คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผู้ขนส่งสินค้าต่างชาติในไทย: อำนาจฟ้อง, ส่วนได้เสีย, ข้อจำกัดความรับผิด
โจทก์ใส่ชื่อจำเลยในตอนต้นของคำฟ้องว่า'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ' ตามชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวให้ทราบชัดแล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ด.กับบริษัทอ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล อยู่ในประเทศเดนมาร์ก. และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' เป็นจำเลยดังนี้ แม้ 'สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ' จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้
บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์และได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ แม้ตามใบตราส่งจะระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับสินค้า แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าหากวินาศภัยมีขึ้นแก่สินค้าที่เอาประกันภัยนั้น บริษัท ย. จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อธนาคารประการใดเลยแล้ว ก็ต้องถือว่าบริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้
ข้อความจำกัดความรับผิดในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้จากผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความผิดและสิทธิในการรับค่าชดเชย กรณีไม่ชัดเจนว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อ
เมื่อกรณีฟังไม่ได้ชัดว่าจำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ทำผิดตาม ข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลยผู้เป็นนายจ้าง ส่วนค่าเสียหายที่ยังไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์จะต้องรับผิดทั้งหมดหรือไม่ จึงยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะนำมาหักจากค่าชดเชยได้ ในชั้นนี้จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนก่อน ส่วนหนี้ที่โจทก์ติดค้างต้องว่ากล่าวกันต่างหาก
อุทธรณ์ที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270-1271/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดสืบพยานและภาระการพิสูจน์ในคดีแรงงาน: ศาลมิพักต้องไต่สวนเหตุจำเป็นหากโจทก์ไม่มีพยานสนับสนุนข้ออ้าง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายโจทก์ขอเลื่อนอ้างว่าพยานติดธุระ และแถลงด้วยว่า หากนัดหน้าโจทก์ไม่มีพยานมาศาลอีกยอมให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลื่อนไป ครั้นถึงวันสืบพยานโจทก์ในนัดต่อมา โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยโดยถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ดังนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดซึ่งจะต้องจำหน่ายคดีตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนคำร้องที่อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ตามมาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและการสืบสิทธิในค่าชดเชยของทายาท
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานพ้นจากหน้าที่เมื่ออายุ 60 ปี แต่ก็อาจต่ออายุการทำงานให้ได้ มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง แต่เป็นเรื่องคุณสมบัติของลูกจ้าง เมื่อจำเลยให้พนักงานออกจากงานตามระเบียบนั้น จึงอยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอม สัญญาผูกพันคู่กรณี แม้จดทะเบียนภายหลังก็ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จะขอจดทะเบียนใช้อักษรจีนคำว่า "เล่างี่ชุน" เป็นเครื่องหมายการค้า กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะได้ใช้สิทธิจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสิทธิตามสัญญาอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้ง สิทธิโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จะขอจดทะเบียนใช้อักษรจีนคำว่า 'เล่างี่ชุน' เป็นเครื่องหมายการค้า กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะได้ใช้สิทธิจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสิทธิตามสัญญาอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้ง สิทธิโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119-1120/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากสัญชาติไทย ค่าชดเชย อายุความ และดอกเบี้ย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และ 47 ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่าการที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงาน เพราะเหตุม่มีสัญชาติไทยอันเป็นการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบมิใช่เป็นการเลิกจ้าง เมื่อนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างพ้นจากสภาพความเป็นลูกจ้างเพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างอันจะต้องจ่ายค่าชดเชย จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรจึงมิใช่กิจการทีได้รับยกเว้นมิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
ค่าชดเชยเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเมื่อกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ มีกำหนด 10 ปี
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายเมื่อเลิกจ้างเมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องทวงถาม และค่าชดเชยเป็นหนี้เงินเมื่อผิดนัดจึงต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยคำนวณจากค่าจ้างจริง ไม่ใช่เงินเลื่อนขั้นเกษียณ และการผิดนัดรับชำระหนี้ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ย
การที่พนักงานรถไฟได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบประจำปีอีก 1 ขั้นในปีที่เกษียณอายุโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้น โดยที่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 31 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วบัญญัติไว้ในวรรคสองว่า การเลื่อนเงินเดือนในวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับเงินเดือนที่ได้เลื่อน แต่เงินเดือนที่ได้เลื่อนให้ถือเสมือนว่าเป็นเงินเดือนเดิม อัตราเงินเดือนที่ได้เพิ่มขึ้นในวันสุดท้ายที่เกษียณอายุจึงเป็นแต่เพียงสิทธิ ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงิน ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและจะนำมาคำนวณค่าชดเชยไม่ได้เพราะคำว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย.ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วนั้นมุ่งหมายถึงค่าจ้างครั้งสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับตามความเป็นจริง
การที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับชำระโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขับรถขณะเมาสุราและการพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิด
การที่ลูกจ้างเมาสุราขับรถยนต์ของนายจ้างชนรถของผู้อื่นทำให้รถของนายจ้างเสียหายเล็กน้อยนั้น แม้นายจ้างจะมีระเบียบว่าดื่มสุราแล้วเมาอาละวาดอาจมีโทษถึงถูกไล่ออกก็ตาม แต่การเมาสุราแล้วขับรถ มิใช่เมาสุราอาละวาดการกระทำของลูกจ้างจึงเป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบที่ห้ามลูกจ้างขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้นซึ่งมิได้กำหนดไว้ว่ามีโทษสถานใดแสดงว่ามิได้ประสงค์ให้เป็นกรณีที่ร้ายแรงเสมอไป จึงต้องย่อมแล้วแต่พฤติการณ์เป็นเรื่องๆ ไป และเมื่อไม่ได้ความว่าลูกจ้างเมามากจนไม่สามารถขับรถได้ทั้งยังได้ขับอยู่ภายในบริเวณโรงงานในตอนดึก โอกาสที่จะเกิดความเสียหายมีน้อย ประกอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ไม่มากจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างในกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง สามารถส่งต่อให้ทายาทได้ตามกฎหมาย
จำเลยจ้างบิดาโจทก์เป็นลูกจ้างประจำ ต่อมาจำเลยเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุ แต่ไม่จ่ายค่าชดเชยให้ บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรม ทายาททั้งหลายย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าชดเชยซึ่งจำเลยมิได้จ่ายให้โจทก์ได้ เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามมาตรา 298 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง จึงมีอำนาจฟ้อง
of 59