คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การเล่นการพนันในบริษัทเป็นเหตุร้ายแรง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้น มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 68ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จะต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและต้องมีรายการต่าง ๆ ตามที่ข้อ 68 กำหนดไว้ซึ่งข้อ 68(6) มีรายการเรื่องวินัยและโทษทางวินัยด้วยฉะนั้น นายจ้างจึงมีสิทธิที่จะออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าการเล่นการพนันในบริเวณบริษัทเป็นความผิดสถานหนักมีโทษถึงปลดออกหรือไล่ออก และไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยได้ ส่วนการจ่ายค่าชดเชย ต้องบังคับตามข้อ 47(3)ของประกาศกระทรวงมหาดไทย ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติงานหรือนอกเวลาก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมทำลายความสามัคคีในระหว่างหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาของจำเลยและการฟ้องคดี ณ ศาลที่มีเขตอำนาจ
จำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูนเป็นที่ทำงานสำคัญของจำเลย จึงถือได้ว่าที่ทำการบริษัทเป็นภูมิลำเนาของจำเลยแม้จำเลยจะมีบ้านอยู่ที่กรุงเทพมหานครเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งก็ตามการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดลำพูนและนำส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องตลอดจนหมายนัดสืบพยานให้จำเลยที่จังหวัดลำพูน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อนเร้นคนต่างด้าว: ข้อแตกต่างในรายละเอียดที่อยู่ ไม่ถือเป็นเหตุพิพากษายกฟ้อง หากข้อเท็จจริงหลักยังคงสอดคล้องกัน
ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522มาตรา 64 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันซ่อนเร้นคนต่างด้าวไว้ในบ้านของจำเลย แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า ซ่อนเร้นไว้ในบ้านพวกของจำเลยซึ่งอยู่ตำบลเดียวกับบ้านของจำเลย ดังนี้ เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดไม่เป็นเหตุที่จะพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพหลังหย่าต้องฟ้องในคดีหย่าหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้นเท่านั้น หากตกลงหย่าโดยความยินยอมและไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าเลี้ยงชีพ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องในภายหลัง
บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิมถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 3 ขณะฟ้องคดีนี้เป็นเวลาที่ใช้บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ การเรียกค่าเลี้ยงชีพต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1526 ซึ่งจะเรียกได้ก็ต่อเมื่อมีคดีหย่าและจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกมาในคดีหย่านั้นและศาลจะสั่งให้ได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่าเหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวกรณีคดีนี้โจทก์จำเลยได้ตกลงหย่ากันเองและจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยไม่มีคดีฟ้องหย่าต่อศาลจึงไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของฝ่ายใด เมื่อมิได้ตกลงกันไว้ในเรื่องค่าเลี้ยงชีพย่อมไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะมาเรียกค่าเลี้ยงชีพจากกันภายหลังหย่ากันแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า: สิทธิเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อมีคดีหย่าและเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดฝ่ายเดียว
บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 3 ขณะฟ้อง คดีนี้เป็นเวลาที่ใช้บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ การเรียกค่าเลี้ยงชีพต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1526 ซึ่งจะเรียกได้ก็ต่อเมื่อมีคดีหย่าและจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกมาในคดีหย่านั้น และศาลจะสั่งให้ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์จำเลยได้ตกลงหย่ากันเองและจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีคดีฟ้องหย่าต่อศาล จึงไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของฝ่ายใด เมื่อมิได้ตกลงกันไว้ในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ ย่อมไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะมาเรียกค่าเลี้ยงชีพจากกันภายหลังหย่ากันแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: การรับช่วงสิทธิหลังสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นผล
เมื่อรถชนกันแล้ว เจ้าของรถบรรทุกซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย แต่เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของรถบรรทุกย่อมจะยังไม่ระงับไป เมื่อโจทก์จ่ายค่าซ่อมรถไปแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยได้ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายไปจริงและไม่เกินจำนวนที่เจ้าของรถบรรทุกมีสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้: สิทธิจำนองเกิดขึ้นเมื่อจดทะเบียนเท่านั้น แม้มีการตกลงกันก่อนหน้า
โจทก์จำเลยตกลงกันจะให้มีการจำนองที่ดินตามโฉนดของโจทก์เป็นประกันหนี้ เมื่อยังไม่มีการจำนอง จำเลยก็ยังไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของโจทก์ และไม่มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดหน่วงโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้: สิทธิของจำเลยเกิดขึ้นเมื่อมีการจำนองที่จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
โจทก์จำเลยตกลงกันจะให้มีการจำนองที่ดินตามโฉนดของโจทก์เป็นประกันหนี้เมื่อยังไม่มีการจำนอง จำเลยก็ยังไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของโจทก์ และไม่มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172-1173/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจัดการโอนทรัพย์ซ้ำไม่ได้
เดิมจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยโจทก์ตกลงจะไปโอนที่ดิน 3 แปลง ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทแปลงที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการใช้หนี้ให้ภายในกำหนด 5 วัน ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์จึงถูกผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว ต่อมาโจทก์จัดการโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 5 ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 2 โอนต่อไปให้จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 จัดการโอนที่ดินพิพาทแปลงที่ 5 กลับคืนให้โจทก์อีกย่อมมีผลเท่ากับว่าโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาโดยฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา138 และมาตรา 145 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การคดีแพ่ง & บัญชีระบุพยานรวมสำนวนอาญา-แพ่ง ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดภายในเวลา (15 วัน) ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 นั้น มาตรานี้เพียงแต่ให้ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งจำหน่าย โจทก์ยื่นคำขอเรื่องขาดนัดได้
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งมาในสำนวนเดียวกันกับได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว โดยมิได้เจาะจงว่าจะให้เป็นบัญชีพยานในคดีส่วนอาญาหรือส่วนแพ่ง จึงต้องถือว่าเป็นบัญชีระบุพยานของคดีนี้ตลอดเรื่อง ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีระบุพยานส่วนอาญาฉบับหนึ่ง และส่วนแพ่งอีกฉบับหนึ่ง
of 59