พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากการทำร้ายร่างกายโดยเจตนา ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
แม้จะฟังว่า ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัท อ. สั่งให้ผู้ตายดำเนินการให้ ป. ย้ายออกไปจากห้องพักของบริษัท ซึ่ง ป. อยู่โดยไม่มีสิทธิ ผู้ตายสั่งให้คนตาม ป. ไป พบ ป.ไม่ไป ผู้ตายจึงไปพบ ป. เพื่อเจรจาเรียกห้องพักคืน แต่ในการเจรจานั้นได้ความว่า ผู้ตายได้ทำร้ายร่างกาย ป. ก่อน โดยไม่จำเป็น ดังนี้ เป็นเรื่องผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป.ไปตามเจตนาของผู้ตายเอง หาเกี่ยวเนื่องกับการเจรจาเรียกห้องพักคืนอันเป็นการทำงานให้นายจ้างไม่ เมื่อ ป. บันดาลโทสะ ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ความตายของผู้ตายจึงเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ตายทำร้ายร่างกาย ป.ก่อน ถือไม่ได้ว่าผู้ตายประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างอันจะทำให้ภริยาของผู้ตายมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอเพื่อความเป็นธรรมในคดีเลิกจ้าง
แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในกรณีเลิกจ้างโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้ามาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจที่จะพิพากษาเกินคำขอ โดยให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์คนละ15 วันในคดีดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52ในเมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอได้หากเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในคำฟ้อง
แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในกรณีเลิกจ้าง โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้ามาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจที่จะพิพากษาเกินคำขอ โดยให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์คนละ 15 วันในคดีดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ในเมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติ อายุเกิน 60 ปี และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46, (ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษ แก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุนี้ย่อมตั้งถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่า พระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มิใช่จะถือว่า มีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัว นอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า พ้นจากตำแหน่ง ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่า พระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่า การพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย มิใช่จะถือว่า มีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัว นอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า พ้นจากตำแหน่ง ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติอายุเกิน 60 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46,(ฉบับที่ 2) ข้อ 1 อันเป็นประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ออกจากงาน ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามด้วย การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุนี้ย่อมต้องถือว่าเป็นการออกเพราะการเลิกจ้างด้วย
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมาตรา 9(2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่าพระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมิใช่จะถือว่ามีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัวนอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "พ้นจากตำแหน่ง" ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง
การที่โจทก์เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมาตรา 9(2) เพราะมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์แล้วและต้องพ้นจากตำแหน่งนั้น เห็นได้ว่าพระราชบัญญัตินี้มิได้ยกเว้นว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะการเลิกจ้าง และการที่มีการกำหนดคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในรูปของพระราชบัญญัติก็เพราะรัฐต้องการให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายใช้ข้อบังคับในเรื่องนี้ให้เป็นระเบียบเดียวกัน และมุ่งหมายจะให้เป็นข้อบังคับที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมิใช่จะถือว่ามีผลยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไปในตัวนอกจากนี้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "พ้นจากตำแหน่ง" ผลก็เท่ากับให้รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างจัดการให้ลูกจ้างออกจากงานอันต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: ประเด็นสัญญาและการมีนิติสัมพันธ์ - การยกประเด็นใหม่ในฎีกา
จำเลยฎีกาว่า เอกสารกู้ยืมในช่องผู้ให้กู้มีแต่ลายมือชื่อของ บ. ไม่มีกรรมการของบริษัทโจทก์อีก 1 นายลงลายมือชื่อร่วมด้วยและมิได้ประทับตราของบริษัท บริษัทโจทก์มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยและมิได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยอันจะขอให้ศาลบังคับจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าประเด็นข้อนี้มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ตามคำให้การของจำเลยจะได้กล่าวไว้ด้วยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ก็กล่าวสืบเนื่องมาแต่เหตุซึ่งจำเลยอ้างว่าจำเลยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถือเป็นข้อพิพาทที่โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงให้คำเตือนแก่โจทก์โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 77 แห่งประกาศดังกล่าวเช่นนี้ แม้จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วก็ไม่ใช่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 คำวินิจฉัยของกรมแรงงานจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีผลบังคับเป็นพิเศษไปกว่าคำเตือนของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นกันจำเลยไม่ยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางการที่จ้าง: การใช้ยานพาหนะของนายจ้างนอกเวลาทำงานปกติ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถจักรยานยนต์ของนายจ้างไปส่งของตามที่มีผู้สั่ง และได้รับอนุญาตให้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวขับกลับบ้านด้วย วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์กลับบ้านในเวลาเลิกงานตามปกติ แต่ได้แวะไปดื่มเหล้ากับเพื่อน หลังจากดื่มเหล้าเสร็จแล้วขับรถกลับบ้านจึงเกิดเหตุ แม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ซึ่งเป็นการนอกเวลาทำงานปกติ แต่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากนายจ้างให้ขับรถจักรยานยนต์ไปเก็บที่บ้าน การที่จำเลยที่ 1 ขับรถกลับบ้านถึงเป็นไปตามคำสั่งอนุญาตของนายจ้าง ทั้งนี้เพื่อจะนำรถดังกล่าวขับกลับมาทำงานให้นายจ้างตามปกติในวันรุ่งขึ้น จึงต้องถือว่า อยู่ในกรอบแห่งทางการที่จ้างของนายจ้าง ่ความหมายของทางการที่จ้างนั้นมิได้จำกัดอยู่ในเฉพาะในเวลาทำงานของนายจ้างเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้เลยเวลาทำงานปกติ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ขับรถจักรยานยนต์ของนายจ้างไปส่งของตามที่มีผู้สั่ง และได้รับอนุญาตให้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวขับกลับบ้านด้วย วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์กลับบ้านในเวลาเลิกงานตามปกติ แต่ได้แวะไปดื่มเหล้ากับเพื่อน หลังจากดื่มเหล้าเสร็จแล้วขับรถกลับบ้านจึงเกิดเหตุ แม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลาประมาณ 20 นาฬิกาซึ่งเป็นการนอกเวลาทำงานตามปกติ แต่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากนายจ้างให้ขับรถจักรยานยนต์ไปเก็บที่บ้าน การที่จำเลยที่ 1 ขับรถกลับบ้านจึงเป็นไปตามคำสั่งอนุญาตของนายจ้าง ทั้งนี้เพื่อจะนำรถดังกล่าวขับกลับมาทำงานให้นายจ้างตามปกติในวันรุ่งขึ้น จึงต้องถือว่าอยู่ในกรอบแห่งทางการที่จ้างของนายจ้าง ความหมายของทางการที่จ้างนั้นมิได้จำกัดอยู่เฉพาะในเวลาทำงานของนายจ้างเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ "พนักงาน" ตามข้อบังคับบริษัท แม้ไม่ได้มาทำงานประจำทุกวัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทจำเลยมิได้นิยามคำว่า "พนักงาน" ไว้ จึงต้องถือว่าคำนี้มีความหมายตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปการที่โจทก์มิได้มาทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นประจำทุกวันเพราะลักษณะงานในหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริษัทจำเลยไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นหาทำให้โจทก์ไม่เป็นพนักงานไปไม่