คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งรายได้ตัดผม ไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างตัดผมอยู่ที่ร้านของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้ออกอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ค่าตัดผมที่โจทก์ตัดจำเลยได้ร้อยละ 40 โจทก์ได้ร้อยละ 60 ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลักษณะเห็นได้ว่าจำเลยไม่มีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ โดยเป็นทำนองจำเลยมีร้านตัดผมและอุปกรณ์แต่ไม่สามารถตัดเองได้ ก็หาประโยชน์โดยเปิดโอกาสให้ช่างตัดผมเข้ามาทำการตัดผมในร้านของจำเลยและแบ่งรายได้ที่ช่างตัดผมได้รับเป็นของจำเลยส่วนหนึ่ง การทำงานของโจทก์เป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งค่าจ้างจากลูกค้า ค่าจ้างที่โจทก์ได้รับมิใช่ค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยเพื่อรับค่าจ้าง โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลยตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317-324/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุ: การเลิกจ้างเนื่องจากกฎหมาย หรือการกำหนดคุณสมบัติ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยนายจ้าง
รัฐวิสาหกิจเลิกจ้างพนักงานซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แม้ต้องเลิกจ้างเพราะมีกฎหมายบังคับ ไม่อาจจะจ้างต่อไปถึงหากจะมีความประสงค์จะจ้างต่อ ก็ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง
การที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์ก็ดี หรือมีระเบียบข้อบังคับของนายจ้างว่าให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างออกจากงานได้ เมื่อลูกจ้างครบเกษียณอายุก็ดี ไม่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง หากแต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างไว้เป็นการทั่วไป ไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฯ ฉบับที่ 2 ข้อ 1 และประกาศฯ ฉบับที่ 6 ข้อ2
ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และระเบียบว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มีหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินสงเคราะห์และเงินบำเหน็จหรือบำนาญแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามบทนิยามของคำว่า 'ค่าชดเชย' ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องถือว่าเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ว่าจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าค่าชดเชย นายจ้างก็ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างอยู่อีก
การจ่ายค่าครองชีพให้เป็นประจำทุกเดือนโดยมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือนนั้น นับได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเจตนาลาออก: สัญญาจ้างไม่ผูกพันตามอายุสัมปทาน, เจตนาลาออกจากการถูกข่มขู่เป็นโมฆะ
แม้อายุสัมปทานที่จำเลยได้รับจากรัฐบาลจะกำหนดเวลาไว้แน่นอนแต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันจนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนไม่
การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ลงชื่อในใบลาออกเพราะถูกคำขู่ตามประกาศของจำเลย ใบลาไม่มีผลบังคับเป็นเรื่องศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การแสดงเจตนาลาออกของโจทก์เสื่อมเสียไปเพราะเป็นเจตนาที่ได้มาจากการข่มขู่มิใช่วินิจฉัยว่าไม่มีข้อความว่าลาออกทั้ง ๆ ที่เอกสารมีข้อความแจ้งชัดว่าเป็นการลาออก จึงหาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่มีระบุเหตุร้ายแรง ต้องตักเตือนก่อน
ลูกจ้างมาทำงานสายและประพฤติไม่สมควรต่อผู้บังคับบัญชาแต่ไม่มีในข้อบังคับว่าเป็นกรณีฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงที่จะให้ออกโดยไม่ต้องตักเตือนก่อน นายจ้างต้องใช้ค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดผลิตของนายจ้างต้องไม่ละเมิดสิทธิลูกจ้าง แม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ต้องเจรจาตกลงก่อน
ลูกจ้างไม่ทักท้วงการที่นายจ้างหยุดการผลิตคราวก่อน ๆไม่หมายความลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหยุดการผลิตได้ในคราวต่อไป
นายจ้างหยุดการผลิตเพราะเศรษฐกิจซบเซา ยางที่ผลิตขายไม่ออก แม้จะหยุดเป็นบางวัน ก็ทำให้ลูกจ้างขาดประโยชน์คือค่าจ้างโดยไม่มีสิทธิข้อตกลงสภาพการจ้างชอบที่จะแก้ไขเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้คำให้การชั้นสอบสวนเพื่อจับเท็จพยาน: ศาลไม่นำมาประกอบหลักฐานหากกลับเสริมความน่าเชื่อถือ
จำเลยอ้างเอกสารคำให้การพยานโจทก์ชั้นสอบสวน เพื่อจับเท็จว่าพยานโจทก์ขัดแย้งกัน แต่คำให้การนั้นกลับทำให้คำพยานโจทก์ชั้นศาลน่าฟังยิ่งขึ้น ศาลไม่พึงนำคำให้การนั้นไปประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่าพยานโจทก์ฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และอายุความฟ้องร้อง
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุคามในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้น จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจคุ้มครองลูกจ้างตามมาตรา 49 แม้มีการสอบสวนแล้ว
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุความในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้นจึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา: การพิจารณาว่าการบุกรุกและการกระทำอนาจารเป็นกรรมเดียว
จำเลยเข้าไปในเคหสถานแล้กระทำอนาจารผู้เสียหายนั้น เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยมีเจตนาเข้าไปเพื่อกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์ จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ศาลจะลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกันเป็นหลายกระทงความผิดมิได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1905/2520)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำผิดเป็นสำคัญ: การกระทำหลายบทเป็นกรรมเดียว
จำเลยเข้าไปในเคหสถานแล้วกระทำอนาจารผู้เสียหายนั้นเห็นเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยมีเจตนาเข้าไปเพื่อกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันและจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ศาลจะลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกันเป็นหลายกระทงความผิดมิได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1905/2520)
of 59