คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประทีป ชุ่มวัฒนะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ย
ค่าชดเชยต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดงานโดยไม่แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ถึงขั้นร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การหยุดงานโดยมิได้ขอลาเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมิใช่ฝ่าฝืนข้อบังคับ เป็นกรณีร้ายแรงซึ่งจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องเตือนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเนื่องจากลูกจ้างใต้บังคับบัญชาทุจริตและผลงานไม่เป็นที่พอใจ
การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมนั้น จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่ ธ. ลูกจ้างจำเลยและอยู่ใต้บังคับบัญชาโจทก์ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยไปขายสินค้า ส่งสินค้า เรียกเก็บเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ตนมีหุ้นอยู่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย โจทก์ได้รู้เห็นการกระทำของ ธ. ที่ทำให้จำเลยเสียหาย ทำให้จำเลยมีความระแวงสงสัยและไม่ไว้ใจในตัวโจทก์ กับการทำงานของโจทก์มีผลงานไม่เป็นที่พอใจจำเลย ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรมเมื่อลูกจ้างบังคับบัญชาลูกจ้างอื่นกระทำผิดเสียหายต่อบริษัท
การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมนั้น จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป การที่ ธ. ลูกจ้างจำเลยและอยู่ใต้บังคับบัญชาโจทก์ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยไปขายสินค้า ส่งสินค้า เรียกเก็บเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ตนมีหุ้นอยู่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย โจทก์ได้รู้เห็นการกระทำของ ธ. ที่ทำให้จำเลยเสียหาย ทำให้จำเลยมีความระแวงสงสัยและไม่ไว้ใจในตัวโจทก์ กับการทำงานของโจทก์มีผลงานไม่เป็นที่พอใจจำเลย ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดี จึงจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
การเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีนั้นจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ก็ต่อเมื่อความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าความเท็จตามที่จำเลยเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ทั้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่าความเท็จตามที่จำเลยเบิกความ มีความสำคัญเช่นนั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบของความผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต้องเป็นข้อสำคัญในคดี ฟ้องไม่ชัดเจน ขาดองค์ประกอบความผิด
การเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีนั้นจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ก็ต่อเมื่อความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าความเท็จตามที่จำเลยเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ทั้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านโดยตลอดแล้วก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่าความเท็จตามที่จำเลยเบิกความมีความสำคัญเช่นนั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบของความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างเหมาขนถ่ายสินค้า: ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้างและการคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ความที่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยนี้เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย เมื่อปรากฏขึ้นจากการที่คู่ความแถลงรับกันในขณะที่ศาลสอบถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยก็ตาม
จำเลยจ้างเหมาให้โจทก์ที่ 1 หาคนงานมาทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลเป็นลำ ๆ ไป โจทก์ที่ 2 ถึงที่11 เป็นคนงานของโจทก์ที่ 1 ในเดือนหนึ่ง ๆ โจทก์จะได้งานขนถ่ายสินค้า 1 ถึง 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ต้องใช้เวลาขนถ่ายอย่างมาก 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ตามน้ำหนักของสินค้า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเงินก้อนไปจ่ายให้แก่โจทก์อื่น ๆ ดังนี้จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ที่1 ในลักษณะของการจ้างทำของ
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากที่ใดว่าโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยเกินกว่า 120 วันติดต่อกัน คงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลให้จำเลยเดือนละ 1 ลำ อย่างมาก 3 ลำ ลำหนึ่ง ๆ ใช้เวลาอย่างมาก 7 วันเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 75

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะนายจ้าง-ลูกจ้างในสัญญาจ้างทำของ และสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเมื่อทำงานไม่ครบ 120 วัน
ความที่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยนี้เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย เมื่อปรากฏขึ้นจากกการที่คู่ความแถลงรับกันในขณะที่ศาลสอบถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างจำเลยก็ตาม
จำเลยจ้างเหมาให้โจทก์ที่ 1 หาคนงานมาทำการขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลเป็นลำๆ ไป โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นคนงานของโจทก์ที่ 1 ในเดือนหนึ่งๆ โจทก์จะได้งานขนถ่ายสินค้า 1 ถึง 3 ลำ ลำหนึ่งๆ ต้องใช้เวลาขนถ่ายอย่างมาก 7 วัน จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ตามน้ำหนักของสินค้า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเงินก้อนไปจ่ายให้แก่โจทก์อื่นๆ ดังนี้ จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ที่ 1 ในลักษณะของการจ้างทำของ
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากที่ใดว่าโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยเกินกว่า 120 วัน ติดต่อกัน คงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลให้จำเลยเดือนละ 1 ลำ อย่างมาก 3 ลำ ลำหนึ่งๆ ใช้เวลาอย่างมาก 7 วันเท่านั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 75

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของสหกรณ์ต่อละเมิดของบุคคลที่สามที่ดำเนินการในนามของสหกรณ์
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของตนโดยยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถแท็กซี่ออกวิ่งรับคนโดยสารในนามสหกรณ์แท็กซี่อิสระ จำกัด ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยที่ 2โดยเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 มีผลประโยชน์จากสมาชิกที่นำรถเข้าวิ่ง-ร่วม เท่ากับจำเลยที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต เสมือนว่าจำเลยที่ 1เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถไปกระทำละเมิดอันต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427,821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานยื่นรายการค่าใช้จ่ายเลือกตั้งเท็จ โจทก์ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามฟ้อง หากพิสูจน์ไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ยื่นหลักฐานก็ลงโทษไม่ได้
การกระทำซึ่งจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 87 มี 2อย่างคือ ไม่ยื่นรายการค่าใช้จ่ายภายในกำหนด และยื่นรายการค่าใช้จ่ายเท็จ คำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยยื่นรายการค่าใช้จ่ายเป็นเท็จประการเดียว เมื่อทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องแม้ตามคำแถลงรับของจำเลยนั้นแสดงว่าจำเลยมิได้ยื่นหลักฐานการจ่ายเงินก็ตามแต่ก็ต้องถือว่าเป็นข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษศาลจึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนี้ไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2522 มาตรา 5
of 59