พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกภาพในพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคสอง บัญญัติว่า หัวหน้าพรรคการเมืองต้องแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี การที่ผู้ร้องไม่มีชื่ออยู่ในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรค ก. น่าเชื่อว่าเกิดจากการที่พรรค ก. ไม่ได้แจ้งชื่อผู้ร้องไปให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบ จึงเป็นข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการเป็นสมาชิกพรรค ก. ของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกิน 90 วัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรค ก. ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ผู้คัดค้านได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. และลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. โดยพ้นจากการเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ดังนี้ ระหว่างวันที่ 4 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 2 พรรค ผู้คัดค้านเพิ่งเป็นสมาชิกพรรค ก. เพียงพรรคเดียว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 นับถึงวันที่ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือวันที่ 8 มีนาคม 2549 ยังไม่ครบ 90 วัน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรค และระยะเวลาการเป็นสมาชิก
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ดังนั้น เมื่อผู้ร้องตรวจพบว่าผู้คัดค้านขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องมีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้คัดค้านว่านอกจากผู้คัดค้านจะเป็นสมาชิกพรรค พ. แล้ว ผู้คัดค้านยังเป็นสมาชิกพรรค ช. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2547 พรรค ช. ยุบพรรครวมเข้ากับพรรค ท. ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลัก แม้ว่าผู้คัดค้านจะไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. มาก่อนก็ตาม ทำให้ผู้คัดค้านเป็นทั้งสมาชิกพรรค พ. และพรรค ท. จึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน มีผลให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
ผู้ร้องมีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้คัดค้านว่านอกจากผู้คัดค้านจะเป็นสมาชิกพรรค พ. แล้ว ผู้คัดค้านยังเป็นสมาชิกพรรค ช. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2547 พรรค ช. ยุบพรรครวมเข้ากับพรรค ท. ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลัก แม้ว่าผู้คัดค้านจะไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. มาก่อนก็ตาม ทำให้ผู้คัดค้านเป็นทั้งสมาชิกพรรค พ. และพรรค ท. จึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน มีผลให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ดินเพื่อซ่อนการให้เป็นของขวัญ หากพิสูจน์ได้ว่ามีเจตนาหลอกลวง นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะ แต่การให้ยังใช้ได้
ผ. กับจำเลยทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมที่ดินพิพาทและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมให้แก่จำเลยจำนวน 2,000 ส่วน โดยจำเลยเสียค่าตอบแทน แต่ความจริง ผ. ได้โอนกรรมสิทธิ์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยไม่มีค่าตอบแทน เพื่อลวงไม่ให้บิดาโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ผ. ทราบ ถือได้ว่า ผ. ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมซึ่งก็คือนิติกรรมซื้อขายที่ดินไว้กับจำเลยเป็นการอำพรางการยกให้นิติกรรมอันแรกคือบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาให้ที่ถูกอำพรางไว้นั้นต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 155 วรรคสอง เมื่อ ผ. มีเจตนาทำสัญญาให้ที่ดินจำเลยแล้ว การที่ ผ. จดทะเบียนบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกัน ต่างกันเพียงแต่ว่ามีค่าตอบแทนหรือไม่ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วยโดยอนุโลม นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทระหว่าง ผ. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ดินเพื่อปกปิดการยกให้เป็นโมฆะ แต่การยกให้ย่อมไม่เป็นโมฆะตามไปด้วย
ผ. กับจำเลยทำนิติกรรม ตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) มีข้อความว่าจำเลยเสียค่าตอบแทนให้ ผ. เป็นเงิน 1,600,000 บาท และ ผ. จดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมให้จำเลยจำนวน 2,000 ส่วน แต่จำเลยไม่ได้ให้ค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าวแก่ ผ. เพราะ ผ. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รวมให้แก่จำเลยโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเพื่อลวงไม่ให้บุตรซึ่งเป็นบิดาโจทก์ทราบ ถือได้ว่า ผ. ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งเป็นนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับจำเลยเพื่ออำพรางนิติกรรมยกให้
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกคือบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี นิติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมที่ถูกอำพรางคือสัญญาให้ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกอำพราง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง การที่ ผ. จดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วย นิติกรรมการยกที่ดินให้ระหว่าง ผ. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกคือบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี นิติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมที่ถูกอำพรางคือสัญญาให้ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกอำพราง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง การที่ ผ. จดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วย นิติกรรมการยกที่ดินให้ระหว่าง ผ. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และการแจ้งรายชื่อสมาชิก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4) ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคสยาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2543 ซึ่งพรรคสยามจะต้องแจ้งรายชื่อสมาชิกเพิ่มเติมต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในเดือนมกราคมของทุกปี ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาพร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ ที่อยู่ ของสมาชิกให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานที่ว่าพรรคสยามได้แจ้งรายชื่อผู้คัดค้านเป็นสมาชิกเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่ไม่มีชื่อของผู้คัดค้านในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเอกสารของทางราชการ แสดงว่าพรรคสยามไม่ได้แจ้งเรื่องการเป็นสมาชิกพรรคของผู้คัดค้านให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองติดต่อกัน 90 วัน
การที่ไม่มีชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและผู้สมัครยอมรับว่าเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่ถึง 90 วัน ผู้สมัครจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องทรัพย์มรดกที่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับพิจารณา แม้จะไม่ได้ฟ้องมาพร้อมกัน
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของ ท. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 1 และ ส. ผู้วายชนม์ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินดังกล่าวร่วมกัน ขอให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งปันที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 มิได้มีสิทธิทางแพ่งโต้แย้งกับโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งในส่วนนี้ การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเตรียมอาวุธเพื่อวิวาทและการป้องกันเกินเหตุ การใช้อาวุธปืนยิงในความขัดแย้ง
จำเลยกับ ณ. ผู้ตาย ทะเลาะชกต่อยกันก่อน จากนั้นจำเลยได้กลับไปเอาอาวุธปืนที่บ้านจำเลยแล้วขับรถจักรยานยนต์ออกตามหา ณ. ผู้ตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยตระเตรียมเพื่อจะวิวาทหรือต่อสู้กับพวกผู้ตาย จึงเป็นการสมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทและต่อสู้กับพวกผู้ตาย แม้ ณ. ผู้ตาย จะเข้ามาต่อยจำเลยและล็อคคอจำเลยไว้รวมทั้ง ว. ผู้ตายอีกคนหนึ่งเงื้ออาวุธมีดจะฟันจำเลยตามที่จำเลยนำสืบก็เป็นเหตุการณ์จากการสมัครใจทำร้ายกัน จำเลยไม่มีสิทธิใช้อาวุธปืนยิง ณ. และ ว. ผู้ตายทั้งสอง โดยอ้างว่ากระทำไปเพื่อป้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด, ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการยาเสพติด, การบรรยายฟ้องโทษหนัก, และอำนาจแก้ไขโทษของศาล
จำเลยที่ 2 รู้ว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่จำเลยที่ 2 ขับรถไถนาพาจำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งให้แก่ผู้ค้าเมทแอมเฟตามีนนั้น ย่อมเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดให้ผู้สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 เพราะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโทษสูงขึ้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและอ้างมาตรา 6 (1) ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดให้ผู้สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 เพราะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโทษสูงขึ้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและอ้างมาตรา 6 (1) ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่