คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800-2801/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าเสียหายระหว่างถูกเลิกจ้าง: ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายแม้สั่งให้กลับเข้าทำงาน
การที่ลูกจ้างข่มขู่นายจ้าง ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์และการขัดขวางการครอบครองชั่วคราว
ฟ้องโจทก์บรรยายข้อความพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง แม้จะไม่แสดงรูปแผนที่สังเขปของที่พิพาทแนบท้ายฟ้องไว้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยเข้าแย่งการครอบครองที่ดินตาม ส.ค.1 ของโจทก์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2519 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเดือนมีนาคม 2521 เกินกำหนดหนึ่งปี จึงเสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองแม้จะปรากฏว่าในฤดูทำนา ปี พ.ศ.2519 เกิดน้ำท่วมข้าวเสียหายจนฤดูทำนาปี พ.ศ.2520 จำเลยจึงกลับเข้าทำนาใหม่ ต้องถือว่าเป็นเหตุอันมีสภาพเป็นเหตุชั่วคราวมาขัดขวาง มิให้จำเลยยึดถือที่พิพาท การครอบครองของจำเลยไม่สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์และการขัดขวางการครอบครองชั่วคราว
ฟ้องโจทก์บรรยายข้อความพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง แม้จะไม่แสดงรูปแผนที่สังเขปของที่พิพาทแนบท้ายฟ้องไว้ตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยเข้าแย่งการครอบครองที่ดินตาม ส.ค.1 ของโจทก์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2519 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเดือนมีนาคม 2521เกินกำหนดหนึ่งปี จึงเสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองแม้จะปรากฏว่าในฤดูทำนา ปี พ.ศ.2519 เกิดน้ำท่วมข้าวเสียหาย จนฤดูทำนาปี พ.ศ.2520 จำเลยจึงกลับเข้าทำนาใหม่ ต้องถือว่าเป็นเหตุอันมีสภาพเป็นเหตุชั่วคราวมาขัดขวาง มิให้จำเลยยึดถือที่พิพาท การครอบครองของจำเลยไม่สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676-2687/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุการทำงานเพื่อคำนวณค่าชดเชย: เริ่มนับจากวันเริ่มทำงานจริง ไม่ใช่วันที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานมีผลบังคับใช้
การนับระยะเวลาการทำงานเพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างนั้น หมายถึงการนับระยะเวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงาน มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการเดินทางกลับหลังปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์เป็นพนักงานขายสินค้าและเก็บเงินประจำสาขาบริษัทไปทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าตามหน้าที่และคำสั่งของผู้จัดการสาขา การทำงานให้นายจ้างเสร็จสิ้นแล้ว ขณะเดินทางกลับบ้านถูกรถยนต์เฉี่ยวรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับมาล้มลง โจทก์ได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง สำนักงานกองทุนเงินทดแทนไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529-2530/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยองค์กรของรัฐ: สิทธิลูกจ้าง, อายุความดอกเบี้ย, ศาลรับวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ยกขึ้น
ค่าชดเชย เป็นบทบัญญัติส่วนหนึ่งของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ที่ใช้บังคับแก่องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ หาใช่มุ่งหมายจะคุ้มครองเฉพาะแต่ลูกจ้างของเอกชนเท่านั้นไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2523)
จำเลยให้การแต่เพียงว่า 'ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์' ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529-2530/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยคุ้มครองลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และประเด็นอายุความดอกเบี้ยที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ค่าชดเชย เป็นบทบัญญัติส่วนหนึ่งของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ที่ใช้บังคับแก่องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ หาใช่มุ่งหมายจะคุ้มครองเฉพาะแต่ลูกจ้างของเอกชนเท่านั้นไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2523)
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
ลูกจ้างฟ้องต่อศาลแรงงานกลางว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขอให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานกับให้ใช้ค่าเสียหาย ปรากฏว่านายจ้างถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนฟ้องแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจต่อสู้คดีใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของนายจ้างได้แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เมื่อการที่ลูกจ้างฟ้องเป็นการขอบังคับชำระหนี้เอาแก่นายจ้าง ศาลย่อมไม่รับฟ้องไว้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 893/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแรงงานหลังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยแล้ว ไม่ถือเป็นการดำเนินคดีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
โจทก์ได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้วินิจฉัยชี้ขาด และออกคำสั่งตามมาตรา 125 ประกอบด้วยมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แล้ว กฎหมายมิได้บัญญัติว่าให้คำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุดหรือให้อุทธรณ์ ต่อผู้ใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(4) แต่กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จะถือว่าโจทก์ ดำเนินคดีโดยไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ได้ เพราะแปลได้ว่าโจทก์ฟ้องตาม มาตรา 8(2) โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในวรรคท้ายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415-2420/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานช่วงและลูกจ้างมีกำหนดเวลา: จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างตามกำหนดสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามโครงการสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนโดยครั้งแรกคาดว่างานตามโครงการจะเสร็จภายใน 8 เดือน แต่เมื่องานไม่เสร็จ การจ้างโจทก์จึงกระทำเป็นช่วง ๆ ติดต่อกันมา เมื่อช่วงสุดท้ายสัญญาจ้างสิ้นสุดลง จำเลยก็เลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จึงเป็นการตกลงจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนทุกช่วง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และจำเลยเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้
of 59