
แม้ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและเอกสารประกอบคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้อง โดยมิได้กระทำในรูปคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งนั้นอาศัยเหตุที่ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ปรากฏในคำฟ้องพอให้เห็นได้แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว และการพิพากษาคดีนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17,18 ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะกระทำไปโดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างร่วมเป็นองค์คณะด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวมีแต่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางลงลายมือชื่อ จึงไม่เป็นคำสั่งคำพิพากษาอันชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางให้ศาลนั้นพิพากษาใหม่ให้ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานที่ขัดต่อกฎหมายองค์คณะ: การพิจารณาคดีต้องมีผู้พิพากษาสมทบ
แม้ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและเอกสารประกอบคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้อง โดยมิได้กระทำในรูปคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งนั้นอาศัยเหตุที่ว่า ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ปรากฏในคำฟ้องพอให้เห็นได้แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาล เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว และการพิพากษาคดีนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17, 18 ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะกระทำไปโดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างรวมเป็นองค์คณะด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวมีแต่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางลงลายมือชื่อจึงไม่เป็นคำสั่งคำพิพากษาอันชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางให้ศาลนั้นพิพากษาใหม่ให้ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
of 59