คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมชัย จารุไพบูลย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกระทงความผิดฐานฉ้อโกง: พิจารณาเจตนาและลักษณะการกระทำเป็นสำคัญ
การกระทำความผิดฐานหลอกลวงหรือฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสิบและประชาชน โดยสภาพแห่งการกระทำเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนซึ่งอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้ แต่ที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมสำหรับความผิดฐานนี้ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากจำนวนของผู้เสียหายหรือประชาชนที่ถูกหลอกลวงแต่ละคนเพียงอย่างเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายทั้งสิบเป็นคนละวันเวลาและในสถานที่ต่างกัน จะถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด 10 กระทง หาได้ไม่ แต่การที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 กลุ่มหนึ่ง จากนั้นได้แบ่งแยกหน้าที่กันทำในลักษณะเดียวกันโดยจำเลยที่ 1 หลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 2 ที่ 5 และนาง ม. กลุ่มหนึ่ง และจำเลยที่ 2 หลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 3 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 นาย ล. นางสาว ช. และนาย ช. อีกกลุ่มหนึ่ง เห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการหลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนต่างกลุ่มต่างเวลาและสถานที่กันโดยเจตนาให้เกิดผลต่อผู้เสียหายและประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรม รวม 3 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงประชาชนหลายราย: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาและลักษณะการกระทำ
การกระทำความผิดฐานหลอกลวงหรือฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสิบและประชาชน โดยสภาพเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนซึ่งอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้ การกระทำที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมสำหรับความผิดฐานนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งมิได้พิจารณาจากจำนวนของผู้เสียหายหรือประชาชนที่ถูกหลอกลวงแต่ละคนเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้กระทำ เมื่อไม่ได้ความชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายคนละวัน เวลา และในสถานที่แตกต่างกันเพียงพอที่แสดงให้เห็นเจตนาที่ประสงค์จะให้เกิดผลแยกออกจากกัน การที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบคนและประชาชน จึงไม่อาจชี้ได้ว่าเป็นการกระทำความผิด 10 กระทง แต่การที่จำเลยทั้งสองได้หลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 1 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 กลุ่มหนึ่ง จากนั้นได้แบ่งแยกหน้าที่กันทำในลักษณะเดียวกัน โดยจำเลยที่ 1 หลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 2 ที่ 5 และ ม. กลุ่มหนึ่งและจำเลยที่ 2 หลอกลวงกู้ยืมเงินผู้เสียหายที่ 3 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ห. ช. และ ฟ. อีกกลุ่มหนึ่ง เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการหลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนต่างกลุ่ม ต่างเวลา และสถานที่กันโดยเจตนาให้เกิดผลต่อผู้เสียหายและประชาชนแต่ละกลุ่มแยกต่างหากจากกัน อันนับว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดรวม 3 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8117/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยและกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การปฏิบัติตามธรรมเนียมธนาคาร
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทุกวัน และกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือนของโจทก์ทุก ๆ เดือน ทั้งยังระบุให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติไปตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ทุกวันและกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันปิดบัญชีสิ้นเดือน จึงเป็นไปตามประเพณีของธนาคารตามข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา อันเป็นการกำหนดการนับระยะเวลาโดยนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/1 แม้วันสิ้นเดือนเป็นวันหยุดทำการ โจทก์ก็คิดหักทอนบัญชีเมื่อสิ้นเดือนได้โดยไม่ถือเอาวันเปิดทำการถัดไปเป็นวันปิดบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8041/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ: การบุกรุกยามวิกาลและการข่มเหงทางจิตใจ
ป. อายุ 18 ปี เป็นบุตรสาวและอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยซึ่งเป็นบิดา แม้ผู้ตายจะเป็นคนรักของ ป. แต่ก็ลักลอบคบหาไปมาหาสู่กันโดยจำเลยและ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน ขณะเกิดเหตุเป็นยามวิกาล เวลาถึง 1 นาฬิกาเศษ ผู้ตายแอบเข้ามาในบ้านทางช่องหน้าต่างห้องนอนของ ป. ชั้นบนของบ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องนอนของจำเลยและอยู่กันลำพังเพียงสองต่อสอง ย่อมเป็นการกระทำที่อุกอาจผิดแบบธรรมเนียมประเพณีขัดต่อศีลธรรมอันดี ขาดความเคารพยำเกรงกระทบกระเทือนต่อจิตใจของจำเลยผู้เป็นบิดา ป. และเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุอย่างร้ายแรง นับได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้อาวุธปืนสั้นติดตัวไปในขณะนั้นเนื่องจากได้ยินเสียงดังผิดปกติในห้องนอนของ ป. ยิงผู้ตายในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเหตุบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8011/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์เมื่อมีลายมือชื่อร่วมกันในสัญญาต่อท้าย แม้สัญญาเช่าซื้อหลักไม่มีลายมือชื่อ
