คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุครบ 60 ปี ไม่ใช่กำหนดระยะเวลาจ้าง: รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่กฎหมายและระเบียบของรัฐวิสาหกิจกำหนดให้ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิได้กำหนดให้ผูกพันจ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติพนักงานของรัฐวิสาหกิจเป็นการทั่วไปดังนั้น เมื่อรัฐวิสาหกิจเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาคดีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
ปัญหาที่ว่าศาลแรงงานกลางจะนำบทบัญญัติมาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาใช้บังคับแก่การเลิกจ้างก่อนกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จะมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่า กันมาก็ตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และมาตรา 49 มีผลเป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่เมื่อได้ความว่าเป็นกรณีที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 ซึ่งตามมาตรา 81 (9) แพ่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่ง ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาสั่งให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานตามที่โจทก์ขอโดยอาศัยมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลยืนบังคับใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับรัฐวิสาหกิจ
โจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลแรงงานกลางศาลแรงงานกลางสอบถามตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แล้วบันทึกรายการแห่งข้อหาไว้ ตามมาตรา 35แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 โดยในตอนต้นกล่าวถึงการที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม คำขอบังคับในตอนท้ายกล่าวว่า ให้จำเลยปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยจ่ายค่าชดเชยรวม 14,400บาทนั้น ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน นั่นเอง ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
การฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจด้วย จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเมื่อโจทก์เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง และงานนั้นไม่เกี่ยวกับงานบ้านไม่ว่าจำเลยจะเรียกโจทก์ว่าพนักงานหรือเรียกว่าลูกจ้างและจำเลยจะวางข้อบังคับกำหนดระเบียบปฏิบัติงาน และระเบียบการลงโทษ การแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนชั้น เลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน ตลอดจนจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์แก่พนักงานไว้อย่างไร ก็ยังต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ตามบทนิยามของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมา ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54
อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมา ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 ที่แก้ไขแล้ว
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิใช่เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดี ความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า 3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัยเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เงินจำนวนหนึ่ง แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความ ตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายข้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 ที่แก้ไขแล้ว
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นปีงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่ เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดีความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัย เป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับเงินชดเชย แม้ไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานโดยตรง และเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ไม่ใช่เงินชดเชย
คำว่า นายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงานหมายรวมถึงบุคคลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นใน งานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมโดยได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการและข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงาน มิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507 ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วจำเลยก็ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างรัฐวิสาหกิจสิทธิรับเงินชดเชย แม้เรียกตำแหน่งอื่น และอายุความการฟ้องเรียกเงินชดเชย
คำว่านายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงาน หมายรวมถึงบุคคลบุคลลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นในงานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม โดยได้ได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงานมิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507่ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว จำเลยก็ต้องจ่าย เงินชดเชยค่าโจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นเป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทดนหรือค่าเสียหายฐานละเมิด และกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่ว ไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์ และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บางส่วนและการค้ำจุนสนับสนุนหนี้เดิม ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และความรับผิดของบิดามารดาต่อการละเมิดของบุตร
การที่ผู้รับประกันภัยของจำเลยซึ่งมีหน้าที่รับผิดต่อโจทก์โดยตรงอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 รับรองต่อโจทก์ว่าจะใช้หนี้ให้บางส่วน และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในมูลหนี้ละเมิดก็ได้ทำการชำระหนี้เพียงบางส่วนแก่โจทก์เป็นเพียงการค้ำจุนสนับสนุนหนี้ในมูลละเมิดเดิมของโจทก์เท่านั้นไม่มีผลเป็นการระงับหนี้เดิมและก่อหนี้ใหม่อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่อย่างใด
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์อายุ 15 ปี นำรถยนต์ในบ้านออกมาขับขี่ไปไหนมาไหนได้โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ให้ดีจำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์ดังกล่าวสักกี่ครั้งก็ไม่ได้สังเกตเช่นนี้ ถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถชนรถของโจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 ย่อมต้องรับผิดด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429
of 59