สัญญาเช่าซื้อไม่ได้ทำเป็นหนังสือ เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง หมายถึงเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย สัญญาเช่าซื้อจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย สัญญาเช่าซื้อและสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นพร้อมกันและคู่สัญญาตกลงให้สัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อทั้งหมดย่อมเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อคู่สัญญาลงลายมือชื่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายในสัญญาแม้เพียงแห่งเดียวก็ย่อมมีผลเป็นสัญญาเช่าซื้อที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อได้ลงลายมือชื่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายในหนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อก็ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หาใช่ว่าจะต้องลงลายมือชื่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายที่ท้ายหนังสือสัญญาในส่วนสัญญาเช่าซื้ออีกด้วยไม่ สัญญาเช่าซื้อจึงไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้กล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ว่าอุทธรณ์ของโจทก์เคลือบคลุม จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8011/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์ แม้ลงลายมือชื่อเฉพาะสัญญาต่อท้าย
คู่สัญญาลงลายมือชื่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายในสัญญาเช่าซื้อแม้เพียงแห่งเดียวก็มีผลเป็นสัญญาเช่าซื้อที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อได้ลงลายมือชื่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายในหนังสือสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นพร้อมกับหนังสือสัญญาเช่าซื้อและคู่สัญญาตกลงให้สัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อทั้งหมด ย่อมเป็นสัญญาเช่าซื้อที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย มิใช่ว่าจะต้องลงลายมือชื่อด้วยกันทั้งสองฝ่ายในหนังสือสัญญาในส่วนของสัญญาเช่าซื้ออีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7657/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบเพราะไม่วางค่าธรรมเนียม – ผลกระทบต่อคำพิพากษาเดิม – คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งมิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยให้อุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใชแก่โจทก์มาวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกในบันทึกข้อตกลงการหย่า: สิทธิฟ้องของคู่สัญญา
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาต่างตอบแทน โดยยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากจะระบุยกทรัพย์สินบางรายการให้แก่กันและกันแล้ว ยังมีข้อตกลงเรื่องหนี้สินของ ป. มารดาโจทก์ ท. และ บ. พี่โจทก์ซึ่งจำเลยยินยอมรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่บุคคลทั้งสามด้วย เป็นผลให้มีฐานะเป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยชำระหนี้ให้แก่ ป. ท. และ บ. โจทก์ในฐานะคู่สัญญาโดยตรงกับจำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้
ป. ท. และ บ. เป็นโจทก์ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น โดยมีโจทก์คดีนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยใช้สิทธิของตนเองในฐานะคู่สัญญาเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งอีกคดีหนึ่งได้วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่ใช่หลักฐานการกู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ป. ท. และ บ. ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้โดยอ้างว่าจำเลยกู้ไปจากตนได้ การที่โจทก์นำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตัวแทนต้องชัดเจน การรับมอบรถโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของ ไม่ถือเป็นการเป็นตัวแทน
การตั้งตัวแทนจะต้องมีการแต่งตั้งจากตัวการโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้มีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 797 บัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์แต่งตั้งจำเลยร่วมเป็นตัวแทน แต่จำเลยร่วมให้การว่าเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถคันที่ให้เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอก บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมทำไว้ต่อกันก็เป็นเพียงแต่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยร่วมครอบครองรถคันที่เช่าซื้อต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยร่วมไปดำเนินการ การที่จำเลยร่วมรับมอบรถคันที่เช่าซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการรับมอบในฐานะตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถให้แก่บุคคลภายนอก มิใช่ในฐานะตัวแทนของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดส่งมอบรถคันพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: คดีค่าเสียหายจากละเมิดที่ฟ้องซ้ำและคดีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
คดีก่อน ศ. พี่สาวโจทก์ทั้งสอง ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กรณีจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองและ ศ. ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ โดยปรากฏว่า ศ. ฟ้องในฐานะเป็นบุตรผู้ตายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เช่นนี้ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาท ม. ผู้ตาย ทุกคนรวมถึงโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย และตามคำฟ้องคดีก่อนไม่ปรากฏข้อความว่า ศ. ฟ้องแทนโจทก์ทั้งสอง แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองแก่ ศ. ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อได้ความจากคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่าขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้ เรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตายขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ อันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และได้ความว่า ต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่ ศ. ตามคำฟ้องแล้ว อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เรื่องเดียวกับคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น ส่วนฟ้องโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัย รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับนั้น ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ เพียงใด ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังนี้ คดีโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
of 8